ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)


ควรมีการทดสอบความรู้พื้นฐานหรือนำเสนอเนื้อหาเดิมที่เกี่ยว ข้อง เพื่อเตรียม ความพร้อมผู้เรียนในการเข้าสู่เนื้อหาใหม่ โดยไม่ต้องคาดเดา ว่าผู้เรียนมีพื้นความรู้ เท่ากัน

การทบทวนความรู้ เดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้ เรียน มีความจำ เป็นอย่าง ยิ่งที่จะต้องหาวิธีการประเมิน ความรู้ที่จำเป็น สำหรับบท เรียนใหม่ เพื่อไม่ ให้ผู้เรียน เกิดปัญหาในการเรียนรู้ วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป สำหรับบท เรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนก็ คือ การทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) ซึ่งเป็นการประเมิน ความรู้ของผู้ เรียน เพื่อทบทวนเนื้อหาเดิมที่เคยศึกษาผ่านมาแล้ว และ เพื่อเตรียมความ พร้อม ในการ รับเนื้อหาใหม่ นอกจากจะเป็นการตรวจวัดความรู้พื้นฐาน แล้ว บท เรียนบาง เรื่อง อาจใช้ผลจากการทดสอบก่อนบทเรียนมาเป็นเกณฑ์ จัดระดับความ สามารถของผู้ เรียน เพื่อจัดบทเรียนให้ตอบสนองต่อระดับความสามารถ ของผู้เรียน เพื่อ จัดบท เรียนให้ตอบสนองต่อระดับความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน แต่ละคน แต่ อย่างไรก็ตาม ในขั้นการทบทวนความรู้เดิมนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการ ทดสอบ เสมอไป หาก เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นเป็นชุดบท เรียน ที่เรียน ต่อเนื่องกันไปตามลำดับ การทบทวนความรู้เดิม อาจอยู่ในรูปแบบ ของ การกระตุ้น ให้ผู้เรียนคิดย้อนหลังถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ก็ได้ การกระตุ้นดัง กล่าวอาจ แสดงด้วยคำพูด คำเขียน ภาพ หรือผสมผสานกัน แล้วแต่ความ เหมาะสม ปริมาณ มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหา ตัวอย่างเช่น การนำเสนอ เนื้อหาเรื่องการต่อ ตัวต้านทานแบบผสม ถ้าผู้ เรียนไม่สามารถเข้าใจวิธีการหาความต้านทาน รวม กรณี นี้ควรจะมีวิธีการวัดความรู้เดิมของผู้เรียนก่อนว่ามีความเข้าใจเพียง พอที่จะ คำนวณ หาค่าต่างๆ ในแบบผสมหรือไม่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการ ทดสอบก่อน ถ้าพบว่า ผู้ เรียน ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณ บทเรียนต้องชี้แนะให้ผู้เรียนกลับ ไปศึกษาเรื่อง การ ต่อตัว ต้านทานแบบอนุกรมและแบบขนานก่อน หรืออาจนำเสนอบท เรียนย่อย เพิ่มเติม เรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นการทบทวนก่อนก็ได้ สิ่งที่จะต้องพิจารณาในการ ทบทวนความรู้ เดิม มีดังนี้ ควรมีการทดสอบความรู้พื้นฐานหรือนำเสนอเนื้อหาเดิมที่เกี่ยว ข้อง เพื่อเตรียม ความพร้อมผู้เรียนในการเข้าสู่เนื้อหาใหม่ โดยไม่ต้องคาดเดา ว่าผู้เรียนมีพื้นความรู้ เท่ากัน แบบทดสอบต้องมีคุณภาพ สามารถแปลผล ได้ โดยวัดความรู้พื้น ฐานที่จำเป็นกับ การศึกษาเนื้อหาใหม่เท่านั้น มิใช่แบบ ทดสอบเพื่อวัดผล สัมฤทธิ์ทางการ เรียนแต่ อย่างใด การทบทวนเนื้อหาหรือการทดสอบ ควร ใช้เวลาสั้นๆ กระชับ และ ตรงตามวัตถุ ประสงค์ของบทเรียบนมากที่สุด ควรเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนออก จากเนื้อหา ใหม่หรือออกจากการทดสอบ เพื่อไป ศึกษาทบทวนได้ตลอด เวลา ถ้าบท เรียนไม่มีการทดสอบความรู้ พื้นฐานเดิม บทเรียนต้องนำเสนอวิธีการกระ ตุ้น ให้ผู้เรียนย้อนกลับไปคิดถึง สิ่งที่ศึกษา ผ่านมาแล้ว หรือสิ่งที่มี ประสบการณ์ผ่านมา แล้ว โดยอาจใช้ภาพประกอบใน การ กระตุ้นให้ผู้เรียนย้อนคิด จะทำให้ บทเรียนน่า สนใจยิ่งขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #เจษฎา
หมายเลขบันทึก: 34501เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2006 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ทำการบ้านได้รวดเร็วมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท