ผลของการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม


ผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติการสูงกว่าก่อนการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม

           ในช่วงภาคเรียนที่1/2552 ดิฉันได้มีโอกาสทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเล็กๆน้อย โดยทำการทดลองในห้องและเก็บข้อมูลด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยากนัก สิ่งตอบแทนที่ได้เป็นนามธรรมค่ะ..ก็ความรู้สึกภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอนาคตของชาติด้วยสติปัญญาที่พอมีอยู่ เอาละค่ะ รายละเอียดมีดังบทคัดย่อข้างล่างนี้ค่ะ

           การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อง ผลของการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติการรายวิชาเคมีอินทรีย์ 2 ของนักศึกษาโปรแกรมวิชาเคมี ชั้นปีที่ 2  มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติการรายวิชาเคมีอินทรีย์ 2 ของนักศึกษาโปรแกรมวิชาเคมี ชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม  ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติการใช้การทดลองแบบกลุ่มเดียวกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาโปรแกรมวิชาเคมี ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 1/2552 จำนวน 15 คน  มีการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนทดลอง 1 ครั้ง และหลังการทดลอง 1 ครั้ง

            ผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติการรายวิชาเคมีอินทรีย์ 2 ของนักศึกษาโปรแกรมวิชาเคมี ชั้นปีที่ 2 หลังจาก ที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม มีค่าเท่ากับร้อยละ  77.00  สูงกว่าก่อนการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม ซึ่งมีค่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ร้อยละ 60.67 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าของผลการเรียนรู้ เป็นร้อยละ 16.33 

          ส่วนวิธีการสอนโดยเทคนิคการสอนแบบการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีมก็มีดังนี้ค่ะ

          1. ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการ  จัดทำกำหนดหัวข้อ จัดทีมรับผิดชอบแต่ละประเด็น  และกำหนดการปฏิบัติการ โดยการร่วมของนักศึกษาในทุกขั้นตอน

          2. นักศึกษาแต่ละกลุ่มร่วมกันค้นคว้าบทปฏิบัติการ ทดลองตามบทปฏิบัติการที่ค้นคว้ามา พร้อมทั้งดัดแปลง ปรับปรุง การปฏิบัติการให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ แล้วจัดทำบทปฏิบัติการใหม่

          3. นักศึกษาทุกกลุ่มปฏิบัติการตามบทปฏิบัติการของแต่ละกลุ่ม ตามกำหนดการ โดยให้ทีมนักศึกษาที่รับผิดชอบ จัดเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติการให้เพื่อนทุกกลุ่ม อธิบายสาธิต และดูแลเพื่อนกลุ่มอื่นขณะปฏิบัติการ

         4. นักศึกษาทุกกลุ่มจัดทำรายงานการทดลองทุกปฏิบัติการ พร้อมทั้งเตรียมเอกสารและ Power Point   ของปฏิบัติการที่ตนรับผิดชอบเสนอต่อชั้นเรียน อภิปราย  ซักถาม และสรุปความรู้

         จะเห็นได้ว่าในขั้นตอนที่ 2-4 นี่แหละที่เป็นการทำงานแบบมีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีมค่ะ แต่อย่างไรก็ตามครูต้องคอยเป็นที่ปรึกษาดูแล  และเสริมข้อมูลให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มด้วยนะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 344850เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2010 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 08:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ครูค่ะเทคนิคนี้ใช้กับการเรียนวิชาอื่นๆได้ไหมค่ะ..และทำอย่างไรจะให้เกิดการทำงานเป็นทีมที่ดีได้..อิอิเพราะหนูพบว่าภายในกลุ่มหนูเองก้อเกี่ยงกันในบางครั้งนะค่ะ

คุณเด็กดีค่ะ เทคนิคการทำงานเป็นทีมใช้ได้กับทุกงาน ทุกวิชาค่ะ

ก่อนอื่นดูก่อนว่าอุปสรรคการทำงานเป็นทีมมีอะไรบ้างนะค่ะ ก็ประกอบด้วย

1.ขาดการตกลงกันตั้งแต่เริ่มต้น ขาดการพูดกัน ไม่แจ้งเป้าหมายของงาน

2. มีการปกปิดข้อมูลผิดพลาดที่ผ่านมา สมาชิกหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญปัญหาและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา

3.ไม่ได้ใช้วิธีการประชุมหารือ เป็นเครื่องกระตุ้นเพื่อให้สมาชิกเกิดความรู้สึกผูกผัน

4. ขาดการวางแผนงานและเวลา

5. ไม่มีการแบ่งความรับผิดชอบ เพื่อให้สมาชิกได้รู้บทบาทที่ชัดเจน

6. ขาดการประเมินผลการทำงานของทีม ตารางตรวจติดตามประเมินผล

ทีมงานที่ดีมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ค่ะ

ขั้นที่หนึ่ง เป็นหนึ่งเดียวกัน (ONENESS)

ขั้นที่สอง ประชุมสม่ำเสมอ

ขั้นที่สาม สื่อสารทั่วถึง และหาแนวร่วม

ขั้นที่สี่ นำเสนอเป็นระยะ

ขั้นที่ห้า พบปัญหา ทบทวนใหม่ (เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหมาย)

ขั้นที่หก ประเมินตรวจสอบเป็นระยะ

ขั้นที่เจ็ด ตรวจสอบความรู้สึก ความคิดสร้างบรรยากาศร่วมกันในการทำงาน

อ้างอิง: ดร. ชูวิทย์ รัตนพลแสนย์ และ อ. สมนึก แปลกสนอง ทักษะในการทำงานเป็นทีม center.prd.go.th/plan/team/t2.ppt

วันคริสต์มาส เวียนมา ขอให้สุข

ไม่มีทุกข์ ร่ำรวย ด้วยสุขี

มีคนรัก มากมาย อีกเพื่อนดี

ขอให้มี สุขใจ ตลอดปี.........และตลอดไป

อีกทั้งนี้ ปีใหม่ ขอให้ชื่น

รักยั่งยืน ผิวสวย หน้าสดใส

แข็งแรงดี มีสุข ปลอดโรคภัย

สุขกายใจ ตลอดปี หน้านี้เทอญ..................

สวัสดีครับ

หากวิชานี้สามารถเชื่อมโยงกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือ มีการให้นักศึกษาเล่าเรื่อง ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับเคมีอินทรีย์ที่สอดคล้องกับปฏิบัติการ การให้นักศึกษาตั้งความคาดหวัง ก่อน (BAL : before action learning) และ หลังปฏิบัติการ (After action learning) ว่าตรงกับวัตถุประสงค์ของอาจรย์ ของหลักสูตร ของหัวข้อ หรือสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างไรในอนาคต น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษามีส่วนร่วมมากขึ้น

สำหรับการทำกลุ่ม การทำทีม นักศึกษาที่กลุ่มใหญ่ แต่ละคนมีความสนใจที่แตกต่างกัน หากกลุ่มที่สนใจคล้ายกัน การทำทีมจะสนุก หากกลุ่มที่สนใจบาง ไม่สนใจบาง งานกลุ่มอาจจะมีการแบ่งกัน ทำเฉพาะบางคน บางคนรอผลลัพท์อย่างเดียว คุณนะทำ (ไม่ใช่คุณธรรม) ดังที่นักศึกษากล่าวมาก่อนหน้านี้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบต้องกระตุ้น ดูแลมากขึ้น และเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการเรียนการสอน ครับ

ขอบพระคุณ รศ. เพชรากร หาญพานิชย์

ที่กรุณาเสนอแนะเพิ่มเติมค่ะ..จะนำไปปรับการสอนเคมีของตนเองค่ะ

ดอกกุหลาบ มัดกำ นำมาให้

ด้วยดวงใจ เต็มเปี่ยม ให้สุขสันต์

มอบความรัก ให้กัน ทุกคืนวัน

ขอเธอนั้น มีรัก ตลอดกาล............สุขสันต์วันแห่งความรักนะจ๊ะ....

อาจารย์ค่ะ ข้อมูลนี้ดีมากๆ เลย

อ่านแล้วน่าสนในแล้วก็จะลอกไปปรับใช้

กับกิจกรรมกลุ่มของนักเรียนที่กำลังเป็นปัญหา

ขอบคุณมากค่ะ......

ขอบคุณครูทับทิมมากค่ะ

และจะดีใจเป็นที่สุดหากข้อมูลนี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท