การศึกษานอกระบบ


ถ้าล้มระบบโรงเรียนแล้วจะมีอะไรแทน

ถ้าล้มระบบโรงเรียนแล้วจะมีอะไรแทน

แนวคิดของอิวาน อิงลิช เกี่ยวกับระบบโรงเรียน อิวาน อิงลิชเห็นว่าระบบโรงเรียนราคาแพง แต่ไม่คุ้มค่า เพราะแทนที่โรงเรียนจะสอนวิทยาการให้แก่ศิษย์มีประสิทธิภาพกลับเป็นว่าศิษย์อาจจะเรียนจากแหล่งวิชาอื่นๆได้ผลดีเท่ากันหรือได้ผลดีกว่าโดยใช้เงินน้อยกว่าใช้เวลาน้อยกว่า  การที่ทำให้คนต้องพึ่งสถาบันการศึกษาเพื่อรับแต่ประกาศนียบัตรฉบับเดียวเพื่อเป็นบันไดสู่ความยิ่งใหญ่ในชีวิตและเป็นผลทำให้คนตกเป็นทาสของสถาบันขาดอิสระที่จะเลือก ทำให้คนจนขาดโอกาส  ระบบโรงเรียนไม่ว่าในระบบการปกครองใดๆมีแต่ความ ไม่ได้เรื่องเหมือนกันทั้งสิ้น

          อิงลิชกล่าวว่า “เราคิดกันว่า  โรงเรียนขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจถ้าเราเปลี่ยนรูปแบบทางการเมืองเปลี่ยนกรรมสิทธิ์เอกชนเป็นกรรมสิทธิ์รวม  เราคิดว่าระบบโรงเรียนคงเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยแต่สถาบันการศึกษาหาได้ขึ้นอยู่กับลัทธิการปกครองหรทอเศรษฐกิจแต่อย่างใด ไม่ว่าจะระบบการปกคราองใดโรงเรียนคงมีโครงสร้างเดียวกัน  และหลักสูตรที่ซ่อนเร้นอยู่คงให้ผลอย่างเดียวกันหลักสูที่ทำให้คนเชื่อว่าระบอบอมาตยาธิปไตยที่นำทางด้วยความรู้วิทยาศาสตร์เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและเกื้อการุณทำให้เชื่อว่าการเพิ่มผลผลิตจะทำให้คนมีชีวิตที่ดีขึ้นทำให้คนบริโภคมากผลิตน้อยทำให้คนพึ่งสถาบันอยู่ร่ำไป”

                อิวาน อิงลิชกล่าวว่า  ระบบการศึกษาที่ดีควรมีความมุ่งหมาย ๓ ประการ

๑.      ควรจะหาทางที่คนที่ประสงค์จะเรียนมีที่เรียนได้ไม่ว่าเมื่อใดระยะใดในชีวิตของเขาไม่จำกัดว่าคนจะเรียนได้ต้องเป็นเด็กและอายุระหว่างเท่านั้นเท่านี้ปี

๒.    ควรจะช่วยคนที่ประสงค์จะแบ่งปันความรู้แก่ผู้อื่น  ได้มีโอกาสพบปะกับผู้ที่ประสงค์จะแสวงหาความรู้ ซึ่งคนที่มีความรู้ไม่ได้หมายถึงคนที่มีใบประกาศนียบัตรแต่หมายถึงบุคคลใดๆก็ได้ที่ฝึกฝนตนจนมีความเจนจัดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

๓.    ให้โอกาสแก่ผู้ที่ประสงค์จะเสนอข้อคิดเห็นของตนแก่สาธารณะให้มีทางที่จะกระทำได้

อิวาน  อิงลิชกล่าวว่า โรงเรียนก่อตั้งขึ้นมาโดยเสแสร้ง  ทุกอย่างเป็นเรื่องเร้นลับคนจะเจริญขึ้นได้โดย

การรู้จักความลับที่ว่านั้น  ความลับเหล่านี้จะเรียนก็ต่อเมื่อมีการลำดับอย่างเป็นระเบียบและครูเท่านั้นที่เป็นผู้เปิดเผยความลับโรงเรียนจึงกลายเป็นสิ่งที่หน่วงเหนี่ยวความเจริญหรือวิทยาการ  ดังนี้อิงลิชให้ข้อเสนอแนะว่าสิ่งที่จะเข้ามาแทนที่หากล้มระบบโรงเรียนปรกติคือ

๑.      บริการอ้างอิงสิ่งที่ให้ความรู้ (Reference Services to Educational Objects)

คนเราอาจได้รับความรู้จากสิ่งที่อยู่โดยรอบ เช่น เครื่องยนต์  ไฟฟ้า  นาฬิกา  วิทยุ  โทรทัศน์ โรงสี

ฯลฯ อิวาน อิงลิชมองว่าสิ่งอันเป็นแหล่งความรู้เหล่านี้ ถูกยึดครองโดยโรงเรียนนักเรียนเข้าถึงความรู้เหล่านี้ได้อยาก หากต้องการล้มระบบโรงเรียนเราต้องทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามนั้นก็คือทำอย่างไรให้เด็กเข้าถึงความรู้ได้ง่ายและเข้าถึงบุคคลโดยทั่วไปและต้องเป็นลักษณะที่จะช่วยให้คนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและแหล่งที่เก็บและให้บริการวัตถุทางการศึกษาไม่จำเป็นต้องเป็นโรงเรียน  อาจจะเป็นร้านเครื่องมือ  ห้องสมุดห้องทดลอง  ห้องเล่นเกม ห้องถ่ายรูป พิพิธภัณพ์ ฯลฯ เพราะบุคคลที่ดูแลรับผิดชอบสิ่งเหล่านี้จะสามารถให้ความรู้ได้ลึกซึ้งและดูแลสิ่งของเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น อิงลิชมองว่า การเล่นเกมก็สามารถแสวงหาความรู้ได้และเป็นเรื่องที่น่าเพลิดเพลิน

๒.    การแลกเปลี่ยนทักษะ (Skill Exchange)

“ตัวแบบทักษะ”(Skill Model) หมายถึงบุคคลที่มีทักษะและบุคคลที่เต็มใจที่จะแสดงให้

ปรากฏออกมา  อิวาน อิงลิช มองว่าปัจจุบันเราขาดแคลนตัวแบบทักษะเพราะ “ประกาศนียบัตร”ซึ่งเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะคนมีความเชื่อและให้ความสำคัญกับประกาศนียบัตรมากกว่าความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้นๆ

ดังนั้นวิธีที่จะชวนให้คนเข้ามาเป็นครูสอนทักษะอาจจะทำโดยการเปิดศูนย์ทักษะขึ้นให้บริการแก่คนทั่วไปอีกวิธีหนึ่งคือการสร้างธนาคารสำหรับการแลกเปลี่ยนทักษะขึ้นเพื่อบริการแก่ประชาชนทุกคนที่แสวงหาทักษะพื้นฐานเมื่อพ้นทักษะขั้นพื้นฐานไปแล้วเขาจะแสวงหาความรู้ขั้นสูงขึ้นต่อไปก็ได้แต่ต้องทำการสอนเป็นค่าตอบแทนโดยการจัดสอนในศูนย์ทักษะหรือจัดสอนเองที่บ้านเพื่อให้บุคคลที่มีความประสงค์จะเล่าเรียนมีโอกาสได้เล่าเรียนบ้าง  ซึ่งจะทำให้มีการแสวงหาความรู้และถ่ายทอดความรู้แบบไม่มีที่สิ้นสุดจากแนวคิดนี้ทำให้โรงเรียนไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพราะคนในสังคมมีหน้าที่รับรู้และถ่ายทอดความรู้ 

๓.    การจัดคู่ผู้ที่มีความสนใจอย่างเดียวกัน (Peer Matching)

ส่งข้อมูลตนเองไปที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และศูนย์จะเป็นตัวประสานและส่งข้อมูลผู้ที่ต้องการจะติดต่อกลับไปให้หรืออีกวิธีหนึ่งคืออาจพิมพ์โฆษณาหรือประกาศลงหนังสือพิมพ์ โดย อิวาน  อิงลิชมองว่า การจัดคู่ผู้ที่มีความสนใจเหมือนกันนับว่าเป็นการจัดการศึกษานอกแบบ (Nonformal Education) โดยอิวานมีความเชื่อว่าการที่คนเรามีโอกาศได้พบปะและแลกเปลี่ยนกันยิ่งช่วยให้เกิดอิสระเสรีมากขึ้นทางการเมือง

๔.    บริการอ้างอิงเกี่ยวกับผู้ให้ความรู้ (Reference Services to Education-At-Large)

ผู้ให้ความรู้ในที่นี้คือครูบาอาจารย์ หรือนักการศึกษาโดยอาชีพนั่นเอง  โดยครูบาอาจารย์ในความคิดของอีวาน  อิงลิช  จะต้องเป็นผู้ที่เปิดโอกาสให้เด็กมีแนวทางการศึกษาของตัวเอง  เด็กจะมาขอคำแนะนำจากครูเป็นครั้งคราวครูจะช่วยแนะนำให้รู้จักตั้งความมุ่งหมายเข้าใจความยากลำบากที่จะประสบ  รู้จักเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง  ดังนั้นจากแนวคิดนี้พอจะสรุปได้ว่า ครูคือผู้ชี้ช่องทาง  หน้าที่สอนเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ

 

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 342064เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท