Journey in America: Chapter 10 University, Outside-In


ผมไม่ทราบหรอกว่าปริญญาโทที่เมืองไทยเขาเรียนกันยังไง แต่ที่ที่ผมเรียนนี่มันก็ถือว่าไม่ยากเท่าไหร่ เปิดมาวันแรกคุณก็ได้ลิสต์หนังสือ 4 5 เล่ม และ course outline ที่เขาจะบอกว่าวันไหนคุณต้องอ่านอะไรมาล่วงหน้า และต้องส่งงานอะไร พอถึงเวลาในห้องก็ไม่พูดพร่ำทำเพลง เขาก็จะเก็บงานทันที และถามดื้อๆเลยว่าคิดยังไงกับสิ่งที่เราอ่านมา

          ถ้าพูดถึง มหาวิทยาลัยในประเทศไทยปัจจุบัน ผมว่ามันแปลกไปเยอะกว่าแต่ก่อน ถึงแม้มหาวิทยาลัยยังคงเป็นศูนย์รวมความรู้อันมหาศาล และประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของตัวอย่างที่ทุกคนต้องขนลุก เมื่อได้ยินในวันแรกพบ แต่หลายอย่างก็รุกล้ำเข้ามาในรั้วแห่งนี้ บางทีมันก็กลายเป็นเวทีแฟชั่น บางทีก็กลายเป็นตลาดนัด บางทีก็กลายเป็นสังคมที่มีชนชั้น มีคนหิ้วหลุยส์ มีคนหิ้วย่ามชาวเขา มีการแบ่งชนชั้นด้วยฐานะและที่มา ไม่ต่างจากสังคมนอกรั้วแต่อย่างใด

 

          อย่าว่าอย่างโน้นอย่างนี้เลย ผมว่ามหาวิทยาลัยในปัจจุบันไม่ได้ทำให้คนฉลาดขึ้นในสังคมซักเท่าไหร่ นอกเหนือจากองค์ความรู้ที่บรรจุในหลักสูตรวิชา นักศึกษาส่วนใหญ่ก็ยังตกเป็นทาสสิ่งของ ทาสวัตถุ คำว่าปัญญาชนถูกใช้เรียกเทิดทูนนักศึกษากันมานาน แต่ก่อนก็ใช่ล่ะ จบมหาวิทยาลัยนี่คุณก็เก่ง ถือว่าโคตรเท่ ยิ่งจบจากมหาวิทยาลัยรัฐบาลนะ สุดยอดเลย .....แต่ปัจจุบันคนที่สามารถเรียกตัวเองว่าปัญญาชนได้นั้น มีจำนวนมหาศาล.....อะไรที่มันเยอะๆเนี่ย ความชัดเจน ความเป็นปัจเจกภาพมันก็จะลดลง.....ที่นี้หรือเราจะสรุปว่า เพราะมันเกร่อเกินไป หรือเพราะคนมันกลายเป็นบัณฑิตง่ายกันเกินไป คุณภาพของคนที่จบมหาวิทยาลัย หรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ถึงได้ลดลง กลายเป็นคนที่ถูกสื่อชักจูง ถูกหลอกถูกตีราคาจากคนบางกลุ่ม ว่าความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด.....

 

       ไม่ได้ว่าอะไรถ้านักศึกษาจะมีเงินซื้อของแบรนเนม โดยไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่ได้ว่าอะไรถ้าจะเสพย์สื่อแล้วก็มีมุมมองเหมือนคนทั่วๆ ไป ไม่ได้ว่าอะไรถ้าจะไปกินอาหารแพง กินฟาสต์ฟู้ด หรือเที่ยวไปเต้นกันที่ผับที่บาร์ เพราะผมก็เป็นแบบนั้น ผมก็ทาสสังคมคนนึง..... แต่อยากให้คนที่ผ่านรั้วมหาวิทยาลัยในยุคหลังๆ มองว่าในทุกวันนี้ เราเองก็ไม่ต่างอะไรกับชนชั้นกลางทั่วๆ ไป.....ไอคำว่าปัญญาชนมันไม่ได้เลิศเลอที่จะเอาไว้ไปยืดอกให้ใครต่อใครคารวะอีกแล้ว.....ตัวผมเองคิดว่ายากที่จะเห็นนักศึกษาที่มีความคิดต่อต้านการเมือง หรือต่อต้านสังคมอย่างในอดีต ทุกอย่างมันต้องมีการเปลี่ยนแปลง สถานศึกษาเหล่านี้ก็เหมือนกัน.....แล้วความคิดของนายทุน หรือผู้ประกอบการที่มองเด็กจบใหม่ จะเปลี่ยนไปบ้างหรือเปล่า หรืออย่างไร นั่นก็ยังเป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจ

 

          เข้าเรื่องดีกว่า 555.....จริงๆ chapter นี้ก็จะพูดถึงมหาวิทยาลัยที่ผมเรียนในอเมริกา ไม่รู้พูดอะไรมาเสียยืดยาว..... ผมไม่ทราบหรอกว่าปริญญาโทที่เมืองไทยเขาเรียนกันยังไง แต่ที่ที่ผมเรียนนี่มันก็ถือว่าไม่ยากเท่าไหร่ เปิดมาวันแรกคุณก็ได้ลิสต์หนังสือ 4 5 เล่ม และ course outline ที่เขาจะบอกว่าวันไหนคุณต้องอ่านอะไรมาล่วงหน้า และต้องส่งงานอะไร พอถึงเวลาในห้องก็ไม่พูดพร่ำทำเพลง เขาก็จะเก็บงานทันที และถามดื้อๆเลยว่าคิดยังไงกับสิ่งที่เราอ่านมา..... ที่เมืองไทยเขาจะทำแบบนี้มั๊ยไม่รู้แต่ที่นี่ แย่งกันยกมือตอบน่าดู .....ผมรู้สึกว่าชั้นเรียนที่นักเรียนอยากจะมีส่วนร่วมแบบนี้มันมีชีวิตชีวาดีนะ ตอนเรียนที่เมืองไทยพอครูถามนี่ นั่งกันหงอยเลย 555..... แต่ก็ไม่ได้บอกว่าที่นี่ผมจะเปลี่ยนไปซักเท่าไหร่ มือก็ยังหนักเหมือนเดิมยกไม่ค่อยขึ้นหรอก

 

          ชาวต่างชาติมักจะอะเมซิ่งกับสิ่งที่พวกเขาไม่รู้มาก่อน..... เวลาผมอธิบายอะไร การที่ผมเอาเรื่องที่เมืองไทยไปผสมปนเปจะทำให้พวกเขาตั้งใจฟังมากขึ้น เวลาเราพูดอะไรแล้วมีคนฟัง (นึกภาพมีคนซัก 20 คนมองหน้าเราแล้วพยักหน้าหงึกๆ) มันจะทำให้เรามั่นใจพอตัวทีเดียว ส่วนเขาจะเข้าใจที่เราพูดมั๊ย ช่างเถอะ.....อีกช่วงที่ตื่นเต้นไม่แพ้กัน ซึ่งผมก็คิดว่าฝรั่งเขาก็หนาวๆเหมือนกัน คือเวลาบรรยายหรือพรีเซนต์จบแล้วจะเป็นช่วงถามตอบ.....รักกันจริงต้องไม่ถามครับ อันนี้ฝรั่งหรือคนไทยเข้าใจเหมือนกัน..... หรือไม่ก็ถามอะไรที่มันง่ายๆ ครับ คือพยายามไม่ต้อนเราให้จนมุมนั่นแหละ .....ดีที่ทั้งอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นผมเขาก็ค่อนข้างเคารพในสิ่งที่เรานำเสนอพอสมควร คือเขาคิดว่าต้องขอบคุณที่เราที่เอาความรู้มาให้มากกว่าที่จะมาลองภูมิกัน.....และถึงแม้เราจะตอบไม่ได้ อาจารย์ก็บอกว่าอย่ากลัวที่จะพูดว่า i don't know ไม่รู้ดีกว่ามั่วอะไรที่ผิดๆ และหากมีโอกาสก็ไปหาคำตอบมาบอกเขาก็ได้ .....แต่ต้องดูด้วยล่ะครับ บางทีถามแบบน่าจะรู้แต่ไม่รู้ก็เกินไปหน่อย

 

          การเรียนในต่างประเทศมันก็คล้ายๆ กับในไทยแหละครับ ต่างกันก็แค่ภาษา และเพื่อนร่วมชั้น แต่การเคารพซึ่งกันและกัน อย่างไม่มีวัยวุฒิ ทั้งจากอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นในต่างประเทศนี่ทำให้ผมผ่อนคลายไปได้เยอะ .....อย่างไรก็ตาม บรรยากาศมาคุที่รู้สึกได้มันก็มี อย่างบางคนในห้องไม่ค่อยจะถูกคอกัน แน่นอนที่ไหนมันก็มี .....สุดท้ายย ห้องเรียนของผมก็เป็นสังคมๆ หนึ่ง ที่ผมสนุก ตื่นเต้น(เวลาทำการบ้านไม่ทัน) มากในสองปีหลังที่ผ่านมาครับ

เขียนที่ West Covina, California: September 17, 2005

คำสำคัญ (Tags): #diary
หมายเลขบันทึก: 343365เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท