อัจฉริยะสร้างได้จริงถ้าเราแสวงหามันอย่างจริงจัง ไม่ใช่นั่งรอพรสวรรค์บันดาล


อัจฉริยะสร้างได้จริงถ้าเราแสวงหามันอย่างจริงจัง ไม่ใช่นั่งรอพรสวรรค์บันดาล

พหุปัญญา:อัจฉริยะภาพที่สร้างได้            

            โฮเวิร์ด  การ์ดเนอร์ นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน แห่งมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด                         ได้ทำการทดสอง และวิจัยด้านอัจฉริยะภาพของมนุษย์ และค้นพบทฤษฎี  พหุปัญญาจากการศึกษาผู้ใหญ่และเด็กจำนวนมากและได้เขียนหนังสือ  Frames  of  mind  ในปี 1983   ปัญญา นั้นการ์ดเนอร์อธิบายว่า คือความสามารถของมนุษย์ในการแก้ปัญหาหรือการทำอะไรสักอย่างที่มีคุณค่าในสังคมเดียวหรือหลายสังคม การออกแบบผลผลิต ที่ทันสมัยในสถานการณ์ธรรมชาติ โดยความสามารถนั้นมีสมองเป็นฐานรองรับ    รูปโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์                       ทฤษฎีพหุปัญญา กล่าวว่า คนเรามีอัจฉริยะภาพหรือปัญญาอย่างน้อย  8 ด้าน และในคนหนึ่งก็มีครบทั้ง 8 ด้าน เพียงแต่ว่าจะมีบางด้านที่เด่นกว่าด้านอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชีววิทยาของบุคคล สภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ครอบครัว  และการฝึกฝนแต่วัยเยาว์ ปัญญา 8 ด้านมีดังต่อไปนี้(สรุปจาก วนิษา เรซ:2550 , อารี สัณหฉวี :2543 และสุรศักดิ์  หลาบมาลา :2541)              1.ปัญญาด้านภาษาและการสื่อสาร คือมีความสามารถสูงในการใช้ภาษาอย่างที่ใจต้องการ เช่นการพูด การเขียน การใช้คำ การใช้ภาษที่ซับซ้อน รวมถึงความสามารถในการจัดทำเกี่ยวกับโครงสร้างของภาษา เสียง ความหมาย และเรื่องเกี่ยวกับภาษา เช่นสามารถใช้ภาษาในการหว่านล้อม อธิบายและอื่นๆ มีทักษะในการรับข้อมูลผ่านทางภาษาได้ดี                      กิจกรรมเสริมทักษะ ฝึกเขียน อ่าน บทกวี  คำประพันธ์ จดบันทึก ฝึกผสมคำให้เกิดคำใหม่ๆ ฝึกออกเสียงให้ชัดเจนภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ฝึกบรรยาย อภิปรายกลุ่ม เล่นเกมภาษา โต้วาที เล่านิทาน เล่าเรื่องขำขัน ทำหนังสือ  เป็นต้น                       อาชีพ ได้แก่ บรรณารักษ์ นักเขียน นักโฆษณาประชาสัมพันธ์ วิทยุ โทรทัศน์ นักหนังสือพิมพ์นักเขียน นักกฎหมาย นักพูด  เลขานุการ ครูภาษา                     2.ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ หมายถึงความสามารถเข้าใจของเหตุและผล หรือความสามารถในการใช้ตัวเลข ความไวในการเห็นความสัมพันธ์แบบแผนตรรกวิทยา การคิดเชิงนามธรรม ออกแบบและทำการทดลอง การคิดเชิงเหตุผล การคาดการณ์ รู้จักจัดหมวดหมู่ จัดประเภท สันนิฐาน สรุป คิด คำนวณ ตั้งสมมุตติฐาน       กิจกรรมเสริมทักษะ ฝึกคิดเลขในใจ ฝึกการคิดแบบต่างๆ ทำโครงงาน เล่นเกมคณิตศาสตร์อ่านหนังสือข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สิ่งประดิษฐ์  จัดหมวดหมู่สิ่งของ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์       อาชีพ ได้แก่ นักบัญชี นักวิทยาศาสตร์  นักคณิตศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ นักสถิติ นักเศรษฐศาสตร์  ครูวิทยาศาสตร์ ครูคณิตศาสตร์ วิศวกร        3. ปัญญาด้านมิติและการจินตภาพ หมายถึงความสามารถในการสร้างภาพ 3 มิติ ของโลกภายนอกขึ้นในจิตใจของตนเอง มีความสามารถในการมองพื้นที่  มองอะไรก็เห็นภาพในจินตนาการของเขามีความคิดสร้างสรรค์     กิจกรรมเสริมทักษะ วาดรูป สเก็ตรูป  พ่นสี ฝึกจัดดอกไม้ ใช้กราฟ แผนภูมิ แผนผัง จัดโต๊ะ จัดบ้าน ให้เป็นระเบียบ ค้นหารูปภาพจากอินเตอร์เนต  การแสดงภาพถ่าย ภาพเขียน      อาชีพ นักดาราศาสตร์ นักสร้างภาพยนตร์ ศิลปิน นักประดิษฐ์ ผู้นำทาง สถาปนิก จิตรกรมัณฑนากร ช่างพ่นสี ช่างถ่ายภาพ นักจัดสวน นักบิน    4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว มีความสามารถสูงในการใช้ร่างกายของตนแสดงความคิด ความรู้สึก ความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ และใช้ทักษะทางกาย ตลอดจนการจัดทัศนศึกษา                         กิจกรรมเสริมทักษะ ออกกำลังการ ฝึกกายบริหาร ฝึกซ้อมการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง  ฝึกเต้นรำ  หัดใช้ร่างกายสลับซีก เลือกกินอาหารสุขภาพ หายใจให้ถูกต้อง ซ่อมแซมข้าวของเครื่องใช้                         อาชีพ นักกายภาพบำบัด ช่างไม้ ช่างฝีมือ ครูพลศึกษา ช่างอัญมณี นักกีฬา นักแสดง นักมายากล นักเต้นรำ นักยิมนาสติก ศัลยแพทย์  ประติมากร                       5.ปัญญาด้านดนตรี มีความสามารถคิดเป็นดนตรี สามารถฟังรูปแบบ จำได้ รู้ได้ ปฏิบัติได้ รวมถึงความไวในเรื่องจังหวะ ทำนองเสียง  ความสามารถในการเข้าใจ วิเคราะห์ดนตรีได้   กิจกรรมเสริมทักษะ เล่นดนตรี ร้องเพลงหมู่ประสานเสียง ร้องเพลงคาราโอเกะ ร้องเพลงในห้องน้ำ  ฝึกฟังเพลงที่แตกต่างกัน เคาะจังหวะเพลง ฝึกออกเสียง เปลี่ยนเนื้อเพลงเล่นสนุกๆ ฟังเสียงในสวน    อาชีพ ดีเจ นักจัดรายการวิทยุ นักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง ครูดนตรี หัวหน้าวงดนตรี ผู้นำวงดนตรี นักร้องประสานเสียง นักวิจารณ์ดนตรี          6.ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์และการเข้าใจผู้อื่น มีความสามรถสูงในการเข้าใจอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก เจตนาของผู้อื่น มีความไวในการสังเกต ภาษาท่าทาง มีความสามารถสูงในการรู้ถึงลักษณะต่างๆของสัมพันธภาพของมนุษย์และสามารถตอบสนองได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ       กิจกรรมเสริมทักษะ ยิ้ม  อ่านความหมายจากใบหน้า  ฝึกการฟังอย่างตั้งใจ รวมกลุ่มในโอกาสต่างๆ จัดกิจกรรมบริการชุมชน เพื่อนสอนเพื่อน พี่สอนน้อง ฝึกงานตามสถานประกอบการ ชมรมวิชาการ จัดงานปาร์ตี้       อาชีพ นักบริหาร ผู้จัดการ นักแนะแนว นักสังคมสงเคราะห์  นักจิตวิทยา พยาบาล นักประชาสัมพันธ์ พนักงานขาย  นักการทูต นักการตลาด นักการเมือง          7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง มีความสามารถสูงในการรู้จักตนเอง รู้จักความสนใจ ความถนัด ความสามารถ ตามความเป็นจริง มีจุดอ่อน จุดแข็งเรื่องใด รู้เท่าทันอารมณ์ ความคิด ความปรารถนาของตน สามารถฝึกตนเอง เช้าใจตนเอง ภูมิใจในตนเอง        กิจกรรมเสริมทักษะ ฝึกสมาธิ ฝึกสำรวจมีสติรู้เท่าทันอารมณ์  ตั้งเป้าหมายในชีวิต วิเคราะห์ตนเองใช้  self  swot analysis ลองทำแบบทดสอบต่างๆ ฝึกการผ่อนคลาย                            อาชีพ นักจิตวิทยา จิตแพทย์ พระ นักสังคมสงเคราะห์  ผู้นำทางศาสนา นักวางแผน ผู้ประกอบการ       8. ปัญญาด้านธรรมชาติ ปัญญาที่มนุษย์ใช้แยกแยะธรรมชาติ  เช่น พืชกับสัตว์ แยกประเภทพืช สัตว์ รวมทั้งความไวในการเข้าใจลักษณะอื่นๆของธรรมชาติ เช่นสภาพก้อนเมฆ ก้อนหิน เป็นต้น                             กิจกรรมเสริมทักษะ  ดูดาวท้องฟ้า  ไปตลาดต้นไม้ ทำศิลปะภาพพิมพ์จากส่วนของพืช หัดทำอาหาร กอดต้นไม้ในสวน ปลูกต้นไม้  เลี้ยงสัตว์ สังเกตนก หรือสัตว์ป่า ใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ถอดรองเท้าบนพื้นดิน ทราย หญ้า                             อาชีพ นักนิเวศวิทยา วนศาสตร์ นักชีววิทยา นักกีฏวิทยา นักคัดเลือกพันธุ์สัตว์ สัตวแพทย์ นักประมง นักปัฐพีวิทยา นักธรณีวิทยา ประมง                   การ์ดเนอร์ กล่าวว่ายังมีปัญญาด้านอื่นๆที่ต้องศึกษาให้ลึกซึ้งตามความสามารถพิเศษที่อาจจะจัดเป็นปัญญาด้านต่างๆได้อีก เช่น ด้านจิตวิญญาณ ด้านเพศ ด้านอารมณ์ขัน ด้านอาหาร ด้านกลิ่น                   ดร.เซ็ง(Yin Cheong Cheng) จากสถาบันการศึกษาของฮ่องกง ได้ศึกษาเพิ่มเติมจากการ์ดเนอร์ และได้คิดพหุปัญญาบริษทของตนขึ้น มีเชาวปัญญาด้านบริบทการเรียนรู้ บริบทเทคนิค บริบทเศรษฐกิจ บริบทสังคม บริบทการเมือง และบริบทวัฒนธรรม (สุรศักดิ์ หลาบมาลา: 2543)         จะเห็นได้ว่าคนเรามีปัญญาอย่างน้อย 8 ด้าน แต่ละอาชีพต้องการปัญญาแต่ละด้านแตกต่างกันจึงควรพัฒนาปัญญาทั้ง 8 ด้านให้เกิดแก่นักเรียนเท่าที่จะมากได้ในเด็กแต่ละคน      ปัญญาหรืออัจฉริยะภาพสามารถสร้างได้ มนุษย์เกิดมาพร้อมอัจฉริยภาพมากมายหลายประการ ในตัวคนหนึ่งคนก็มีได้ครบทุกด้าน ขึ้นอยู่กับว่าคนเราจะฝึกฝนและพัฒนาด้านไหนเป็นพิเศษ สมองคนเรามีเซลล์สมองเท่ากับไอน์สไตน์ ดังนั้น ไอน์สไตน์ฉลาดแค่ไหนโดยทฤษฎีเราก็ฉลาดได้เท่านั้นเหมือนกัน (วนิษา เรซ:2550 หน้า 17)       ====              ปัญญาหรืออัจฉริยะภาพสามารถสร้างได้ ด้วยการ       รู้จักหาข้อมูล คิด จินตนาการ สร้างพัฒนาแบบแผนใหม่ๆให้สมอง และผ่านการแก้ปัญหาที่ท้าทาย เอาใจใส่ในสิ่งที่ทำ แสวงหาแนวทางที่พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปเสมอ โดยไม่มีคำว่าทำไม่ได้ในสมอง ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ หาโอกาสสร้าง                                                                                                                                                              หน้า 4 ประสบการณ์ มุมมองทักษะใหม่ๆให้ชีวิต ยิ่งมีประสบการณ์มากจะต่อยอดไปสู่ทักษะอื่นๆในกลุ่มเดียวกันได้มากขึ้นให้มีความคิดกว้างขวางขึ้น ขอให้ลงมือทำด้วยหลักอิทธิบาทสี่  อัจฉริยะสร้างได้จริงๆ                                                                                                                        หนังสืออ้างอิง            วิทยากร  เชียงกูล. เรียนลึกรู้ไว ใช้สมองอย่างมีประสิทธิภาพ.  กรุงเทพมหานคร :บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น.                                     2547,178 หน้า           วิทยากร  เชียงกูล. การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ.  กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์สายธาร.                                     2549 ม,123 หน้า           วนิษา  เรซ.อัจฉริยะสร้างได้. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแปลน พริ้นท์ติ้ง จำกัด.2550,175 หน้า            สุรศักดิ์  หลาบมาลา.”การใช้พหุปัญญาในห้องเรียน”วารสารวิชาการ.1(9):53-56; กันยายน 2541.            สุรศักดิ์  หลาบมาลา.”พหุปัญญาบริบท”วารสารวิชาการ.3(2) :49-54 ;กุมภาพันธ์ 2543.            อาร์มสตอง โธมัส.พหุปัญญาในห้องเรียน. แปลจาก Multiple  Intelligence in the                       Classroom.โดย อารี สัณหฉวี.กรุงเทพ:โรงพิมพ์การศาสนา.2543,166 หน้า. ………………..  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พัฒนาสู่ความเป็นอัจฉริยะ

ทิ้งความคิดเรื่องอัจฉริยะมาแต่เกิด อัจฉริยะเกิดตั้งแต่เด็ก ....อายุมากแล้วพัฒนาไม่ได้ แล้วพัฒนาตัวเองด้วยต้นแบบที่ดี

สวัสดีชาวคลื่นหนึ่งและผู้สนใจและรักการอ่านทุกท่าน  อาจมีใครหลายคนเคยเจอคนบ่นว่า “เด็กรุ่นใหม่มาทำงาน เราต้องบอกตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย เพื่อให้เด็กทำงานให้เราได้” หรือ เฮ้อ เด็กสมัยนี้ บอกเท่าไหนก็ทำได้เท่านั้น ไม่เคยคิดเรียนรู้งาน” อะไรทำนองนี้อยู่บ่อย ๆ แล้วเราก็โทษระบบการศึกษาของไทยที่ว่ายังไปไม่ถึงไหน แล้วก็ว่ากันต่อไปว่า “ก็แหงล่ะ คนสอบเข้าคณะอื่นๆไม่ได้แล้วถึงมาเลือกเรียนศึกษาศาสตร์” แถมยังมีคนบอกอีกว่า “คนนอกเมืองยังไม่ค่อยให้ลูกเรียนโรงเรียนรัฐ (โรงเรียนวัด) โดยให้ลูกไปเรียนโรงเรียนเอกชน ซึ่งครูที่มาสอนเงินเดือนก็น้อย แถมสอบเข้าโรงเรียนรัฐบาลไม่ได้” อะไรทำนองนี้ก็ว่ากันไป แล้วเราเคยตั้งคำถามกันไหมว่า ชนชาติไหนที่เขาเก่งเสียเหลือเกิน อัจฉริยะเสียเหลือเกิน เจอหนังสือน่าสนใจอีกเล่มที่จะนำมาให้รู้จัก ที่เขาบอกไว้น่าปกว่าขายดีในอิสราเอลกว่า 20 สัปดาห์ แปลแล้วถึง 7 ภาษา

หลักแห่งการยกระดับ ความคิดสร้างสรรค์แบบคน ยิว ....จงเป็นนักเลียนแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ควรใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วในทางที่สอดคล้องกับความต้องการ ....คนส่วนมากเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากความสำเร็จและความล้มเหลวของตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับผลงานของคนอื่น แม้แต่ผู้ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดก็ยังเปลี่ยนแปลงและปรับสิ่งต่างๆ ไปเรื่อยๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า ประเด็นสำคัญก็คือการเรียนรู้จากประสบการณ์และจากความผิดพลาดของคุณเองเป็นสิ่งที่ดีอยู่หรอก เว้นแต่ว่ามันเอาสิ่งที่คุณไม่ควรสูญเสียไปจากคุณ นั่นก็คือ เวลา....  

....

เพราะว่าถ้าคุณคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผลงานที่ดีเลิศมักเกิดขึ้นจากการกระทำที่ดีเลิศ ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำก็คือเรียนรู้จากการกระทำแบบเดียวกันนี้แล้วทำตามในลักษณะเดียวกัน คำถามไม่ใช่อยู่ที่ว่าเราจะได้รับผลสำเร็จแบบเดียวกันหรือเปล่า แต่อยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร สิ่งที่เรากำลังพูดถึงคือกลยุทธ์ที่จำเป็นต้องเลือกคนที่เหมาะสมที่เราจะเรียนรู้จากเขา (น.124)

บางครั้งการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยไม่มองประสบการณ์หรือคำบอกกล่าวเล่าขาน คำตักเตือนของคนอื่น หรือการไม่มี “ต้นแบบ” ในการดำเนินชีวิต ก็อาจจะไม่ใช่แค่ “เสียเวลา” แต่อาจจะต้อง “เสียใจ” “เสียดาย” “เสียหาย” หรือ “เสียผู้เสียคนได้”

หรือหลักแห่งจินตนาการ จินตนาการเรื่องที่เหลือเชื่อที่สุดที่คุณคิดได้ ตั้งเป้าหมายที่ดูเกินความจริงนั้นไว้ แล้วคิดในแบบที่ปฏิบัติได้  จินตนาการแบบพยากรณ์อนาคต (Prophetic Imagination) เพื่อทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นจริงโดยวิธีการที่เป็นไปได้

สงสัยกันไหมว่าทำคน ยิว ฉลาดและประสบความสำเร็จสูงสุด หาคำตอบใน สู่ความเป็นอัจฉริยะด้วยการพัฒนาพลังสมอง โดย Eran Katz แปลโดย เจิจรัส หนังสือน่าอ่านประจำสัปดาห์นี้ แล้วท่านจะได้รู้ว่าอัจฉริยะไม่ใช่ติดตัวมาแต่เกิด หรือต้องพัฒนากันตั้งแต่ยังเด็ก คนอายุเท่าใด ถ้าสนใจจะพัฒนาตัวเอง ก็สามารถทำได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันบางอย่างของคุณ รวมทั้งปรับเปลี่ยนระบบคิดเสียบ้าง... เรียนรู้เพื่อจะปรับเปลี่ยนและนำสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต พัฒนาตัวเอง สักวันหนึ่งคุณอาจจะเป็นต้นแบบให้ใครสักคนได้ยึดถือและเดินตาม สนใจลองซื้อหามาอ่านได้ตามร้านหนังสือทั่วไปนะคะ จาก จินตนาภร   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ดี#อัจฉริยะ#เก่ง
หมายเลขบันทึก: 344581เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2010 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อัจฉริยะเกิดจากสิ่งแวดล้อมและแบบอย่างที่ดี การเรียนรู้ต้องมองหาแววอัจฉริยะของผู้เรียนให้ได้ครับ

เรียนอย่างไรให้เก่ง

คนเรามีอัตราการจำหรือลืมที่แตกต่างกัน เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งวัน คนเราจะจำเรื่องราวที่ตนอ่านไปได้ประมาณ 50% และลดลงไปอีกครึ่งหนึ่งทุก ๆ 7 วัน

คนเรามีอัตราการจำหรือลืมที่แตกต่างกัน เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งวัน คนเราจะจำเรื่องราวที่ตนอ่านไปได้ประมาณ 50% และลดลงไปอีกครึ่งหนึ่งทุก ๆ 7 วัน จนในที่สุดจะนึกไม่ออกเลยเมื่อเวลาผ่านไปหลาย ๆ วัน ถ้าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับตัวคุณแล้ว คุณจะต้องหาทางแก้ไขและฝึกฝนตนเองในจุดที่คุณบกพร่อง จากข้อปฏิบัติตนของการเป็นผู้เรียนที่ดีดังนี้

1. เวลาฟังอาจารย์สอนหรือเวลาอ่าน ต้องคิดตาม ถาม จด ตลอดเวลา ถ้าไม่เข้าใจควรจดคำถามไว้เพื่อคิดค้นคว้าหรือถามผู้รู้ต่อไป

2. หามุมที่ใช้เป็นที่ดูหนังสือหรือทำการบ้านที่จะทำให้มีประสิทธิภาพ

3. จัดเวลาสำหรับทบทวนสิ่งที่เรียนมา หรืออ่านล่วงหน้าสิ่งที่จะเรียนต่อไป ถ้าไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดได้ควรให้รางวัลตัวเอง

4. ท่องหนังสือกับเพื่อน อย่าหวงวิชา แบ่งปันความรู้อธิบายให้กันและกันอย่าช่วยเหลือเพื่อนในทางที่ผิด เช่นทุจริตเวลาสอบ หรือให้ลอกงานโดยไม่เข้าใจ

5. ฝึกศึกษาด้วยตนเอง มิใช่ต้องเรียนจากครูเพียงอย่างเดียว การศึกษาด้วยตนเองใช้สมาธิมากต้องทำความเข้าใจจดสาระสำคัญต่าง ๆ ลงในโน้ตย่อ จดสิ่งที่ไม่เข้าใจไว้ค้นคว้าต่อไป

จากข้อปฏิบัติทั้ง 5 ข้อ คุณควรสำรวจตัวคุณเองว่าทุกสัปดาห์ คุณยังขาดข้อใดบ้างพยายามปรับปรุงทำให้ได้ ต้องอดทน แม้ว่าจะเป็นนิสัยเดิมก็ตาม ถ้าคุณทำได้รับรองว่าคุณจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในการเรียนอีกคนหนึ่งแน่นอน

ถ้าทำได้อย่างบอกก็คงจะดี แล้วเราจะลองพยายามดู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท