โครงการเชิงรุก การศึกษาความต้องการ ความคาดหวัง ความพึงพอใจ ความเข้าใจต่อแนวคิดสุขภาพองค์รวม รวมถึงความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองของผู้ป่วยในการรับบริการทันตกรรม ในคลินิกทันตกรรมพร้อมมูล (ม.เชียงใหม่)


          คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล เป็น คลินิกสำหรับการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ภายใต้การเรียนการสอนของสาขาวิชาทันตกรรมทั่วไป ภาควิชาทันตกรรมครอบครัวและชุมชนโดยมีการให้บริการการรักษาทางทันตกรรมแบบองค์รวม  ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นตอนการรักษาและผู้ป่วยที่รอรับการรักษาของนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 และนักศึกษาทันตแพทย์ระดับประกาศนียบัตร รวมทั้งผู้ป่วยที่ต้องติดตามผลการรักษาต่อเนื่อง มีจำนวนประมาณ 500 คน ในผู้ป่วยแต่ละประเภทอาจมีความต้องการและความคาดหวังรวมถึงความเข้าใจต่อแนวคิดสุขภาพองค์รวมที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งปัจจุบันพบว่าบุคลากรที่ปฎิบัติงานอยู่ ยังเกิดปัญหาเรื่องการสื่อสารกับผู้ป่วยบ่อยครั้ง  คลินิกจึงมีความสนใจศึกษาผู้ป่วยที่มารับบริการในแต่ละประเภท เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการให้บริการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเกิดความประทับใจกับผู้มารับบริการให้มากที่สุด และคลินิกยังมีความสนใจที่จะศึกษาถึงผลของการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง ในผู้ป่วยที่ต้องติดตามผลการรักษาต่อเนื่อง เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ ไปใช้เพื่อเสนอต่อสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการพัฒนาในการเรียนการสอนต่อไปและเพื่อเป็นประโยชน์ต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยทางด้านทันตกรรมต่อไป

กิจกรรม

  1. การใช้แบบสอบถาม
  2. การวางแผนการักษาโดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมและสอดแทรกแนวคิดสุขภาพองค์รวมแก่ผู้ป่วย
  3. การตรวจผู้ป่วยในคลินิกเพื่อบันทึกค่า Bleeding Index ( BI ) , Plaque Index ( PI ),การทำ Caries Risk assessment , Oral hygiene instruction and motivation
  4. การให้การรักษาแบบทันตกรรมพร้อมมูล ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสมบูรณ์ และติดตามผลการรักษาอย่างน้อย 6 เดือน

โดยมีผู้ร่วมโครงการด้งนี้

 1. ผู้ป่วยประมาณ 250 คน
 2. นักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ประมาณ 180 คน
 3. อาจารย์ทันตแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประมาณ 18 คน
 4. ระยะเวลาในการดำเนินการ ประมาณ 3 ปี 

หมายเลขบันทึก: 343029เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 05:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โครงการการศึกษาและพัฒนารูปแบบการรักษาแบบทันตกรรมพร้อมมูล โดยนักศึกษาทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับแก้ไข

คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล เป็น คลินิกสำหรับการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ภายใต้การเรียนการสอนของสาขาวิชาทันตกรรมทั่วไป ภาควิชาทันตกรรมครอบครัวและชุมชนโดยมีการให้บริการการรักษาทางทันตกรรมแบบพร้อมมูล (Comprehensive dental care) ซึ่งการรักษาแบบทันตกรรมพร้อมมูล หมายถึงระบบการปฏิบัติงานที่ผู้ป่วยจะได้รับสิ่งต่างๆคือการวินิจฉัยอย่างสมบูรณ์ ครบถ้วน การจูงใจ และการได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกัน การมีแผนการรักษาที่ครอบคลุมในทุกๆด้าน สอดคล้องกับความประสงค์ของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยมีความเข้าใจในแผนการรักษานั้นๆด้วย กระบวนการรักษาจะต้องผสมผสานและสอดคล้องกับข้อจำกัดทางการแพทย์ สภาวะของจิตใจ ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงรักษาสภาวะของสุขภาพที่ดีให้คงอยู่ตลอดไป

เนื่องจากการฝึกปฏิบัติงานในคลินิกฯของนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ภายใต้แนวคิดในการ

รักษาทางทันตกรรมพร้อมมูลนั้น นักศึกษาจะต้องใช้ความรู้ความสามารถที่เรียนมาทั้งหมด มาประยุกต์ใช้ในการ

ดูแลรักษาผู้ป่วย ให้ออกมาเป็นแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย ทั้งนี้ผู้ป่วยเองยังมีส่วนร่วม

ในแผนการรักษาที่เกิดขึ้น โดยมีโอกาสได้ซักถามในสิ่งที่สงสัยอย่างเต็มที่ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

เลือกวิธีการรักษา ทราบถึงแผนการรักษาโดยรวม เวลาที่จะใช้ในการรักษาและค่าใช้จ่ายโดยประมาณ การให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษา นอกจากจะทำให้แผนการรักษาเป็นที่ยอมรับและได้รับ

ความร่วมมือจากผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยลดความขัดแย้งและความรุนแรงของปัญหาหากเกิดข้อผิดพลาดใดๆ ในภายหลัง เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ให้การรักษาและผู้ป่วย

ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่อยู่ในคิวเพื่อรอรับการรักษาที่คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล จำนวนประมาณ 200 คน เป็นผู้ป่วยที่รอจ่ายให้นักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกทันตกรรมพร้อมมูล จำนวนประมาณ

90 คนในรุ่นที่ 1และ รุ่นที่ 2 ปี 2553 ปัญหาประการหนึ่งที่พบในการฝึกปฏิบัติงานในคลินิกทันตกรรมพร้อมมุล

ของนักศึกษาคือ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเมื่อมารับการรักษาไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ไม่มารับการรักษาต่อเนื่องประมาณ ร้อยละ 40 ทำให้เกิดปัญหาในการวางแผนการรักษาของนักศึกษา คณะผู้วิจัยคาดว่าสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากผู้ป่วย

เหล่านี้เป็นผู้ป่วยใหม่ ซึ่งยังไม่ทราบเป้าหมาย วัตถุประสงค์และขั้นตอนโดยละเอียดของการรักษาแบบ

ทันตกรรมพร้อมมูล ซึ่งในการรักษาต้องใช้เวลาในการมารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน นอกจากนี้

ในส่วนของนักศึกษาทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาผู้ป่วยอาจไม่ทราบหรือไม่ตระหนักถึงความต้องการและความคาดหวัง

ของผู้ป่วยอย่างเพียงพอ การสื่อสารกับผู้ป่วยยังไม่ชัดเจน รวมทั้งการให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในแผนการรักษา

ยังไม่มากเพียงพอ ขาดความเข้าใจและการเอาใจใส่ต่อผู้ป่วยในระหว่างให้การรักษา ส่งผลให้ความร่วมมือของผู้ป่วย

ต่อการให้การรักษาไม่เกิดขึ้น

ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาว่าถ้าผู้ป่วยได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ขั้นตอนโดยละเอียดของการรักษาแบบทันตกรรมพร้อมมูลแล้วและ ผู้ให้การรักษาทราบความต้องการ ความ

คาดหวังของผู้ป่วย โดยนำมาใช้ประกอบการวางแผนการรักษา ให้การสื่อสารที่ชัดเจน ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม

ในการตัดสินใจในแผนการรักษา เพื่อให้ได้แผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยพิจารณาถึงบริบทโดยรวม

ของผู้ป่วย รวมทั้งเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยและเอาใจใส่ต่อผู้ป่วยอย่างเพียงพอจะนำมาซึ่งความร่วมมือในการ

มารับการรักษาของผู้ป่วยจนสำเร็จและลดปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา จนทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุดและก่อให้เกิดการทำงานอย่างมีความสุขต่อไป

กิจกรรม

1.ใช้แบบสอบถามความต้องการและความคาดหวังของผู่ป่วยก่อนเริ่มต้น

การรักษากับผู้ป่วยใหม่ที่จ่ายให้นักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6

ในรุ่นที่ 1/2553 จำนวนประมาณ 135 คน (พฤษภาคม 2553)

2. บรรยายพิเศษโดย วิทยากร เกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนการรักษา

แบบทันตกรรมพร้อมมูล ให้กับผู้ป่วยใหม่ที่จ่ายให้นักศึกษาทันตแพทย์

ชั้นปีที่ 6ในรุ่นที่ 1/2553 จำนวนประมาณ 135 คน (พฤษภาคม 2553)

3.จัดทำสื่อแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการรักษาทางทันตกรรมพร้อมมูล

รวมถึง วิธีการและขั้นตอนการรักษาแบบทันตกรรมพร้อมมูล เพื่อแจกให้กับ

ผู้ป่วยใหม่ที่จ่ายให้นักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6ในรุ่นที่ 1/2553 จำนวน

ประมาณ 135 คน (พฤษภาคม 2553)

4.ใช้แบบสอบถาม การได้รับการสนองตอบต่อความต้องการและความคาดหวัง

ของผู้ป่วยกับผู้ป่วยใหม่กลุ่มที่จ่ายให้นักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6

ในรุ่นที่ 1/2553 จำนวนประมาณ 135 คน (สิงหาคม 2553)

5. ใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความเข้าใจของผู้ป่วยต่อการรักษาแบบทันตกรรม

พร้อมมูล กับผู้ป่วยใหม่ หลังการให้การรักษาโดยนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 รุ่นที่ 1/2553

(สิงหาคม 2553)

6. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียน

การสอนของนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 รุ่นที่ 2 /2553 (สิงหาคม 2553)

7. จัดบรรยายพิเศษโดยวิทยากร เรื่อง แนวคิดทางการรักษาแบบทันตกรรม

พร้อมมูล และ Doctor – Patient relationship แก่นักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6

รุ่นที่ 2 ปี 2553 (สิงหาคม 2553)

8. ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจและการรับรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกของผู้ป่วย

หลังการให้การรักษาโดยนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 รุ่นที่ 2 ปี 2553

(สิงหาคม 2553)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท