ต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลือง


ต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลือง

ระบบไหลเวียนของน้ำเหลืองภายในร่างกายคนเราประกอบด้วยต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลือง หน้าที่ของระบบไหลเวียนน้ำเหลือง เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคและป้องกันการติดเชื้อ ท่อน้ำเหลืองที่มีอยู่ทั่วร่างกายนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบไหลเวียนเลือด การไหลเวียนของน้ำเหลือง อาศัยแรงดันของเลือดเป็นสำคัญ ท่อน้ำเหลืองใหญ่ทางด้านซ้ายและขวา นำน้ำเหลืองไหลกลับไปสู่ระบบไหลเวียนเลือด ทางหัวใจห้องบนขวา เครือข่ายของระบบไหลเวียนของน้ำเหลือง จึงมีอยู่ทั่วร่างกาย

image

ต่อมน้ำเหลือง นอกจากจะทำหน้าที่กรองน้ำเหลืองแล้ว ยังทำหน้าที่สำคัญในการสร้างเม็ดเลือดขาว รวมทั้งแอนติบอดี้เพื่อเป็นสารที่ร่างกายใช้ต่อต้านเชื้อโรค ในบางตำแหน่งของร่างกาย เช่น ขาหนีบ รักแร้ คอ จะมีต่อมน้ำเหลืองอยู่รวมเป็นกลุ่มๆ ต่อมน้ำเหลืองกลุ่มที่อยู่ตื้น สามารถคลำได้จากภายนอก เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ในขณะที่ต่อมน้ำเหลืองบางกลุ่มอยู่ลึก ไม่สามารถคลำได้จากการตรวจร่างกายภายนอก เช่น ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น ระบบไหลเวียนของน้ำเหลือง ไม่ได้มีเพียงต่อมน้ำเหลืองเท่านั้น ยังมีอวัยวะอื่นๆ ที่ถือว่าอยู่ในระบบไหลเวียนของน้ำเหลืองด้วยเช่นกัน ได้แก่ ม้าม ต่อมไทมัส ต่อมทอนซิล และไขกระดูก

ระบบน้ำเหลืองมี 2 ส่วน คือ ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมักจะอยู่เป็นกลุ่มๆ ตามคอ, รักแร้, ขาหนีบ ปกติจะมีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว และคลำไม่พบ ระหว่างต่อมน้ำเหลืองจะมีท่อน้ำเหลืองเป็นเส้นเล็กๆ เล็กกว่าหลอดเลือด โยงถึงกันเป็นตาข่ายทั่วร่างกาย ระบบน้ำเหลือง ทำหน้าที่ป้องกันมิให้ร่างกายติดเชื้อโรคหรือทำหน้าที่ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยจะดักและกรองเชื้อโรค และแยกออกไปจากร่างกาย ถ้ามีเชื้อโรคเต็ม ต่อมน้ำเหลืองจะอักเสบ บวมโต คลำพบได้ มักไม่เกิน 2 ชม. และมักจะเจ็บ บางครั้งเรียกว่า ต่อมลูกหนูโต

สาเหตุ

imageโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยท์ (lymphocyte) ที่อยู่ภายในต่อมน้ำเหลือง ลิมโฟซัยท์เป็นเม็ดเลือด ที่มีลักษณะนิวเคลียสเดียวขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางเซลล์ สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง คล้ายคลึงกับการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยเซลล์ที่เกิดเป็นมะเร็ง เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยท์ ซึ่งโดยปกติแล้วเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยท์ จะทำหน้าที่เป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด NHL พบได้ในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ และพบได้บ่อยขึ้นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ส่วนผู้ป่วยโรคฮ้อดกิ้นมักมีอายุระหว่าง 15-40 ปี

ยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น กรณีผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสูงกว่าปกติ มีการศึกษาพบว่าโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัส Epstein-Barr โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคฮ้อดกิ้น Hodgkin's disease ส่วนโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด NHL เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสเอดส์ นอกจากนี้ในประเทศแถบแอฟริกา พบว่าเชื้อปรสิตที่ก่อให้เกิดโรคมาลาเรีย รวมทั้งเชื้อไวรัส Epstein-Barr เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Burkitt's lymphoma

ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารที่ตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องโดยธรรมชาติ มีโอกาสที่จะเป็นโรคฮ้อดกิ้นสูงกว่าปกติ ประวัติครอบครัว โรคฮ้อดกิ้นอาจพบได้บ่อยในบางครอบครัว แต่เชื่อว่าเป็นผลมาจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมมากกว่าปัจจัยทางพันธุกรรม สารเคมี พบว่ายาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อาการของโรค

  1. imageอาการเริ่มต้นมักจะคลำต่อมน้ำเหลืองได้ขนาดเล็กๆ ไม่เจ็บ (ลูกหนูโต) มักจะคลำพบบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ ก้อนที่โตจะไม่เจ็บ ค่อยๆ โตเป็นกลุ่ม มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจเท่าผลส้มโอก็ได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา ต่อมน้ำเหลืองโต อาจเป็นมะเร็งหรือไม่ใช่ก็ได้ อาจเป็นโรคติดเชื้อธรรมดา วัณโรค โรคเอดส์หรือโรคระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติอื่นๆ ดังนั้น เมื่อตรวจพบอาการต่อมน้ำเหลืองโตควรมาพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการตรวจค้น และรักษาที่เหมาะสม 
  2. อาการไข้ เหงื่อออกเวลากลางคืน และน้ำหนักตัวลด อาจมีไข้เป็นพัก ๆ ไม่สม่ำเสมอ มักพบว่ามีเหงื่อออก ตัวชื้นตอนกลางคืน บางรายพบว่าน้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวในเวลา 6 เดือน 
  3. อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ทั้งสองโรคอาจมีตับม้ามโตได้จากมะเร็งไปแทรกในอวัยวะทั้งสอง 
  4. ติดเชื้อง่าย เมื่อมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณอื่น อาจจะก่อให้เกิดอาการบวมบริเวณใบหน้าและคอ เนื่องจากมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโตไปกดเส้นเลือดใหญ่ ที่คอทำให้บวมและออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ถ้าลุกลามไปยังระบบทางเดินอาหาร จะพบอาการของทางเดินอาหารอุดตัน เช่น กลืนลำบาก คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องรุนแรง ตับ ม้ามโต ตัวตาเหลือง ถ้าลุกลามไปที่กระดูก จะมีอาการปวดกระดูก 
  5. ต่อมน้ำเหลืองที่เป็นมะเร็ง จะโตเร็วมาก บางครั้งอาจเกิดแตกเป็นแผลเลือดออกได้ ตำแหน่งของก้อนที่พบบ่อยๆ ได้แก่ ต่อมน้ำเหลืองที่คอ รักแร้ และขาหนีบ เป็นต้น หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาแต่ต้น มะเร็งจะกระจายไปสู่ระบบต่างๆ ของร่างกายไปสู่อวัยวะอื่นๆ และมีผลทำให้การทำงานของร่างกายล้มเหลวถึงแก่ชีวิตได้ 
  6. เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยท์พบได้ในอวัยวะอื่นๆ นอกเหนือจากต่อมน้ำเหลืองด้วย อาทิเช่น ลำไส้ ปอด จมูก ไขกระดูก หรือแม้แต่ระบบประสาท ดังนั้น มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง จึงอาจเกิดได้ทุกที่ที่มีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยท์ดังกล่าวอยู่ มะเร็งของต่อมน้ำเหลืองก็เช่นเดียวกับมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ ที่เซลล์ปกติจะมีจำนวนน้อยลง เพราะถูกเซลล์มะเร็งรุกราน และแทนที่เซลล์ปกติ มีผลทำให้ระบบป้องกันโรค และป้องกันการติดเชื้อลดประสิทธิภาพลงไป 
  7. ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มักจะไม่ค่อยมีอาการทางระบบเลือด หากไม่มีการแพร่กระจายของมะเร็งเข้าไปในไขกระดูก 
คำสำคัญ (Tags): #ประทาย3
หมายเลขบันทึก: 344558เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2010 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท