โครงการเชิงรุก กระบวนการจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้ของนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 3 ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน (ม.อ.) ภายใต้หลักสูตรใหม่


          เนื่องจาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรตั้งแต่ ปีการศึกษา 2550 โดยในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคทางทันตแพทยศาสตร์   ได้จัดขึ้นมาเป็นรายวิชาใหม่ โดยส่วนหนึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 3 สามารถดำเนินกิจกรรมภาคสนามในการจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (ช่องปาก)ในระดับกลุ่มหรือระดับชุมชน บนพื้นฐานแนวการดำเนินงานอย่างครบวงจร (Project cycle) และมีความสามารถในการทำงานเป็นทีมได้ ซึ่งมีความแตกต่างจากหลักสูตรเก่าในลำดับและประเด็นการเรียนรู้  โดยการเปิดกว้างประเด็นการดำเนินงานที่นอกเหนือจากสุขภาพช่องปาก และมีการปรับให้เรียนรู้เร็วขึ้น 1 ปีจากแผนการเดิมที่กำหนดไว้ และมีเงื่อนไขข้อจำกัดทางด้านเวลาและงบประมาณบางส่วน ตลอดถึงความพร้อมทางด้านประสบการณ์พื้นฐานในการดำเนินงานของนักศึกษาทำให้ต้องมีกระบวนการปรับรูปแบบเพื่อให้เกิดการดำเนินงานได้เหมาะสม โดยให้นักศึกษามีส่วนในการเลือกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างหลากหลาย และนำแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพที่หลากหลายมากขึ้นนอกเหนือจากการเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้และการผสมผสานกับรายวิชาทันตกรรมชุมชนอื่นๆ ดังนั้น โครงการนี้จึงจัดทำขึ้น เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 3 สามารถดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ(ช่องปาก) ในระดับกลุ่มหรือระดับชุมชนได้ และเพื่อศึกษาถึงการเรียนรู้ของนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 3 ที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (ช่องปาก) ตลอดถึงประเมินถึงความเหมาะสมในกระบวนการจัดการเรียนรู้ในส่วนของกิจกรรมภาคสนามนี้ เพื่อจะได้ปรับปรุงรายวิชา เพื่อให้การดำเนินการในส่วนของการฝึกภาคสนามเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรม

  1. ชี้แจงทำความเข้าใจแนวคิด แนวทางการจัดการเรียนรู้ของรายวิชาให้กับนักศึกษาฯ และจัดนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย (10 คน) ภายใต้การดูแลของอาจารย์
  2. จัดกระบวนการเรียนรู้หลักตามรายวิชาและเพิ่มเติม บูรณาการกับรายวิชาต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาทันตแพทย์สามารถดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (ช่องปาก)ในระดับกลุ่มหรือระดับชุมชนได้ อาทิ การฝึกทักษะการเข้าถึงชุมชน การศึกษาชุมชน การทำงานแบบมีส่วนร่วม  การบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับรายวิชา Epidemiology in Oral Health และสถิติ
  3. นักศึกษาเลือกกลุ่มเป้าหมาย เป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ (ช่องปาก) และกำหนดแนวทางการดำเนินงาน
  4. นักศึกษาดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (ช่องปาก)ในระดับกลุ่มหรือระดับชุมชน จำนวน 9 ครั้ง
  5. นักศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายหลังการดำเนินกิจกรรม และสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ รวมถึงการวิเคราะห์ตนเองในการดำเนินงานและแนวทางการพัฒนาตนเอง เป็นระยะ
  6. นักศึกษาแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่ม
  7. นักศึกษาจัดทำรายงานการฝึกปฏิบัติการภาคสนาม ในโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (ช่องปาก)
  8. ประเมินกระบวนการจัดการเรียนรู้  โดยการใช้แบบสอบถามร่วมกับการจัดทำสนทนากลุ่ม การประชุมร่วม
  9. วิเคราะห์สิ่งที่นักศึกษาเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ข้อเสนอแนะ เพื่อใช้ในการปรับปรุงต่อไป
หมายเลขบันทึก: 343018เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โครงการเชิงรุก กระบวนการจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้ของนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 3 ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน (ม.อ.) ภายใต้หลักสูตรใหม่ ฉบับแก้ไข

เนื่องจาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรตั้งแต่ ปีการศึกษา 2550 โดยในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคทางทันตแพทยศาสตร์ ได้จัดขึ้นมาเป็นรายวิชาใหม่ โดยส่วนหนึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 3 สามารถดำเนินกิจกรรมภาคสนามในการจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (ช่องปาก)ในระดับกลุ่มหรือระดับชุมชน บนพื้นฐานแนวการดำเนินงานอย่างครบวงจร (Project cycle) และมีความสามารถในการทำงานเป็นทีมได้ ซึ่งมีความแตกต่างจากหลักสูตรเก่าในลำดับและประเด็นการเรียนรู้ โดยการเปิดกว้างประเด็นการดำเนินงานที่นอกเหนือจากสุขภาพช่องปาก และมีการปรับให้เรียนรู้เร็วขึ้น 1 ปีจากแผนการเดิมที่กำหนดไว้ และมีเงื่อนไขข้อจำกัดทางด้านเวลาและงบประมาณบางส่วน ตลอดถึงความพร้อมทางด้านประสบการณ์พื้นฐานในการดำเนินงานของนักศึกษาทำให้ต้องมีกระบวนการปรับรูปแบบเพื่อให้เกิดการดำเนินงานได้เหมาะสม โดยให้นักศึกษามีส่วนในการเลือกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างหลากหลาย และนำแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพที่หลากหลายมากขึ้นนอกเหนือจากการเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้และการผสมผสานกับรายวิชาทันตกรรมชุมชนอื่นๆ ดังนั้น โครงการนี้จึงจัดทำขึ้น เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 3 สามารถดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ(ช่องปาก) ในระดับกลุ่มหรือระดับชุมชนได้ และเพื่อศึกษาถึงการเรียนรู้ของนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 3 ที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (ช่องปาก) ตลอดถึงประเมินถึงความเหมาะสมในกระบวนการจัดการเรียนรู้ในส่วนของกิจกรรมภาคสนามนี้ เพื่อจะได้ปรับปรุงรายวิชา เพื่อให้การดำเนินการในส่วนของการฝึกภาคสนามเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรม

กิจกรรม (ตามลำดับก่อนหลัง)

1. ช่วงเตรียมการเบื้องต้น พฤศจิกายน 2552 - ธันวาคม 2553

• อาจารย์ชี้แจงทำความเข้าใจแนวคิด แนวทางการจัดการเรียนรู้

ของรายวิชาให้กับนักศึกษาฯ และจัดนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย (10 คน)

ภายใต้การดูแลของอาจารย์

• จัดกระบวนการเรียนรู้หลักตามรายวิชาและเพิ่มเติม บูรณาการกับ

รายวิชาต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาทันตแพทย์สามารถดำเนินโครงการสร้าง

เสริมสุขภาพ (ช่องปาก)ในระดับกลุ่มหรือระดับชุมชนได้ อาทิ การฝึก

ทักษะการเข้าถึงชุมชน การศึกษาชุมชน การทำงานแบบมีส่วนร่วม

การบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับรายวิชา Epidemiology in Oral Health

และสถิติ

2. ช่วงดำเนินการ ธันวาคม 2552- กุมภาพันธ์ 2553

• นักศึกษาเลือกกลุ่มเป้าหมาย เป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมการสร้าง

เสริมสุขภาพ (ช่องปาก) และกำหนดแนวทางการดำเนินงาน

• นักศึกษาดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ(ช่องปาก)ในระดับกลุ่ม

หรือระดับชุมชน จำนวน 9 ครั้ง

• นักศึกษาจัดทำรายงานการฝึกปฏิบัติการภาคสนาม ในโครงการ

สร้างเสริมสุขภาพ (ช่องปาก)

3. การถอดบทเรียน กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2553

1.) นักศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายหลังการดำเนินกิจกรรม และสะท้อน

สิ่งที่เรียนรู้ รวมถึงการวิเคราะห์ตนเองในการดำเนินงานและแนวทาง

การพัฒนาตนเอง เป็นระยะ

2.) นักศึกษาแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่ม

3.) ประเมินกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยการใช้แบบสอบถามร่วมกับ

การจัดทำสนทนากลุ่ม การประชุมร่วม

4.) วิเคราะห์สิ่งที่นักศึกษาเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ข้อเสนอแนะ

เพื่อใช้ในการปรับปรุงต่อไป

4. จัดทำรายงาน ส่งเครือข่ายโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข เมษายน 2553

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท