เผยแพร่ผลงานวิชาการ


กิจกรรมสร้างสรรค์

ชื่อเรื่อง    :  การพัฒนาความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมือและการประสานสัมพันธ์

                  ระหว่างตากับมือของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์    

ชื่อผู้วิจัย  :  นางอัมพวัน  กอกหวาน

ปีที่วิจัย    :   2552

       การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่ใช้กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มเดียว  ซึ่งมีลำดับขั้นตอนของการวิจัย และนำเสนอผลโดยสรุป ดังนี้ 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย    

  1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการพัฒนาความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมือและ        

การประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ ระหว่าง   ก่อนเรียนและหลังเรียน 

สมมติฐานในการวิจัย

     1.  การพัฒนาความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างตา  กับมือของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์  เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการพัฒนาผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

     2.  การพัฒนาความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างตา  กับมือของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์  เด็กปฐมวัยมีความสามารถหลังการพัฒนา มากกว่าก่อนการพัฒนา

ขอบเขตการวิจัย

  1. กลุ่มเป้าหมายการวิจัย

      กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1  โรงเรียนบ้านกอกหวาน  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ   ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2552   จำนวน  14  คน  ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Sampling)  

  1. พฤติกรรมการเรียนรู้

       การพัฒนาความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับ

มือของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ ได้แก่ การวาดภาพและระบายสี  การปั้น  การพับ ฉีก ตัด ปะ   การพิมพ์ภาพ และการประดิษฐ์   ตามแผนการจัดประสบการณ์ที่ครอบคลุมทั้ง  4  สาระ  คือ  เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก  เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก  เรื่องธรรมชาติรอบตัว  และเรื่องสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก โดยใช้หน่วยการเรียนรู้  10 หน่วย  ตรงตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546  และหลักสูตรสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช  2546  (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2549) โรงเรียนบ้านกอกหวาน  อำเภอปรางค์กู่   จังหวัดศรีสะเกษ 

3.  ตัวแปรในการวิจัย   

     3.1  ตัวแปรต้น  คือ  การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแผนการจัดประสบการณ์

     3.2  ตัวแปรตาม  คือ  ความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือของเด็กปฐมวัย

4.  ระยะเวลาดำเนินการ

     ในการวิจัย มีระยะเวลาดำเนินการอยู่ในภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา 2552  ตั้งแต่วันที่  1  ธันวาคม  2552  ถึงวันที่  12  กุมภาพันธ์ 2553  โดยจัดประสบการณ์ หน่วยการเรียนในกิจกรรมสร้างสรรค์ ใช้เวลารวมทั้งสิ้น  10  สัปดาห์  สัปดาห์ละ 5 คาบ  คาบละ 40 นาที 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

     1. แผนการจัดประสบการณ์

     2. แบบทดสอบก่อนและหลังการพัฒนา 

วิธีดำเนินการวิจัย

      ผู้วิจัยได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูล  ทั้งก่อนการพัฒนา  ระหว่างการพัฒนา  และหลังการพัฒนา  ตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้  ดังนี้

      1. ทดสอบก่อนการพัฒนา  ดำเนินการโดยจัดกิจกรรมนอกเวลาก่อนการดำเนินการวิจัย ด้วยแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 30 ข้อ ในเวลา 40  นาที   แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

      2. ดำเนินการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์   ใน  10  สัปดาห์  จำนวน  50  แผนครั้งละ 40 นาที  

      3. บันทึกผลหลังสอนตามแบบสังเกตพฤติกรรมและทักษะเพื่อวัดและประเมินผลตามแผนการจัดประสบการณ์

      4. ทดสอบหลังการพัฒนา  หลังจากดำเนินการสอนตามแผนจัดประสบการณ์ จำนวน  50  แผนเสร็จสิ้นลง ใช้แบบทดสอบอัตนัย จำนวน 30 ข้อ  ในเวลา  40 นาที โดยใช้แบบทดสอบชุดเดิมที่ใช้ก่อนการพัฒนา แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

การวิเคราะห์ข้อมูล

     ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมาย  ดังนี้

     1. ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ คะแนนจากการทดสอบก่อนและหลังการพัฒนาความสามารถ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรม  SPSS  เพื่อหาค่าสถิติอย่างง่าย

     2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้อมูลจากการบันทึกการสังเกต ใช้การวิเคราะห์เนื้อความ

สรุปผลการวิจัย

     ผลการวิจัย สรุปได้ ดังนี้

     1.  ผลการพัฒนาความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์  พบว่า  เด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการพัฒนาผ่านเกณฑ์ที่กำหนด   คือ ก่อนการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ย 15.14  คะแนน คิดเป็นร้อยละ 50.47  อยู่ในระดับน้อย ไม่ผ่านเกณฑ์  เมื่อได้รับการพัฒนาแล้วทดสอบหลัง  การพัฒนา ได้คะแนนเฉลี่ย  25.00 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ถือว่าอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์

     2.  ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการพัฒนาความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมือ และการประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์  พบว่าเด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมาย มีความสามารถหลังการพัฒนามากกว่าก่อนการพัฒนา  คือ ก่อนการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ย 15.14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 50.47  แต่หลังการพัฒนา ได้คะแนนเฉลี่ย  25.00 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 83.33  มีคะแนนเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ย  9.86  คิดเป็นร้อยละ 32.86

 

หมายเลขบันทึก: 344851เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2010 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท