การสร้างองค์กรให้ยิ่งใหญ่


องค์กรที่ยิ่งใหญ่ คือ องค์กรที่มีการสร้างผลงานที่โดนใจ โดดเด่น หรือมีผลประกอบการที่สุดยอดอย่างยาวนานมาโดยตลอด

การสร้างองค์กรให้ยิ่งใหญ่ 

Good to Great Organization

            องค์กรที่ยิ่งใหญ่ คือ องค์กรที่มีการสร้างผลงานที่โดนใจ โดดเด่น หรือมีผลประกอบการที่สุดยอดอย่างยาวนานมาโดยตลอด หากเป็นภาคเอกชน ก็จะวัดที่ผลประกอบการด้านการเงินเป็นหลัก โดยเฉพาะผลตอบจากการลงทุน ตรงข้ามกับองค์กรด้านสังคม จะวัดกันที่ผลการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับพันธะกิจหลักขององค์กรเป็นอันดับแรก ไม่ใช่จากผลลัพธ์ทางการเงิน PAG

            การเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่นั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นหน่วยงานใหญ่เสมอไป การโดดเด่นของผลงานอาจมาจากหน่วยงานท้องถิ่นหรือชุมชนเล็กๆแต่ผลดำเนินงานสุดยอดมาโดยตลอดโดยที่ตัวเองไม่ได้ใหญ่โตเลย ท่านอาจจะเลือกที่จะสร้างองค์กรให้ใหญ่ได้เพื่อมีอำนาจหรือดูโดดเด่น แต่ที่สำคัญที่ต้องจำไว้คือ ความใหญ่โตไม่ได้เท่ากับ ความยิ่งใหญ่ และความยิ่งใหญ่ก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องใหญ่โตด้วยเสมอไป

            หลักในการสร้างองค์กรให้ยิ่งใหญ่นั้น ได้มาจากงานวิจัยเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างบริษัทในสหรัฐอเมริกาสองกลุ่ม ในเวลาเดียวกันจากอดีตจนปัจจุบัน ที่กลุ่มหนึ่งสามารถผลักดันให้องค์กรของตนมีผลงานโดดเด่นโดยตลอด ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งไม่สามารถทำได้   

             การเปรียบเทียบองค์กรที่ดี แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง บางองค์กรไม่สามารถที่จะผลักดันตัวเองสู่ความเป็นเลิศหรือความยิ่งใหญ่ได้ หลักการอะไรที่จะสามารถอธิบายความแตกต่างนี้

           หัวใจสำคัญที่ต้องระลึกไว้เลยก็คือ ศัตรูตัวร้ายของความยิ่งใหญ่ หรือความเป็นเลิศนั้น คือ “ดี” นั่นเอง (Good is an enemy of Great) หากองค์กรใด คิดอยู่เสมอว่า ตัวเองดีแล้ว องค์กรนั้นจะไม่มีวันยิ่งใหญ่ได้เลย และความเป็นเลิศหรือความยิ่งใหญ่ ก็ไม่ได้มาด้วยการว่าตามคำจำกัดความของความยิ่งใหญ่ แต่เป็นผลงานที่ค่อยๆสะสมเป็นลำดับในหลักการของการนำองค์กรสู่ความสำเร็จ ซึ่งมีตัวแปรสำคัญอยู่ที่ตัวนำเข้า (input) ไม่ใช่จากตัวผลผลิต (output)

 ข้อสรุปแนวคิดหรือหลักการสู่ความเป็นเลิศ 

           จากการวิจัยของ Jim Collins และคณะ พบความแตกต่างระหว่างหลักการดำเนินการของทั้งสองฝ่าย (ฝ่ายที่นำองค์กรสู่ความเป็นเลิศสำเร็จ และฝ่ายที่ล้มเหลว) พอสรุปได้เป็นขั้นตอน ของการนำองค์กรสู่ความสำเร็จ มีดังนี้

            จากผลวิจัยขององค์กรที่สำเร็จในการสร้างองค์กรสู่ความเป็นเลิศ มีขบวนการเป็นขั้นตอนหลักอยู่ 4 ขั้นตอน ในแต่ละขั้นตอนจะมีอยู่สองหลักการพื้นฐาน ดังนี้

 1) ขั้นตอนที่หนึ่ง: บุคลากรต้องมีวินัย (DISCIPLINED PEOPLE)

          1.1      มีผู้นำระดับ 5

          สิ่งแรกและสำคัญที่สุดของผู้นำระดับ 5 คือเป็นผู้นำที่มีความทะเยอทะยาน มุ่งมั่นเพื่อองค์กร เพื่องาน และการเผชิญปัญหา แต่ไม่ใช่ทำเพื่อตนเอง คนเหล่านี้มีความตั้งใจอย่างมั่นคงที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีออกมาในความทะเยอทะยานนั้นๆ และจะมีลักษณะที่คล้ายกันมากคือ ต่างก็มีอุปนิสัยที่ผสมผสานของความแตกต่างระหว่าง อุปนิสัยส่วนตัวที่เป็นคนถ่อมตน แต่มีความตั้งใจสูงในด้านวิชาชีพ 

          1.2 First Who--- Then What (เอาใครก่อน---- แล้วค่อยเอาไง)

          ผู้ที่สร้างองค์กรให้ยิ่งใหญ่มักจะต้องมั่นใจว่าได้เลือกคนถูกต้อง(ใช่เลย) ขึ้นรถโดยสารด้วยกัน และให้นั่งในที่ถูกต้องด้วย ทิ้งคนไม่เหมาะสมลงไป (เลือกถูกคน นั่งถูกที่) ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะมุ่งไปทางไหนให้สู่เป้า หรือองค์กรนั้นมักคิดว่า “เอาใครก่อน---แล้วค่อยเอาไง”

 

ความตั้งใจในวิชาชีพ (Professional will)

 

ความถ่อมตน (Personal Humility) 

1 สร้างผลงานเป็นเลิศ และเป็นตัวผลักดันสู่ความยิ่งใหญ่ขององค์กร

1 เป็นคนสงบเสงี่ยม ถ่อมตน จริงใจ หลบหลีกการประจบประแจงของสังคม ไมเคยโอ้อวด

2 แสดงออกอย่างชัดเจนที่จะมุ่งกระทำทุกอย่างให้ผลลัพธ์ระยะยาวออกมาได้ดีที่สุด แม้ว่ามันจะยากเย็นเพียงใด

2 เป็นคนเงียบ สุขุม เยือกเย็น ไตร่ตรอง ยึดถือการเหนี่ยวนำหรือสร้างแรงดลใจผู้อื่นจากหลักมาตรฐาน มากกว่าจากลักษณะพิเศษของตน

3 ไม่มีอะไรที่มากไปกว่า การวางมาตรฐานในการสร้างองค์กรสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน

 

3 ปรับเปลี่ยนความทะเยอทะยานของบุคลากรเพื่อบริษัท ไม่ใช่เพื่อตนเอง สร้างผู้นำรุ่นใหม่เพื่อนำองค์กรสู่ความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ

4 เมื่อเกิดผลเสีย จะมองเป็นกระจกส่องตนเอง ไม่ใช่มองหน้าต่าง เพื่อปันความรับผิดชอบร่วมด้วย ไม่โทษแต่ผู้อื่น ปัจจัยภายนอก หรือโชคไม่ดี

4 เมื่อประสบความสำเร็จของบริษัท จะมองเป็นหน้าต่างทะลุออกไป ไม่ใช่กระจกสะท้อนตนเอง แบ่งปันผลสำเร็จให้แก่ผู้อื่น ปัจจัยภายนอก และความมีโชค

        อุปนิสัยสองด้านของผู้นำระดับห้า

 

2) ขั้นตอนที่สอง: มีวินัยทางความคิด (DISCIPLINED THOUGHT)

          2.1 กล้าเผชิญความจริงอันโหดร้าย (Confront the Brutal Facts)

          มีความมั่นใจอย่างไม่สั่นไหวหรือมีศรัทธาแรงกล้าว่า เราจะต้องชนะในที่สุด ไม่ว่าจะมีอุปสรรคปานใด และในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีวินัยที่จะเผชิญความจริงที่แสนโหดร้ายในสถานะอันเป็นจริงในปัจจุบันขององค์กรของท่านได้ ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องอะไร

           2.2 The Hedgehog Concept

          ความยิ่งใหญ่เกิดจากการพอกพูนความสำเร็จที่มาจากการตัดสินใจที่ดีเป็นลำดับ โดยมีพื้นฐานจากแนวคิดที่เรียบง่ายและเกี่ยวเนื่องกัน หรือเรียกว่า “Hedgehog Concept” ซึ่งเป็นรูปแบบของการดำเนินงานที่สะท้อนถึงความเข้าใจในรูปของวงกลมซ้อนสามวง ได้แก่ อะไรที่ท่านคิดว่าทำได้ดีที่สุดในโลก อะไรที่ท่านอยากทำมากหรือลุ่มหลงมากที่สุด และอะไรที่ดีที่สุดในการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรขององค์กร

 

 3) ขั้นตอนที่สาม : มีวินัยทางปฏิบัติ (DISCIPLINED ACTION)

            3.1 วัฒนธรรมองค์กรที่มีวินัย (Culture of Discipline)

เสาหลักของวัฒนธรรมองค์กรที่สามารถผลักดันสู่ความเป็นเลิศได้คือ ความมีวินัยของบุคลากรในองค์กร มีวินัยทั้งตัวบุคคล ความคิด และการปฏิบัติ (คือการดำเนินการอย่างอิสระภายในกรอบของความรับผิดชอบ)ในวัฒนธรรมของความมีวินัย ทุกคนจะไม่มี “งาน” มีแต่ “ความรับผิดชอบ”

            3.2 ลูกล้อบิน (The Flywheel)

          การสร้างความขิ่งใหญ่ ไม่ใช่เกิดขึ้นข้ามวัน หรือจากการกระทำเพียงครั้งเดียว หรือโครงการใหญ่ๆอันเดียว หรือนวัตกรรมเพียงชิ้นเดียว หรือโชคชิ้นโตชิ้นเดียว แต่เกิดจากการผลักดันร่วมกัน ค่อยๆหมุนลูกล้อที่หนักหน่วงไปในทิศทางเดียวกัน รอบแล้วรอบเล่า จนเกิดแรงเฉื่อย และในที่สุดก็จะหมุนไปได้เอง และเบามือ 

4. ขั้นตอนที่ 4 : สร้างความยิ่งใหญ่ให้ได้ตลอดไป (BUILDING GREATNESS TO LAST)

          จงสร้างนาฬิกา ไม่ใช่เครื่องบอกเวลา (Clock Building, Not Time Telling)

          ความหมายของการสร้างนาฬิกาคือการให้ความรู้พื้นฐานที่สามารถนำไปประยุกต์เองได้ในทุกสถานะและเวลา ดีกว่าป้อนหรือชี้นำให้โดยตลอดอย่างตัวเลขบอกเวลา เมื่อถึงคราวจำเป็นก็อาจพึ่งตนเองไม่ได้

          สร้างองค์กรที่สามารถปรับตัวได้ตามผู้นำที่สืบทอดกันมาโดยตลอด ตรงข้ามกับองค์กรที่จัดตั้งโดยผู้นำคนเดียว โดยความคิดที่โดด หรือจากโครงการพิเศษเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น สร้างกลไกช่วยเร่งให้เกิดการกระตุ้นความก้าวหน้า ไม่ใช่สร้างความก้าวหน้าจากบุคลิกที่โดดเด่นของผู้นำเพียงคนเดียว (การสร้างภาพ อยู่ไม่ได้นาน)

          จงรักษาแกนของพันธะกิจหลัก และกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าหรือการเปลี่ยนแปลง (Preserve the Core and Stimulate Progress)

           บุคลากรในองค์กรยึดติดกับคุณค่าของแกนหลักของพันธะกิจ มีความประสงค์ที่จะท้าทายและเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ยกเว้นแกนหลัก มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่แยกได้ว่า “ที่เราทำทุกวันนี้ เพื่ออะไร” (“what we stand for”) (ซึ่งเราจะไม่เปลี่ยนแปลง) และ”ที่เราทำทุกวันนี้ เราทำอย่างไร” (“how we do things”) (ซึ่งเราจะไม่หยุดเปลี่ยนแปลง)

            องค์กรที่เป็นเลิศมีจุดมุ่งหมาย (เหตุผลของการดำรงอยู่) ทีเกินเลยกว่าแค่การหาเงินให้ได้มากที่สุด คือไม่ใช่แค่จะหาเงินอย่างเดียว แต่จะทำเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่มวลมนุษยชาติ และจุดมุ่งหมายนี้ได้เผยแพร่และนำไปปฏิบัติเพื่อกระตุ้นสู่ความก้าวหน้าขององค์กรทั้งหมดอย่างเป็นรูปธรรม

หมายเลขบันทึก: 344759เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2010 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท