ด.ญ. ธิสรา ชินเณหันหา


ประวัติบั้งไฟพญานาค
 

บั้งไฟพญานาค

      "บั้งไฟพญานาค" เป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง ที่ลูกไฟแดงอมชมพูพุ่งขึ้นจากแม่น้ำสู่ท้องฟ้าในวันออกพรรษา หรือขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 บริเวณจังหวัดหนองคายและนครพนม มีความเชื่อตามตำนานพระพุทธศาสนาว่า ครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา 3 เดือนในช่วงเข้าพรรษา

 


          เมื่อเสด็จกลับโลกมนุษย์พญานาคจึงฉลองสมโภชด้วยการจุดบั้งไฟถวายเป็นพุทธบูชา เพื่ออธิบายที่มาลูกไฟที่พุ่งขึ้นจากผิวน้ำ ที่เรียกกันว่า "บั้งไฟพญานาค" ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคยังไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่มีทฤษฎีและข้อสมมติฐานทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่หลายทฤษฎี เช่น

 


          น.พ.มนัส กนกศิลป์ แห่งโรงพยาบาลหนองคาย วิจัยเมื่อปี พ.ศ.2536-2541 อธิบายว่าบั้งไฟพญานาคเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เมื่อก๊าซร้อนคือก๊าซที่มีส่วนผสมของก๊าซมีเทนและก๊าซไนโตรเจน ระเบิดจากหล่มอินทรียวัตถุใต้ท้องน้ำหรือในดินที่เปียก โดยมีแบคทีเรียกลุ่มมีเทนฟอร์มเมอร์ซึ่งดำรงชีวิตได้ในสภาพไร้ออกซิเจน ณ ความลึกของแม่น้ำโขงและแหล่งน้ำข้างเคียง เป็นตัวช่วยผลิตก๊าซ

 


          ความเป็นกรดและด่างของน้ำในแม่น้ำโขง ก็สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ที่จะเกิดการหมักก๊าซมีเทน หลังจากนั้นจะได้ก๊าชมีเทนในปริมาณมากพอที่จะก่อให้เกิดความดันก๊าชในผิวทรายอย่างน้อย 1.45 เท่าของความดันบรรยากาศ

 


          เมื่อพบกับความกดดันของน้ำ ความกดดันของอากาศในตอนพลบค่ำ หล่มทรายจะไม่สามารถรับแรงดันได้ ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ และมีการฟุ้งกระจายไปบางส่วน เหลือแกนในของก๊าซซึ่งลอยตัวขึ้นสูง

 


          เมื่อกระทบกับอนุภาพออกซิเจนอะตอมที่มีประจุ มีพลังงานสูง จะเกิดการสันดาปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นดวงไฟหลายสี แต่ร้อยละ 95 จะเป็นดวงไฟสีแดงอำพัน พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วหายไป และทุกตำแหน่งที่เกิดบั้งไฟพญานาคจะอยู่ในระดับ 5-13 เมตรทั้งสิ้น

 


          ส่วนคำถามที่ว่าทำไมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคถึงเกิดขึ้นในคืนวันออกพรรษา

 


          น.พ.มนัส บอกว่า ในคืนดังกล่าวจะมีออกซิเจน ก๊าซที่ช่วยให้ติดไฟสูงสุดในรอบปี อันเกิดจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงพลังงานรังสีของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลก

 

หมายเลขบันทึก: 342873เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2010 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท