สุนทร เตียวัฒนาตระกูล
สุนทร เตียวัฒนาตระกูล กิตติ์ เตียวัฒนาตระกูล

แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา


ความต้องการและความพึงพอใจของผู้ปกครอง คือ ที่สุดของคุณภาพสถานศึกษา

แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

                       เพื่อให้ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีความยั่งยืน ทำให้สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา กฎกระทรวงยังกำหนดให้สำนักงาน  เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อย ๑ ครั้ง ในทุก ๓ ปี   และรายงานผลให้สถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัดทราบ แนวคิดพื้นฐานของการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาโดยเขตพื้นที่การศึกษา มีประเด็นสำคัญ ๕ - ๖ ประการ คือ 

              ๑) เพื่อช่วยส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนางานสู่มาตรฐานคุณภาพการศึกษา  

              ๒) เพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างยั่งยืน 

              ๓) เพื่อผลักดันให้สถานศึกษาแสดงความรับผิดชอบการจัดการศึกษาต่อสาธารณะ ด้วยการรายงานผลความสำเร็จและความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานทุกปี 

              ๔) เพื่อให้เกิดการร่วมคิด ร่วมทำงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  

             ๕) เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งพร้อมรับการประเมินภายนอก 

              ๖) เพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษามีข้อมูลสารสนเทศในการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคตจากการวิเคราะห์จุดเด่นจุดควรพัฒนา และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

                ด้วยยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า การประเมินคุณภาพเป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นและการดำเนินงานบางเรื่อง เช่นการจัดระบบสารสนเทศ  การจัดทำรายงานคุณภาพประจำปี ยังต้องมีการพัฒนาอีก  จึงมีการทบทวนทำความเข้าใจ ในด้านความสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษา หลักการ กระบวนการ การดำเนินการของสถานศึกษา และบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

                ผู้บริหารพร้อมคณะครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ต้องสร้างจิตสำนึกในการพัฒนา ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และทำให้สถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

                สพฐ. มีหน้าที่จัดทำมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาพิเศษ ให้ผู้บริหารพร้อมคณะครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนใช้มาตรฐานที่กำหนดไว้ เป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หรืออาจกำหนดมาตรฐานเพิ่มเติมอีกได้

                ผู้บริหารพร้อมคณะครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนควรเร่งพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐาน ที่ 4  (การคิด)  มาตรฐานที่ 5 (ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน) และมาตรฐานที่ 6 (นิสัยรักการอ่าน)  มีตัวอย่างกิจกรรม ให้ส่งรายงานคุณภาพประจำปีต่อเขตพื้นที่การศึกษา ภายในเดือนพฤษภาคม ของทุกปี

                 การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่ด้อยคุณภาพและสร้างสรรค์การศึกษาให้เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น

                 การสร้างความมั่นใจซึ่งเป็นแกนหลักของการประกันคุณภาพประกอบด้วยองค์ประกอบ

สำคัญหลายประการอันได้แก่

              1.  การวางแผนป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นของการออกแบบการกำกับดูแล ตรวจสอบและทบทวนเพื่อการปรับปรุง แก้ไขในทุกขั้นตอนของการผลิตซึ่งต่างจากรูปแบบการประเมินแบบเก่าที่เน้นการตรวจจับเมื่อปัญหาสำคัญในขั้นผลผลิต ได้เกิดขึ้นแล้ว

             2.  การนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยอันได้แก่รูปแบบ กรรมวิธี และ เทคนิควิธี

ที่เป็นนวัตกรรมที่มีหลักฐานทางทฤษฎีและผลการวิจัยเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือรองรับไปประยุกต์ใช้ในขั้นตอน ต่างๆในกระบวนการผลิต ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างมีเหตุผลว่า การดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ทั้งระบบจะนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างน่าไว้วางใจ และจะมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในวงจำกัดที่น้อยที่สุด

                ในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตลอดจนเตรียมการรับการประเมินจากองค์กรภายนอก คือสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา   (ส.ม.ศ.) โดยยึดหลักการดำเนินงานตามวงจรของเดมมิ่ง ได้แก่ การวางแผน (Plan) การปฏิบัติตามแผน (Do) การตรวจสอบหรือประเมินผลการปฏิบัติงาน (Check) และการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา (Action)

การประกันคุณภาพการศึกษา มีความสำคัญ 3 ประการ คือ

               1.   ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน

              2.   ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง

              3.   ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง  ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

ประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษา

             1.   ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษา

ที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

             2.    ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ มีการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส มีความรับผิดชอบที่

ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเน้นคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่องทำให้เป็น ที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

             3.   ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำและความรู้ ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ

และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของ

ผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

             4.   กรรมการสถานศึกษาได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นผู้ที่ทำประโยชน์ และมีส่วนพัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพทางการศึกษาให้แก่เยาวชนและชุมชนร่วมกับผู้บริหารและครู สมควรที่ได้รับความไว้วางใจให้มาเป็นกรรมการสถานศึกษา

             5.   หน่วยงานที่กำกับดูแล ได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง

 ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับ ดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพของสถานศึกษา

            6.   ชุมชนและสังคมประเทศชาติ ได้เยาวชนและคนที่ดี มีคุณภาพและศักยภาพที่จะ

ช่วยพัฒนาองค์กร ชุมชน และสังคมประเทศชาติต่อไปผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจจากการให้บริการของหน่วยงาน 

บรรณานุกรม
กรมวิชาการ. คู่มือการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา . http://www.bv.ac.th/joomla/images/25510320dongpan.doc.
ดร.  เฉลิม  ฟักอ่อน.  แนวคิดการดำเนินการประกันคุณภาพศึกษาของสถานศึกษา.  วารสารวิชาการ  หน่วยศึกษานิเทศก์  กรมสามัญศึกษา  เขตการศึกษา 8. http://www.nitesonline.net/warasan/10_chalearm.doc.
นางสาวสุภาวดี  ตรีรัตน์. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา.  http://academic.obec.go.th/quality(Aom)/article/supavadee.doc
ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 . พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.
รุ่ง  แก้วแดง. ประกันคุณภาพการศึกษา ทุกคนทำได้ ไม่ยาก กรุงเทพมหานคร  สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิช จำกัด 2544
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา  สพฐ. http://academic.obec.go.th/document/check_school.doc.
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. เอกสารชุดแนวทางปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา : การประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน. 2542.
Murgatroyd, Stephen and Morgan, Colin. Total Quality Management and the School. Buckingham: Open University Press, 1994.
http://www.academic.chula.ac.th/
http://www.snamcn.lib.su.ac.th/larn/
http://www.sut.ac.th/sutqa/news-qa-47-1.htm/
 
หมายเลขบันทึก: 343366เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท