ปากคน


ปากคน

ความหมายของปาก

     ปาก คือ อวัยวะที่สำคัญของมนุษย์ มีหน้าที่หลายประการ เช่น กินหรือดื่ม พูดจาเสวนา หรือแสดง อารมณ์ เช่น ยิ้ม เม้มปาก แสยะ จุ๊ปาก เบ้ปาก เป็นต้น ปากเป็นทางออกของถ้อยคำ ทำหน้าที่ส่งภาษากัน และเป็นทางเข้าของอาหาร บดเคี้ยวอาหารกลืนเข้าไปบำรุงร่างกาย

     ในทีนี้จะนำามาพูดเฉพาะเรื่องการส่งภาษาเจรจากันเท่านั้น ในหนังสือ มงคลยอดชีวิตฉบับสมบูรณ์ ของ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมะธะโร) ได้แบ่งปากออกเป็นสองฝ่าย คือ “ปากอัปมงคล ได้แก่ ปากชอบพูดเรื่องชั่ว ๆ พูดหยาบคาย พูดกระแทกแดกดัน...ยุให้รำตำาให้รั่ว ทำให้แตกสามัคคี หรือชอบเปิดเผยโทษของคนอนื่ ปกปิดความผดิ ของตนเอง ปกปิดความดขี องคนอนื่ เทยี่ วโพนทะนาความดีของตนเองแม้มีอยู่เพียงน้อยนิด...” คล้าย ๆ รายการทีวีการเมืองในเมืองไทยในปัจจุบันนี้       

      “ปากมงคล ได้แก่ คำพูดประกอบด้วยเมตตา ชี้แจงเหตุและผลตามความเป็นจริงให้แจ่มแจ้ง ชวนให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ และดูดดื่มไม่เบื่อหน่าย....” พูดถึงปากคนแล้ว มนุษย์มีช่องทางระบายลมอยู่ ๒ ช่องทางใหญ่ ๆ คือ ปาก + ช่องทวารหนัก หรือตูด (ได้อรรถรสดี)

          - ถ้าลมออกมาแล้วทำให้คนอื่นรู้เรื่อง สนใจฟัง น่าประทับใจ ควรเรียกว่า ปาก

          - ถ้าลมออกมาแล้วทำให้คนอื่นเมินหน้าหนีทั้งเหม็นทั้งหยาบ ควรเรียกว่า ตูด ในพระพุทธศาสนาเปรียบการพูดหรือปากได้ ๓ อย่าง คือ ๑. คูถภาณี ปากเหม็น หรือปากส้วมแตก ไม่มีคนอยากเข้าใกล้ ปากมีกลิ่น คนฟังเมินหน้าหนี ๒. ปุพผภาณี ปากหอม พูดแล้วหอมเหมือนดอกไม้ คนดมดอกไม้ชื่นใจ ฟังคำพูดแล้วชื่นใจ ไพเราะ และสัตย์จริง ๓. มธุรภาณี ปากหวานปานน้ำผึ้ง พูดแล้ว ทำให้เกิดความรักใครกลมเกลี่ยวกัน และได้ประโยชน์ เหมือนน้ำผึ้งสมุนไพร

   การพูดมีความสำคัญอย่างไร ?

      โบราณกล่าวไว้ว่า

           ปากเป็นเอกเลขเป็นโทโบราณว่า    หนังสือเป็นตรีมีปัญญาไม่เสียหาย

           ถึงรู้มากไม่มีปากลำบากกาย           มีอุบายพูดไม่เป็นเห็นป่วยการ

           เป็นมนุษย์สุดนิยมที่ลมปาก           จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา

           ถ้าพูดดีมีคนนิยมพา                    จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ

ที่มา : http://www.rta.mi.th/data/ytg/2009/data/2553-01-02-03/page.pdf

คำสำคัญ (Tags): #ปากคน
หมายเลขบันทึก: 344491เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2010 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท