ยายอายุ 80 ก็เป็นครู ของผมเช่นกัน (ภูมิปัญญาชาวบ้าน)


ยายสุมี ผู้ช่ำชองการทำผ้าไหม

    ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ภูมิปัญญาชาวบ้าน

    		ภูมิ มีความหมายว่า พื้น ชั้น พื้นเพ
    		ปัญญา หมายความว่า ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาดเกิดแต่การเรียนและคิด

    	ภูมิปัญญา หมายถึง พื้นความรู้ ความสามารถ

    </span>

    	ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความสามารถในการใช้พื้นความรู้สร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาและดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น

    </span>

    	การถ่ายทอดความรู้ หรือ การสอน หมายถึง บอกวิชาความรู้ให้แสดงเข้าใจโดยวิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีรู้ชั่ว

    </span>

    	ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดให้ความหมายไว้อย่างชัดเจนแต่พอทำความเข้าใจได้ดังนี้ หมายถึง ความรู้หรือประสบการณ์ดั้งเดิม
    ของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษหรือถ่ายทอดต่อกันจากสถาบันต่างๆ ในชุมชน เช่น จากสถาบันครอบครัว สถาบันความเชื่อและศาสนา
    สถาบันการเมืองการปกครอง สถาบันเศรษฐกิจ และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ นอกจากนี้ กรมการศึกษานอกโรงเรียนให้ความหมายคำว่า “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” นั้น
    เป็นการเชื่อมโยงไปถึงความรู้ประสบการณ์ตรงของคนในท้องถิ่น ที่ได้จากการสะสมประสบการณ์จากการทำงาน การประกอบอาชีพและการเรียนรู้จากธรรมชาติแวดล้อมต่างๆ 
    และถ้าจะพิจารณาภูมิปัญญาท้องถิ่นเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนั้นหมายถึง เทคนิควิทยาพื้นบ้านได้ด้วย โดยสถานวิจัยสังคมได้ให้คำจำกัดความว่า 
    เทคโนโลยีนั้นเป็นความรู้ว่าจะทำสิ่งต่างๆ อย่างไร โดยมีองค์ประกอบ 2 ประการคือ เครื่องมือในการทำสิ่งนั้น ๆ และกระทบกันขั้นตอนในการทำสิ่งนั้น ๆ ซึ่งสามารถแยก
    ได้ในลักษณะความรู้ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและความจำเป็นในท้องถิ่น เช่น การประยุกต์ใช้พลังคน สัตว์ และธรรมชาติ ตลอดจน
    องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นหรือชุมชน ในอันที่จะเป็นทางเลือกในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น การประยุกต์ใช้พลังคน สัตว์ และธรรมชาติ ตลอดจนองค์ความรู้
    ต่างๆ ที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นหรือชุมชน ในอันที่จะเป็นทางเลือกในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น การประยุกต์แนวความคิดที่เป็นมรดกของคนไทยในการประกอบอาชีพ 
    โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลักพิจารณากิจกรรมหรืออาชีพของชุมชน เช่น แถบพื้นที่หรือท้องถิ่นใดเป็นที่ราบลุ่ม กิจกรรมของชุมชนก็คือ การทำนา หรือการปั้นโอ่ง
    และตุ่มน้ำจากดินเหนียว หรือการแกะสลักไม้เป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ โดยใช้ไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เป็นต้น ในการสัมมนาทางวิชาการ โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏสุรินทร์ 
    ในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสร้างเครือข่าย นั้นได้ให้คำจำกัดความของคำว่า
             ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Local wisdom หรือ popular wisdom) คือพื้นฐานของความรู้ของชาวบ้านหรือคือความรอบรู้
    ของชาวบ้านที่เรียนรู้และมีประสบการณ์สืบต่อกันมาทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเรียนรู้จากผู้ใหญ่หรือที่เป็นความรู้สะสมสืบต่อกันมา  (school.obec.go.th)

     ยายสุมี อยู่ตรงกลาง

      ยายคือ ผู้ที่มีความชำนาญในการเลี้ยงไหม ทอผ้าไหม ผ้าซิ่นไหม ตลอดชีวิตที่มีกำลังวังชา ผมเห็นยายอยู่กับ ต้นหม่อน ตัวไหม และผ้าไหมตลอดมา หากจะยกย่อง
    ว่ายายคือภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำผ้าไหมโดยแท้จริง แล้วญาติผู้ใหญ่ของท่านสมควรเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเช่นกันใช่หรือไม่
    หมายเลขบันทึก: 343505เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2010 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท