สุนทร เตียวัฒนาตระกูล
สุนทร เตียวัฒนาตระกูล กิตติ์ เตียวัฒนาตระกูล

สมรรถนะของเด็กไทยในวันนี้


เด็กไทยในวันนี้ ยังคือผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพที่ดีในวันหน้า อีกใช่หรือไหม

สมรรถนะของเด็กไทยในวันนี้

 

 

เด็กและเยาวชนที่มีคุณภาพ เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาสังคม เด็กไทยถูกคาดหวังให้ “เก่ง ดี และมีสุข” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คาดหวังให้เด็กไทยแต่ละคนถึงพร้อมด้วยพัฒนาการที่สมวัย ทั้งด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา และด้านอารมณ์-จิตใจ-สังคม-จริยธรรม เพื่อเป็นพลังขับเลื่อนสร้างสรรค์สังคมไทยในอนาคตแต่ในภาวะที่สังคมและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบรุนแรงต่อทุกส่วนภาคของสังคมเช่นในปัจจุบัน ได้ก่อให้เกิดคำถามว่า เด็กของเรายัง “เก่ง ดี มีสุข” อยู่หรือไม่

บทความนี้นำเสนอข้อมูลจากงานวิจัยพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับครอบครัว สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนไทยในการพัฒนาเด็กไทยให้บรรลุเป้าหมาย เก่ง ดี และมีสุขต่อไป

1.สภาวะทั่วไปของเด็ก
หนึ่งในห้าของเด็กปฐมวัยเลี้ยงดูโดยปู่ย่าตายาย ผู้เลี้ยงดูหลักส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 77.5 ของเด็กอายุ 3-6 ปี อยู่ในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาล เด็กส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80.3 ) อยู่ในความอุปการะของพ่อแม่ร้อยละ 8.5 อยู่ในความอุปการะของแม่คนเดียวและร้อยละ 8.2 อยู่ในความอุปการะของญาติ เมื่อเปรียบเทียบรายภาค เด็กในกรุงเทพมหานครและภาคเหนืออยูในความอุปการะของแม่คนเดียวร้อยละ 10.8 และร้อยละ 10.3 ตามลำดับ
 
ผู้เลี้ยงดูหลักของเด็ก
ผู้เลี้ยงดูหลักของเด็กคือ แม่ รองลงมาคือ ปู่ย่าตายาย หนึ่งในห้าของเด็กปฐมวัยเลี้ยงดูโดยปู่ย่าตายาย พ่อทำหน้าที่เป้นผู้เลี้ยงดูหลักน้อยมาก ร้อยละ 1.2 ของเด็กในกรุงเทพมหานคร และร้อยละ 0.9 ของเด็กในภาคกลางอยู่ในความดูแลของคนรับจ้างเลี้ยงเด็กผู้เลี้ยงดูหลักของเด็กส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาโดยผู้เลี้ยงดูหลักของกลุ่มเด็กเล็กมีการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาสูงกว่าผู้เลี้ยงดูหลักของเด็กกลุ่มอื่น

ลักษณะครอบครัวที่เด็กอยู่
ครอบครัวไทยที่มีเด็กอยู่ด้วยในปัจจุบัน เป็นครอบครัวเดี่ยวที่มีพ่อแม่อยู่ด้วยกันหรือมีแม่หรือพ่ออยู่กับลูกร้อยละ 54.6 เป็นครอบครัวขยายที่มีพ่อและ/หรือแม่ลูกอยู่ร่วมกันกับปู่ย่าตายายหรือญาติอื่นร้อยละ 37.3 เป็นครอบครัวที่มีเฉพาะเด็กอยู่กับญาติหรือเด็กอยู่กันเฉพาะพี่น้องร้อยละ 8.2สถานสภาพสมรสของพ่อแม่ส่วนใหญ่อยู่ด้วยกัน โดยมีแนวโน้มลดลงในเด็กวัยรุ่น ครอบครัวไทยส่วนใหญ่จึงมีจำนวนเด็กเฉลี่ย 2 คน มีจำนวนคนในบ้านเฉลี่ย 5 คน

2.การอบรมเลี้ยงดูเด็ก
ความคาดหวัง
พ่อแม่ส่วนใหญ่คาดหวังให้ลูกเป็นเด็กดี เรียนหนังสือเก่ง เรียนจบสูงๆ ประกอบอาชีพที่ดี ในชนบท พ่อแม่อยากให้ลูกโตขึ้นรับราชการเป็นแพทย์ พยาบาล ตำรวจ ทหาร เพื่อให้บรรลุความคาดหวัง พ่อแม่มุ่งทำงานเก็บเงินไว้ส่งให้ลูกเรียน สอนให้เป็นคนดี โดยพ่อแม่ในเขตชนบทสอนโดยการพูดเตือนอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยเหลือเรื่องเรียนได้ พ่อแม่ในเขตเมือง สอน เตือน ช่วยเหลือในการทำการบ้าน จัดหาหนังสือ ให้เรียนพิเศษ หรืองส่งลูกเข้าศูนย์เด็กเล็กหรือโรงรียนอนุบาลส่วนใหญ่คาดหวังให้ลูกเป็นคนดี เรียนหนังสือเก่ง เรียนจบสูงๆ ประกอบอาชีพที่ดี พ่อแม่มุ่งทำงานเก็บเงินไว้ส่งให้ลูกเรียน ยกเรื่องการเรียนรู้ให้ขึ้นอยู่กับครู

แนวทางการปลูกฝังและการอบรมเลี้ยงดู
ในเด็กปฐมวัย พ่อแม่มุ่งสอนปลูกฝังให้เป็นเด็กดี ไม่ดื้อ ไม่ซน เชื่อฟังพ่อแม่ และผู้ใหญ่ โดยใช้ประสบการณ์ที่ตนเองได้รับมา พ่อแม่บางส่วนไม่ได้สอนปลูกฝังเพราะยังเห็นว่าเด็ก ยังไม่รู้เรื่อง รอโตก่อนค่อยสอน ถ้าเป็นย่ายายมักจะตามใจ ไม่เข้มงวดกับเด็ก สำหรับเด็กวัยเรียน พ่อแม่สอนให้ตั้งใจเรียนหนังสือ รับผิดชอบตนเอง และช่วยเหลืองานบ้าน ส่วนวัยรุ่น พ่อแม่เน้นสอนในเรื่องการคบเพื่อนที่ดี ไม่ติดยาเสพติด

การอบรมเลี้ยงดูที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กเน้นการเลี้ยงดูด้านกายเป็นหลักโดยเฉพาะในเขตชนบทและผุ้เลี้ยงดูที่เป็นย่ายาย ของเล่นและหนังสือที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญามีน้อยพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยน้อยรายที่เล่านิทานและร้องเพลงให้ลูกฟัง ส่วนใหญ่เปิดทีวีให้เด็กดูการส่งเสริมการอ่านมีน้อย พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กยกเรื่องการเรียนรู้ให้ขึ้นอยู่กับครูและโรงเรียน

การอบรมเรื่องความรับผิดชอบ
ครอบครัวในชนบทเริ่มสอนให้เด็กช่วยทำงานบ้านเมื่ออายุประมาณ 5 ปี โดยเน้นที่เด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย ในเด็กวัยเรียนพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กสอนให้มีระเบียบวินัย รับผิดชอบเรื่องการเรียนการทำงานบ้าน ส่วนใหญ่สอนโดยการพูด ครอบครัวในภาคกลางเขตเมืองและกรุงเทพมหานคร ไม่ได้สอนและเข้มงวดให้ลูกทำงานบ้านเพราะมีคนทำให้

การอบรมเรื่องบทบาททางเพศและเรื่องเพศศึกษา
พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูส่วนใหญ่ยังสอนลูกในเรื่องบทบาททางเพศแบบสมัยเดิม คือ สอนลูกชายให้เข้มแข็ง ทำงานลักษณะของผู้ชายไม่อ่อนแอ ไม่ทำตัวเป็นผู้หญิง ไม่รังแกผู้หญิง สามารถเป็นที่พึ่งของครอบครัว และเป็นผู้นำครอบครัวได้ ส่วนลูกสาวสอนให้เป็นคนเรียบร้อย ว่านอนสอนง่ายรู้จักทำงานบ้าน ไม่เที่ยวเตร่ ไม่ไปไหนมาไหนกับผู้ชายสองต่อสอง (เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น)ส่วนการสอนเรื่องเพศศึกษาพบว่า พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูส่วนใหญ่ไม่ได้สอนลูกในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือการดูแลอวัยวะเพศในวัยรุ่นชาย แต่สำหรับวัยรุ่นหญิงแม่จะสอนในเรื่องการรักษาความสะอาดเมื่อมีประจำเดือนและการใช้ผ้าอนามัยเท่านั้นสำหรับการสอนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูส่วนใหญ่ไม่ได้สอนในเรื่องนี้เพราะเห็นว่ายังเด็กยังไม่รู้เรื่อง (โดยเฉพาะเด็กอายุ 10-16 ปี) พอโตขึ้นจะรู้เอง รวมทั้งเด็กยังไม่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงให้เห็น นอกจากนั้นพ่อแม่ยังกล่าวว่าเป็นเรื่องลำบากใจที่จะสอนลูกเรื่องนี้และคิดว่าโรงเรียนน่าจะสอนได้ดีกว่าได้ต่าบอกว่าตอนนี้ยังเรียนหนังสือห้ามมีแฟน รอเรียนจบมีงานทำถึงจะมีได้ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้ประชาสัมภาษณ์เด็กอายุ 13-18 ปี ที่พบว่าพ่อแม่ไม่ได้สอนเรื่องนี้แก่เขา ส่วนใหญ่จะรู้มาจากกลุ่มเพื่อน โทรทัศน์ และหนังสือ

 3.ภาวะโภชนาการของเด็กไทย
 ในรอบ 15 ปี ภาวะน้ำหนักน้อยและภาวะผอมลดลงมาก ในรอบ 5 ปี ภาวะอ้วนในเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 เด็กวัยเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16

 ภาวะโภชนาการ
• ภาวะน้ำหนักตามอายุ มีเด็กน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 6.9 ) มากกว่าเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 5.5 ) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนของเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์สูงสุดร้อยละ 6.4 กรุงเทพมหานครมีความชุกของเด็กน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์สูงสุดร้อยละ 11.1
• ภาวะส่วนสูงตามอายุ มีเด็กเตี้ยมากกว่าเด็กสูง มีภาวะเตี้ยกว่าเกณฑ์ (stunting) ร้อยละ 6.4 และค่อนข้างเตี้ยร้อยละ 7.6 ในขณะที่มีเด็กสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 3 และค่อนข้างสูงร้อยละ 3.7 เด็กภาคเหนือมีภาวะเตี้ยสูงที่สุดร้อยละ 8.4 กรุงเทพมหานครมีเด็กเตี้ยน้อยที่สุดร้อยละ 4.2 และมีร้อยละของเด็กสูงและค่อนข้างสูงมากที่สุด
• ภาวะน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ความชุกของภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนรวมกันเท่ากับร้อยละ 7.4 ภาวะผอมร้อยละ 3.5 เด็กในเขตเทศบาลอ้วนมากกว่าเด็กนอกเขตเทศบาล 1.8 เท่า ในขณะที่มีเด็กผอมและค่อนข้างผอมใกล้เคียงกัน เขตกรุงเทพมหานครมีความชุกของภาวะอ้วนมากสุ ดร้อยละ 11.6 รองลงมาคือภาคกลางและภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความชุกของภาวะอ้วนน้อยที่สุด ในขณะที่ภาคใต้มีความชุกของเด็กผอมสูงพอๆ กับกรุงเทพมหานคร

ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนสูงกับสติปัญญา
เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะส่วนสูงตามอายุกับระดับสติปัญญาของเด็ก เด็กเตี้ยและค่อนข้างเตี้ยมีค่าเฉลี่ยระดับพัฒนาการ/เชาน์ปัญญาต้ำกว่ากลุ่มที่สูงตามเกณฑ์ ค่อนข้างสูงหรือสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสคัญทางสถิติ

4. พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กไทย
ผลการศึกษาตามโครงการวิจัยนี้ชี้ว่า เด็กไทยมีพัฒนาการด้านสติปัญญาลดลงเมื่ออายุมากขึ้น เด็กส่วนมากมีระดับพัฒนาการด้านสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ช้าและค่อนข้างช้า และพบเพิ่มขึ้นตามวัย ภาคตะวันวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมีเด็กอยู่ในเกณฑ์ช้าสูงกว่าภาคอื่นคะแนนพัฒนาการด้านสติปัญญาลดลงตามวัย จาก 102.5 ในเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 3 ปี เป็น 113.6  และ 94.7 ในเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปีเป็น 91.2 และ 89.9 ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาการด้านสติปัญญาของทุกวัยคือ การศึกษาของแม่และรายได้ของครอบครัวเด็กส่วนมากมีระดับพัฒนาการด้านสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ช้ากว่าปกติและค่อนข้างช้า และมีเด็กอยู่ในเกณฑ์ช้ากว่าปกติและค่อนข้างช้าเพิ่มขึ้นตามวัย

5.พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ-สังคม-จริยธรรม ของเด็กไทย
พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ-สังคม-จริยธรรม ของเด็กไทย
เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการการสร้างสัมพันธ์ใกล้ชิดเร็วกว่าพัฒนาการด้านสมรรถนะทางอารมรณ์และสังคม เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยด้านย่อยของพฤติกรรมด้านสมรรถนะทางอารมณ์และสังคม ทุกด้านย่อยมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นตามอายุ ยกเว้นด้านการเลียนแบบ/เล่นสมมุติที่มีคะแนนเฉลี่ยลดต่ำลงเมื่อเด็กอายุ 6 ปี เด็กในเขตเมืองมีพัฒนาการสูงกว่าเด็กนอกเขตเทศบาลในเกือบทุกด้านเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เด็กอเมริกันอายุ 12-35 เดือนของ Carter และคณะ (2002) หนึ่งในสามถึงเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กในการศึกษานี้มีสมรรถนะทางอารมณ์และสังคมอยู่ในเกณฑ์ล่าช้ากว่าวัย (ต่ำกว่าเปอร์เซ็นไตล์ที่ 10 ) และหนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามมีคะแนนการสร้างสัมพันธ์ใกล้ชิดอยู่ในเกณฑ์ล่าช้ากว่าวัย องค์ประกอบย่อยของสมรรถนะทางอารมณ์และสังคมที่ดีกว่าเกณฑ์เด็กอเมริกันคือ ด้านการชอบสังคมกับเพื่อน และด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ส่วนองค์ประกอบย่อยที่ด้อยกว่าเกณฑ์เด็กอเมริกันคือ ด้านแรงจูงใจใฝ่สำเร็จ และด้านความจดจ่อมีสมาธิ

พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ-สังคมของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น
ในเด็กวัยเรียนตอนต้นอายุ 6-10 ปี พัฒนาการด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงที่สุดคือ ด้านหิริโอตตัปปะ รองลงมาคือด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านสมาธิและอดทน คะแนนพฤติกรรมด้าน วินัย สมาธิ กตัญญู เมตตา อดทน ซื่อสัตย์ ประหยัด และรวมทุกด้านมีพัฒนาการก้าวหน้าตามวัย และมีความแตกต่างระหว่างช่วงอายุอย่างมีนัยสำคัญสำหรับเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นอายุ 10-18 ปี ด้านที่มีคะแนนต่ำสุด 5 อันดับ คือความคิดสร้างสรรค์ การควบคุมอารมณ์ การคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การตระหนักรู้ในตนและกี่แก้ปัญหาที่อาจมีผลกระทบต่อการปรับตัวและความสำเร็จของบุคคลในอนาคตพัฒนาการด้านที่มีคะแนนสูงสุด 5 อันดับคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบต่อสังคม ความเห็นใจจากผู้อื่น การสื่อสาร ละคุณธรรมจริยธรรม เด็กหญิงมีคะแนนสูงกว่าเด็กชายเกือบทุกด้าน ยกเว้น ความคิดสร้างสรรค์เด็กอาศัยในเขตเทศบาลเกือบทุกด้านเช่นกัน

พัฒนาการทางจริยธรรม
คะแนนเฉลี่ยด้านการประหยัดอดออมเชิงบวก “ การช่วยปิกน้ำปิดไฟเมื่อเปิดทิ้งไว้ ” และ “การเก็บออมเงิน ” มี่คะแนนเฉลี่ยสูงที่อายุ 6-10 ปี แล้วลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ส่วนพฤติกรรมด้านลบ “ ใช้ของทิ้งๆ ขว้างๆ ” ก็คะแนนเฉลี่ยสูงสุดเมื่ออายุ 6-10 ปี และลดลงเมื่ออายุมากขึ้นเช่นกัน เพศหญิงมีคะแนนพฤติกรรมด้านการประหยัดและอดออมดีกว่าเพศชายทุกกลุ่มอายุในด้านความซื่อสัตย์และละอายเกรงกลัวต่อบาป เด็กมีคะแนนพฤติกรรม “ เล่นขี้โกงเมื่อมีโอกาส ” “ ชอบเล่นกับเด็กเกเรหรือเด็กมีปัญหา ” ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น แต่มี 3 พฤติกรรมที่มีแนวโน้มกระทำมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นคือ “ หยิบของในร้านค้า ” การตามเพื่อนไปตีกับคนอื่น ”  และ “ การเสพยาเสพติด ” เพศหญิงมีคะแนนดีกว่าเพศชายทุกกลุ่มอายุเช่นกัน สัดส่วนของเด็กที่มีพัฒนาการแบบองค์รวมในทุกวัยคือ การอบรมเลี้ยงดูแบบองค์รวมและรายได้ของครอบครัว

6.พัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย
คุณสมบัติของเด็กไทยที่พึงประสงค์คือ “ เก่ง ดี มีสุข และแข็งแรง ” นั่นคือ มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา-อารมณ์-จิตใจ-สังคม-จริยธรรม อย่างรอบด้านและสมดุลกัน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาครั้งแรกของเด็กไทยที่วัดพัฒนาการทุกด้านในการศึกษาคราวเดียวกัน จึงได้วิเคราะห์และเสนอภาพพัฒนาการของเด็กไทยอย่างองค์รวมพบว่า สัดส่วนของเด็กที่มีพัฒนาการแบบองค์รวมที่สมวัยลดลงตามอายุ

7.ข้อเสนอแนะ
เพื่อพัฒนาให้เด็กไทย “ เก่ง ดี มีสุข ” นโยบายที่ควรให้ความสำคัญคือ
• หน่วยงานที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการจัดการบริการสุขภาพสำหรับเด็ก การจัดการศึกษา การจัดบริการในขุมชน ควรปรับนโยบายจากการพัฒนาแบบแยกส่วน เป็นตั้งเป้าหมายไว้ที่พัฒนาการองค์รวมที่สมวัยของเด็กเป็นหลัก
• พัฒนาการด้านที่เดไม่สมวัยมากที่สุดคือ พัฒนาการด้านสติปัญยา โดยไม่สมวัยเป็นสัดส่วนสูงขึ้นตามอายุ จึงควรมีนโยบายเร่งด่วนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเด็กไทยด้านสติปัญญาซึ่งควรเป็นแผนบูรณาการที่มองทั้งระบบ และครอบคลุมวงจรชีวิตของมนุษย์
• ผลการศึกษานี้ชี้ว่า  การอบรมเลี้ยงดูมีอิทธิพลสูงต่อพัฒนาการของเด็กทุกกลุ่มอายุ จึงควรมีนโยบายเตรียมพ่อแม่หรือผู้ที่จะเป็นพ่อแม่ในอนาคตได้แก่ คู่สมรสและเด็กวัยรุ่น ให้สามารถอบรมเลี้ยงดูตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย นอกจากนี้ยังต้องเสริมความรู้ให้ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลและให้การศึกษาเด็กทุกระดับเข้าใจหลักการนี้ เพื่อประสานพลังกับครอบครัวในการพัฒนาเด็กไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
• รายได้ของครอบครัวมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการของเด็กสูงมากข้อค้นพบจากการศึกษานี้ จึงสนับสนุนนโยบายแก้ไขความยากจน และเพิ่มขีดความสามารถของครอบครัว ที่จะจัดประสบการณ์และสร้างสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
• ผลการศึกษานี้ยืนยันข้อค้นพบที่ผ่านๆ มาอีกครั้ง ถึงความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเมืองกับชนบท เด็กชนบททุกวัยมีพัฒนาการองค์รวมด้วยกว่าเด็กในเมือง ภาคที่มีปัญหาการพัฒนาการเด็กทุกด้านคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นโยบายพัฒนาประเทศจึงควรให้น้ำหนักกับพื้นที่ชนบทและภาคดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันระหว่าพื้นที่ให้หมดไป

 

หมายเลขบันทึก: 343390เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท