โครงการพัฒนาศักยภาพ : สุนทรียปรัศนี เพื่อการเสริมสร้างพลังชุมชน ตอนที่ 5


วันที่ 11  มีนาคม  (วันที่สามของการอบรม)

          เริ่มต้นช่วงเช้าด้วยแผนการสอนที่ 4 ก่อนอื่นก็ทำพิธีแห่ต้นผ้าป่าแห่งปัญญา  โดยให้ผู้เรียนเข้าแถวตอนเรียงหนึ่ง ทุกคนปิดตา ยกเว้นผู้นำที่อยู่ห้องแถว  ซึ่งจะเป็นผู้บอกทิศทาง 4D ต่อด้วยกิจกรรมเทพ 4 ทิศ เพื่อฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ฝึกการทำงานที่ร้อยรัดกัน  โดยยึดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนผู้นำก็ตาม ต่อด้วยการทบทวน 4D  และบรรยายการมีส่วนร่วมของชุมชนและการสร้างสิ่งดี ๆ ให้ชุมชน ตบท้ายด้วยกิจกรรมออกแบบงานอย่างมีส่วนร่วม  โดยนำข้อความจากผ้าป่ามาจัดเรียงเป็นรูปต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการ และสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน

 

          แผนการสอนที่ 5   แผนการสอนนี้  ผู้เขียนทำร่วมกับพี่วรรณ  (เกวลิน) จากศูนย์อนามัยที่ 3 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พูดถึงเทคโนโลยีของการมีส่วนร่วม Technology  of  Participation  (TOP)  2 วิธี  คือ การสนทนาแบบมีส่วนร่วมและการประชุมเชิงปฏิบัติการ หลัง  Breale  ผู้เขียนพยายามจะสร้างบรรยากาศเป็นการรอและกระตุ้นผู้เรียนที่ออกไป Break ข้างนอกเข้ามาพร้อมกันบ้างไหน  โดยการนำบริหารอวัยวะภายใน เริ่มจากท่าบริหารสำไส้ใหญ่  ลำไส้เล็ก  เยื่อหุ้มหัวใจ  กล้ามเนื้อหัวใจ และไต  (สนใจดูรายละเอียดได้ที่  www.ayuyuen/treerunchakorn_action.html )สร้างความสนใจกับผู้เรียนเกินคาด โดยเฉพาะกำลังใจจากทีมงานและทีม Fa  ทุกคน  แล้วต่อด้วยกิจกรรม หกห้องใจ  โดยพี่วรรณเป็นผู้นำกิจกรรม ตบท้ายด้วยการสรุปบทเรียนโดยผู้เขียนเอง  เห็นได้ชัดเลยว่า การเก็บเด็กของอาจารย์ปิง  โดยทำกลุ่มเป็นวงกลม  ยอดเยี่ยมจริงๆ สามารถดึงความสนใจมุ่งมาที่ตัวผู้พูดได้ดีมาก  หลังจากนั้นก็ต่อด้วยกิจกรรมการสนทนาแบบมีส่วนร่วม  โดยให้กลุ่มเลือกผู้ที่จะทำหน้าที่  Facilitator  1 คน  Note  Taber  1 คน  Observer  1  คน  ให้กลุ่มช่วยบอกบทบาทของทั้ง Facilitator  Note  Taker  และ Observer   และเริ่มกิจกรรมการสนทนาแบบมีส่วนร่วม  โดยให้กลุ่มเลือกประเด็นที่ต้องการพัฒนาชุมชนมาเป็นหัวข้อการสนทนาครั้งนี้   ให้เวลาประมาณ  10  นาที  สอบตามบรรยากาศจาก Observer ของแต่ละกลุ่ม

 

             แล้วต่อด้วยกิจกรรม  แท็ป  โดยพี่น้อย อาสาเข้ามาช่วย สร้างความสนุกสนานให้กับผู้เรียนก่อนเข้ากิจกรรมสุดท้าย คือการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop)  โดยใช้กระบวนการพาทำ ของอาจารย์อุทัยวรรณ  ซึ่งอธิบายเป็นขั้นตอนและให้ผู้เรียนทำเป็นขั้น ๆ

          ขั้นที่  1  บริบท  เขียนชื่อโครงการ และกำหนดวัตถุประสงค์

          ขั้นที่  2  ระดมสมอง โดยให้ผู้เรียนคิดกิจกรรมของโครงการ 

                       เขียนลงรับบัตรคำ

          ขั้นที่  3  จัดหมวดหมู่  ของคำที่เกิดจากขั้นที่ 2

          ขั้นที่  4  ตั้งชื่อหมวดหมู่

          ขั้นที่  5  เรียงลำดับกิจกรรมก่อน – หลัง

 

 

จบด้วยการทิ้งท้าย คำถามชวนสนทนา

-          ท่านมีความเห็นอย่างไร  เกี่ยวกับแนวทาง / วิธีการที่ร่วมกันสร้างขึ้น

-          ท่านรู้สึกอย่างไร เกี่ยวกับกิจกรรมที่ต้องทำเหล่านี้

-          หากท่านต้องกลับไปทำงานในพื้นที่ขั้นตอนต่อไปของท่านดีอย่างไร

-          ท่านจะดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านั้นได้อย่างไร

 

 

 

จบซะทีกับการสอน AI  ครั้งแรกในชีวิต  ภูมิใจสุด ๆ  กับบัตรเหลืองของอาจารย์ปิง 

 

 

และขอบคุณกำลังใจที่ดีจากพี่ๆ ทีม Fa  พี่น้องหนู  น้องๆ พี่ๆ ทีมงาน  น้องหญิง  ผู้เรียนทุกท่านที่ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี  สร้างความมั่นใจให้กับผู้เขียนได้มากจริงๆ ขอบคุณ ขอบคุณมาก ๆ มุ่งมั่นว่าจะทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปนะคะ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 344766เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2010 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท