สายพันธุ์ปลากัด


สายพันธุ์ปลากัด

สายพันธุ์ปลากัด

          ปลากัดป่าปลากัดป่า หรือ ปลาลูกทุ่ง ที่พบในธรรมชาติ ตามท้องนา หนองบึง ส่วนใหญ่จะเป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่เด่นมากนัก ในสภาพปกติสีอาจเป็นสีน้ำตาลเทาหม่น หรือสีเขียว และอาจมีแถบดำจาง ๆ พาดตามความยาวของลำตัว อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ระหว่างพรรณไม้น้ำในที่ตื้น ความพิเศษของปลากัด อยู่ที่ความเป็นนักสู่โดยธรรมชาติเมื่อพบปลาตัวอื่นจะเข้าต่อสู้กันทันที และที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือการที่ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีให้งดงามเมื่อถูก กระตุ้น ในสภาวะตื่นตัวครีบทุกครีบจะแผ่กางออกเต็มที่ แผ่นเยื่อหุ้มเหงือขยายพองตัวออก พร้อมกับสีน้ำเงินหรือแดงที่ปรากฏขึ้นมาชัดเจนในโทน ต่าง ๆ ทำให้ดูสง่าอาจหาญ และสวยงาม ปลาป่าแท้นั้นส่วนมากครีบ หางและกระโดงที่ภาษานักแปลงปลาเรียกรวมว่า “เครื่อง” จะมีสีแดงเกือบตลอดมีประดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีเส้น เขียว ๆ แซมบ้าง อย่างที่เรียกว่าเขียวก็มีเพียงแต้มเขียวอ่อน ๆ ที่กระโดงเท่านั้น เวลาถอดสีปกติทั้งตัวและ เครื่องเป็นสีน้ำตาลจืด ๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ที่ห้อยแช่น้ำอยู่ ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ ปลากัดก็คือเป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่อยู่บริเวณเหงือกทำให้ปลา สามารถใช้ออกซิเจน จากการฮุบอากาศได้โดยตรง ปลากัดจึงสามารถทนทานดำรงชีวิตอยู่ได้ในที่ที่มีออกซิเจนต่ำ ตำนานเล่าขานของปลากัดจึงค่อนข้างแปลกประหลาด ไปกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ บทความ “ธรรมชาติของปลากัดไทย) โดย ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ที่เขียนไว้เมื่อปี 2496 ได้พูดถึงการขุดหา ปลากัดในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง ริมคู และรางน้ำ ซึ่งปลากัดเข้าไปอยู่อาศัยปน อยู่กับปูในรูตั้งแต่ต้นฤดูหนาว เมื่อน้ำเริ่มลดไป จนตลอดหน้าแล้งปูก็จะขุดรูลึก ตามระดับน้ำลงไปเรื่อย ๆ ปลากัดจะออกมาแพร่พันธุ์ใหม่ในต้นฝนในเดือนพฤษภาคม กระจายออกไปหากินตามที่มีหญ้ารก ๆ ในเขตน้ำตื้นปลากัด เป็นปลาที่ชอบน้ำตื้น จึงไม่พบตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ที่มีน้ำลึก อันที่จริงในธรรมชาติการต่อสู่กันของปลากัดไม่จริงจังเท่าไรนัก ส่วนมากมักแผ่พองครีบหางขู่กันเพื่อแย่งถิ่น บางตัวเห็นท่าไม่ดีก็อาจเลี่ยงไปโดยไม่ ต่อสู้กันเลยก็มี แต่บางคู่ก็ต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง ปลาตัวผู้ตัวไหนที่ยึดชัยภูมิเหมาะได้ที่ ก็จะก่อหวอดไว้แล้วพองตัวเบ่งสี เกี้ยวตัวเมียที่ผ่านไปมา เพื่อผสมพันธุ์วางไข่

ปลากัดหม้อ
Bettar Fighting Fish
ปลาลูกหม้อหรือปลาหม้อนั้นเป็นปลากัดที่ถูกนำมาคัดสายพันธ ุ์โดยนักพันธุศาสตร์สมัครเล่นชาวไทยที่มุ่งหวัง จะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่า ของนักเลงปลาเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบสุวรรณนคร) คาดว่า ปลาลูกหม้อน่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2430 ซึ่งท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้น ยังต้องจับปลาป่า มากัดพนันกันอยู่ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่ อาศัยอยู่ตามรูปูในหน้าแล้งมาขังไว้ในโอ่ง มาเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝนก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่เลี้ยงมาไม่ได้ การเล่นปลาขุดนี้ยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ ปี 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกจะเรียกว่า “ปลาสังกะสี” ซึ่งสัณนิษฐานว่าน่าจะได้ ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ถูกกัดขาดง่ายเหมือนปลาป่าและปลาขุด ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ สีสันลักษณะ ต่างจากปลาป่าและปลาขุด นักเลงปลาป่าจึงมักไม่ยอมกัดพนันด้วย จึงต้องกัดแข่งขันระหว่างปลาสังกะสีด้วยกันเอ ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงามก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมา ก็จะได้ปลาลักษณะรูปพรรณสีสันที่สวยงาม แปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพร้อม ความเก่ง และอดทนในการกัดจะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทย นับได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคนี้ คำว่า “ลูกหม้อ” นั้นมาจากการใช้หม้อดินในการเพาะและอนุบาลปลากัด ในระยะแรก ๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ ที่สร้างมาแท้ ๆ กับมือของนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้และให้มีสีสันที่สวยงามตามความพอใจ ของเจ้าของ ปลากัดลูกหม้อจึงมีรูปร่าง หนาใหญ่กว่าปลากัดชนิดอื่น สีสันสวยงามดูแล้วน่าเกรงขามกว่าพันธุ์อื่น ๆ สีส่วน มากจะเป็นสีน้ำเงิน แดง เทา เขียว คราม หรือแดงปนน้ำเงิน ใน การเล่นปลากัดในยุคก่อนนั้นปลาลูกหม้อจะมีสองประเภท “ลูกแท้” และ “ลูกสับ” ลูกแท้ หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ ่ที่มาจากครอกเดียวกัน และลูกสับหมายถึงลูกปลาที่เกิด จากพ่อแม่ที่มาจากคนละครอก ปลากัดลูกหม้อนี้ถ้าเอาไปผสมกลับกับปลาป่าลูกปลาก็จะ เรียกว่า “สังกะสี” เช่นเดียวกัน ซึ่งปลาสังกะสีซึ่งเกิดจากการผสมกลับแบบนี้ส่วนมากก็จะมีชั้นเชิงและน้ำอด น้ำทนในการกัดสู้ลูกหม้อไม่ได้ “ลูกหม้อ” จึง เป็นสุดยอดของปลากัดสำหรับนักเลงปลาทั้งหลาย ในระยะหลัง ๆ ก็อาจมีการพูดถึงสายพันธุ์ “มาเลย์” หรือ “สิงคโปร์” ซึ่งว่ากันว่ากัดเก่งหนังเหนียวแต่โดยแท้จริงก็คือปลาลูกหม้อ นั่นเอง เพียงแต่ว่าในระยะต่อมามีการประยุกต์ใช้กลวิธีการ หมักปลาด้วยสมุนไพร ใบไม้ ว่าน ดินจอมปลวก และอื่น ๆ เพื่อช่วยเคลือบเกล็ดปลา ที่เชื่อกันว่าจะทำให้เกล็ดแข็งกัดเข้า ได้ยาก ควบคู่ไปกับการคัดเลือกพันธุ์ ถึงอย่างไร ลูกหม้อก็คือลูกหม้อที่เราชาวไทยพัฒนามาแต่โบราณแม้จะถูกนำไป พัฒนาสายพันธุ์ในที่อื่นก็ยังคงเป็นลูกหม้อไทยตัวเดิมนั่นเอง

ปลากัดจีนเป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบที่ยาวรุ่ยร่ายสีฉูดฉาดเหมือนงิ้วจีน ปลากัดจีนเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาลูกหม้อ โดยผสมคัดพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่มีครีบและหางยาวขึ้น ความยาวของครีบหางส่วนใหญ่จะยาวเท่ากับ หรือมากกว่าความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน และมีการพัฒนาให้ได้สีใหม่ๆ และสวยงาม โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวไทย ซึ่งได้พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จมาช้านาน ก่อนที่ปลากัดจะถูกนำไปเลี้ยงในต่างประเทศ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ว่า การพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ปลากัดชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามแพร่หลายไปทั่วโลก และได้มีการนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง จนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ๆ ออกมาอีกมากมาย

ปลากัดหางสามเหลี่ยม หรือปลากัดเดลตาเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดครีบยาว หรือปลากัดจีน โดยพัฒนาให้หางสั้นเข้าและแผ่กว้างออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบครีบหางกางทำมุม ๔๕ – ๖๐ องศา กับโคนหาง และต่อมาได้พัฒนาให้ครีบแผ่ออกไปกว้างมากยิ่งขึ้น เรียก “ซูเปอร์เดลตา” ซึ่งมีหางแผ่กางใหญ่กว่าปกติ จนขอบครีบหางด้านบนและล่างเกือบเป็นเส้นตรง

ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก หรือปลากัดฮาล์ฟมูนเดลตาเป็นปลากัดที่มีหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบหางจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม ๑๘๐ องศา ได้มีแนวคิดและความพยายามในการที่จะพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในประเทศเยอรมนี แต่เพิ่งประสบผลสำเร็จเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวฝรั่งเศสและชาวเยอรมัน
ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกมีลักษณะที่สำคัญ คือ ครีบหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบด้านหน้าจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม ๑๘๐ องศา ครีบด้านนอกเป็นขอบเส้นโค้งของครึ่งวงกลม ก้านครีบหางแตกแขนง ๒ ครั้ง เป็น ๔ แขนง หรือมากกว่า ปลาที่สมบูรณ์จะต้องมีลำตัวและครีบสมส่วนกัน โดยลำตัวต้องไม่เล็กเกินไป ครีบหางแผ่ต่อเนื่องหรือซ้อนทับกับครีบหลังและครีบก้น จนเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน ขอบครีบหลังโค้งมนเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม เส้นขอบครีบทุกครีบโค้งรับเป็นเส้นเดียวกัน (ยกเว้นครีบอก) ปลายหางคู่ที่แยกเป็น ๒ แฉกจะต้องซ้อนทับและโค้งมนสวยงาม ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกที่แท้จริงจะต้องมีขอบครีบหางแผ่ทำมุม ๑๘๐ องศา ได้ตลอดไป ถึงแม้ปลาจะมีอายุมากขึ้นก็ตาม

ปลากัดหางมงกุฎ หรือปลากัดคราวน์เทล
เป็นปลากัดที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวสิงคโปร์ เป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่ที่มีหางจักเป็นหนามเหมือนมงกุฎ และเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลากัดชนิดนี้คือ ก้านครีบจะโผล่ยาวออกไปจากปลายหาง ลักษณะดูเหมือนหนาม ซึ่งอาจยาวหรือสั้นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับลักษณะการแยกของปลายหนาม และการแยกการเว้าโคนหนามก็มีหลายรูปแบบ ปลากัดหางมงกุฎที่สมบูรณ์จะมีครีบหางแผ่เต็มซ้อนทับได้แนวกับครีบอื่นๆ และส่วนของหนามมีการจัดเรียงในรูปแบบที่สวยงามสม่ำเสมอ

 

 

 

 

 

จากเว็บไซต์ http://www.rakbankerd.com/view3.php?id=514&s=tblanimal

 

หมายเลขบันทึก: 344321เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2010 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

แวะมาดูปลากัดด้วยคนจ้า....ดีใจจังได้รู้ข้อมูลปลากัดอีกเยอะเยย.......

P

  • ขอบคุณค่ะ ที่แวะไปเยี่ยมที่บันทึก
  • เอาปลากัดมาฝากค่ะ

P

  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาดู ปลากัดหนูสวยล่ะซิ

 

อยากรู้ว่าลักษณะ รูปร่างของปลากัดเป็นอย่างไร

ช่วยตอบด่วน นะคร้า มีใครเปิดอยู่ปะ ช่วยตอบด่วน ขอบคุณคะ ขอบคุณจากใจจริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท