แบบทดสอบ ข้อ 2


บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีในการจัดการศึกษา

การจัดการศึกษา มีความมุ่งหมายที่สำคัญคือ การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยในการศึกษานั้นต้องเปิดโอกาสให้สามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างหลากหลายตามแต่ศักยภาพของบุคคล  ซึ่งระบบการศึกษาในประเทศไทยได้ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2545 หมวด 3 เรื่องระบบการศึกษา และ มาตรา 15 ความว่า การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  การจัดการศึกษาให้บรรลุอุดมการณ์ทาง การศึกษาตามนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐที่ต้องจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคน หรือที่เรียกว่า การศึกษาเพื่อปวงชนทุกคน ( Education  for  all ) โดยต้องอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยการจัดการศึกษาไม่ว่าเป็นเทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศ     เทคโนโลยีทางด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีทางด้านโทรคมนาคม ซึ่งเป็นประโยชน์ในด้านการจัดการศึกษาทั้งสิ้น

บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีในการจัดการศึกษานั้น พอจะสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้
1.  การจัดการศึกษาในระบบการศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน  ปัจจุบันสถานศึกษาแทบทุกแห่งมีการนำเอาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนไม่ว่าจะเป็น วิทยุ  โทรทัศน์  และอื่นๆมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีบทบาททั้งเป็นแหล่งข้อมูล  ข่าวสาร  บางแห่งใช้การถ่ายทอดรายการการศึกษาเป็นสื่อในการประชุมอบรมครูผู้สอน  ตลอดจนเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการ ได้เป็นอย่างดี  จึงสามารถกล่าวได้ว่าการศึกษาในระบบไม่สามารถขาดเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนได้  เพราะเทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ มีกรอบการเรียนที่ชัดเจนนักเรียน นักศึกษาต้องเข้าเรียนตามเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ โดยครูจะนำเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมเข้ามาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน ทำให้การเรียนการสอนในระบบเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

2.  การจัดการศึกษานอกระบบ  เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนนอกระบบ คือการเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่ม หรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและโอกาสของผู้เรียนที่จะอำนวย การเรียนการสอนประเภทนี้ ผู้สร้างหลักสูตรจำเป็นต้องคัดเลือกเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมมาช่วยสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นสื่ออุปกรณ์ ซึ่งได้แก่ดาวเทียม โทรทัศน์เพื่อการศึกษา วิทยุเพื่อการศึกษา สื่อวัสดุ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ หรือแม้กระทั่งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ครู หรือ ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบ จะกำหนดขึ้น  นอกจากนั้นแล้วยิ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านรายการสอนทางวิทยุ  โทรทัศน์ โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนหรือที่ศูนย์การเรียน  ช่วยให้ประหยัดเวลา  ประหยัดงบประมาณในการจัดการศึกษา

3.  การศึกษาตามอัธยาศัยนั้นนับเป็นการศึกษาที่มีความสำคัญไม่แพ้กันและ ยิ่งจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีมากขึ้น  เพราะเป็นแหล่งความรู้ และข้อมูลข่าวสารที่ฉับไวและทันสมัยอยู่เสมอ  อีกทั้งสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา  ตลอดชีวิต ตามความต้องการของผู้เรียน ตรงตามความใน มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  และฉบับปรับปรุง  พ.ศ. 2545 ที่กล่าวว่า  ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวง หาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

แหล่งอ้างอิง

 http://www.thainame.net/weblampang/sutat101/index4.htm

คำสำคัญ (Tags): #การจัดการ
หมายเลขบันทึก: 342224เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2010 02:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท