แบบทดสอบ ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมาย


เทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่มีบทบาทต่อการช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิต 

      1.   เทคโนโลยีสมัยมัยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา   ในระบบ   นอกระบบ  และตามอัธยาศัย   อย่างไรและจะช่วยยกระดับการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคนได้อย่างไร      

         ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัด  เนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดและทวีความสำคัญมากขึ้น  การศึกษาจึงมิใช่จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียนหรือในโรงเรียน แต่การศึกษาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มนุษย์ทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้ทุกเรื่อง   เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ได้เช่น การที่นักเรียนเรียนรู้ได้ช้า สามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียน สื่อ ซีดีรอม เพื่อตามให้ทันเพื่อนนักเรียน ในขณะที่นักเรียนที่รับข้อมูลได้ปกติ สามารถเพิ่มศักยภาพในการ "เรียนรู้ด้วยตัวเอง" ได้มากขึ้นจากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

               นอกจากนี้ผลจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยลดความเลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของผู้เรียนให้มีความเท่าเทียมกันทางสังคม  เช่น ระบบการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม  ที่ทำให้โรงเรียนห่างไกลในชนบทได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้เท่าเทียมกับชุมชนเมืองนั่นเอง

                 ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านการเรียนการสอน  โดยการจัดการศึกษาทางไกล  เพื่อให้บริการการศึกษาทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และผู้อยู่ห่างไกล รวมถึงการใช้สื่ออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ทำให้มีการพัฒนาการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง  โดยรูปแบบการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา เช่น การเรียนแบบ e-Learnning, คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI), การเรียนออนไลน์(Online Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมการเรียนจากวีดิทัศน์ตามอัธยาศัย เป็นต้น   และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยยกระดับการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคนด้วย

บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การจัดการศึกษาทั้งในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัยบรรลุอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิต

             เทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ   ซึ่งไม่ว่าเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน  เทคโนโลยีโทรมนาคม  และเทคโนโลยีสารสนเทศ  กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน   นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา   พาณิชยกรรม   เกษตรกรรม   อุตสาหกรรม สาธารณสุข   การวิจัยและพัฒนา   ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ อันที่จริงแล้วจะเห็นว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่มีผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น ๆ    มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

         บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย     สามารถสรุปได้ดังนี้

1.   บทบาทในฐานะองค์ความรู้   เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ของการศึกษาทุกระบบ

2.   บทบาทในฐานะเครื่องมือทางวิชาการ   เช่น เป็นสื่อต่าง   ๆ ของการเรียนรู้

3.   บทบาทในฐานะเครื่องมือบริการทางวิชาการ ช่วยเผยแพร่ความรู้ให้นักเรียน   ประชาชน  ไม่ว่าจะอยู่ในระบบการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย

4.   บทบาทในฐานะทรัพยากรสนับสนุนการเรียน   เป็นสิ่งอำนวยต่อการเรียนรู้   เช่นข้อสนเทศ/ข่าวสาร บุคคล   วัสดุ   เทคนิค  และอาคารสถานที่

5.   บทบาทในฐานะเครื่องมือพัฒนาบุคลากร

6.   บทบาทในฐานะเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้   เช่น   จัดหาเครื่องมือกระตุ้นการเรียนรู้  สร้างชุมชนวิชาการ นำหลักสูตรซึ่งตั้งพื้นฐานที่เร้าใจ  เป็นต้น

7.   บทบาทในฐานะสนับสนุนการสอน  เช่น  การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรูปแบบของการปฏิบัติ

 

ช่วยยกระดับการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคนได้ดังนี้

               การศึกษาเป็นกิจกรรมสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์  ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย  การจัดการศึกษามีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในแต่ละยุคแต่ละสมัยและเกิดเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างต่อเนื่อง   ในปัจจุบันการจัดการศึกษาทุกระบบต่างให้ความสำคัญของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เทคโนโลยีสารสนเทศคมนาคม  เพื่อใช้ในจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน   เช่น  การนำคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการศึกษาหาความรู้  ห้องสมุดอีเลกทรอนิกส์  กราฟิก  เครื่องฉาย  เครื่องเสียง  ภาพยนตร์  วีดีโอ  โทรทัศน์เพื่อการศึกษา  วิทยุกระจายเสียง  โทรศัพท์   ดาวเทียม   สิ่งพิมพ์ต่าง  ๆ  เป็นต้น  ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้การจัดศึกษาทุกระบบและการเรียนรู้ของมนุษย์บรรลุผลตามอุดมการณ์ได้ตลอดชีวิต

เอกสารอ้างอิง  

  1. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :  จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด, 254

 2. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เทคนิคการประชุมระดมความคิดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก. กรุงเทพฯ : อัดสำเนา 5 หน้า, 2548

3.  htt://ednet.nstru.ac.th/drprakob

4.htt://gotoknow.org/blog/amaritlaa/167869 

หมายเลขบันทึก: 342201เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท