สุนทร เตียวัฒนาตระกูล
สุนทร เตียวัฒนาตระกูล กิตติ์ เตียวัฒนาตระกูล

การศึกษากับการเมืองกำหนดอนาคตของชาติ


การเมืองนำการศึกษาหรือการศึกษานำการเมือง

การศึกษากับการเมืองกำหนดอนาคตของชาติ

การศึกษาที่ประเทศเวียดนาม เป็นสังคมการเรียนรู้ สรุปได้ว่า จุดแข็งของการศึกษาของเขาคือ รัฐบาลเอาจริงกับเรื่องการศึกษามาก เพราะเขารู้ว่าถ้าจะก้าวเข้ามาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในอนาคตข้างหน้า รวมทั้งการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ เข้าเป็นสมาชิก ASEAN เป็นสมาชิก Apec และ Asem รวมทั้งกำลังจะเข้า WTO ด้วย
จุดแข็งของเขา คือ

  • ครูมีคุณภาพ และชอบการเป็นครู รู้สึกว่ามีเกียรติ มีศักด์ศรี เพราะระบบสังคมนิยมจะยกย่องครู
  • เก่งเรื่องคณิตศาสตร์ และฟิสิกส์อย่างมาก เพราะเขาได้อิทธิพลมาจากรัสเซียในอดีต
  • เด็กนักเรียนของเขาสนุกกับการเรียน แปลกที่เวียดนามเป็นสังคมการเรียนรู้มากกว่าประเทศไทย เพราะเด็กของเขาชอบสนุก กับบรรยากาศการเรียนรู้ (ดูรูปที่ผมได้ทักทายกับเด็กประถม) แต่บรรยากาศการเรียนรู้ของไทยเต็มไปด้วยความเครียด บรรยากาศของการเรียนในเวียดนามน่าสนใจตรงที่ว่า เขาจนกว่าเราแต่เขาจัดห้องเรียนได้น่าเรียน ทุกๆ แห่งที่ผมไปจะเต็มไปด้วยดอกไม้สดจัดเป็นสีๆ ทุกแห่ง เวลาผมไปจัดสัมมนาที่ไหน ผมก็เน้นความสดชื่นของห้องเรียน แต่คนไทย หรือนักเรียนไทยส่วนมากก็ไม่เข้าใจ นึกว่าไม่สำคัญ
  • สภาพแวดล้อมของเขา เช่น สื่อโทรทัศน์ หรือสิ่งพิมพ์ ก็ไม่ทำลายศีลธรรมเหมือนของเรา
  • สุดท้าย การเมืองของเขาเน้นการทำงานแบบโปร่งใส และ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับข้าราชการประจำ

แต่การที่เราไปครั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าระบบการศึกษาของไทยไม่ดี การศึกษาไทยมีจุดแข็งหลายอย่าง เช่น ระบบของเราเป็นระบบเปิด จึงมีโอกาสหาความรู้ได้มากขึ้นจากจุดต่างๆ เช่น มีร้านหนังสือทั้งอังกฤษ และไทยเต็มไปหมด ในเวียดนามร้านหนังสือภาษาอังกฤษดีหายากมาก

ระบบการศึกษาของภาคเอกชนก็เข้มแข็ง ช่วยรัฐบาลได้มาก การศึกษา เช่น การบริหารจัดการทำได้ดีกว่า เพราะเป็นระบบเศรษฐกิจเสรีมากกว่า การกระตุ้นให้คนไทยมีความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity หรือ Innovation) ทำได้ดีกว่า

แต่จุดที่จุดที่อันตรายของระบบการศึกษาไทยน่าจะอยู่ที่การเมืองกับการศึกษา ซึ่งข่าวที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 วัน ของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ คุณอดิศัย โพธารามิก ที่เปลี่ยนตำแหน่งระหว่างเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กับปลัดกระทรวงศึกษาธิการ คุณพรนิภา ลิมปพยอม แสดงให้เห็นว่าการเมืองไทยยังมองการศึกษาเป็นฐานเสียงในการเลือกตั้งอยู่ ซึ่งทำให้ความเป็นอิสระในการทำงานของครูในระบบประถม และมัธยมยังทำงานไม่เต็มที่

ผมจึงอยากให้คนไทย 64 ล้านคน ลองนึกมาว่า ถ้าเด็กไทยในอนาคตมีคุณภาพที่แย่ลง เปรียบเทียบกับประเทศอื่น และการเมืองของเราเน้นเป้าหมายทางการเมืองอย่างเดียว ผมคิดว่าน่าจะถึงเวลาที่หลายๆ คนลุกขึ้นมาถามว่า เด็กไทยในอนาคตจะไปในทิศทางใด

หมายเลขบันทึก: 343373เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท