บทความทางวิชาการ


บทความทางวิชาการ

เรื่องระบบสารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

                ระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาสถานศึกษาประกอบด้วย

1.ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

2.ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน

3.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ

4.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

                สถานศึกษาที่มีระบบสารสนเทศที่มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ครบถ้วน จะช่วยให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

เพราะสารสนเทศทั้งหลายนอกจากจะใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและประกอบการตัดสินใจแล้ว ยังนำไปสู่การพัฒนาแนวความคิดและสร้างทางเลือกใหม่ๆ  ในการดำเนินการต่างๆ ได้

                ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ในด้านต่างๆ ทั้ง 4 ด้าน มีตัวอย่างการรายงานที่นำมาใช้  และประกอบด้วยข้อมูลที่ต้องการใช้ พร้อมทั้งการนำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างไร  จะยกตัวอย่างด้านละ 1 ตัวอย่าง ดังนี้

1.ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

                1.1.ตัวอย่างรายงานในระบบสารสนเทศ ไดแก่

- ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษาฯ

1.2.ข้อมูลที่ต้องการใช้ ได้แก่

- ประวัติ ที่ตั้ง ขนาดของสถานศึกษา จำนวนพื้นที่ ลักษณะการจัดตั้ง สถานภาพของสถานศึกษา ระดับการศึกษาที่เปิดสอน จำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้น จำนวนครู จำนวนบุคลากร จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ความสามารถพิเศษ ระดับการศึกษาที่เปิดสอน จำนวนห้องเรียน จำนวนห้องปฏิบัติการ อัตราการย้ายเข้า-ออกของนักเรียน

-ความเชื่อ ปรัชญา คำขวัญ คติพจน์ของสถานศึกษา

1.3.การนำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาได้ดังนี้

-การวางแผนกลยุทธ์

-แผนการจัดชั้นเรียน

-วางแผนการตั้งอัตรากำลังของบุคลากร

-แผนปฏิบัติงานวิชาการฯ

2.ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน

                เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด

                2.1.ตัวอย่างรายงานในระบบสารสนเทศ คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ประกอบด้วย ระดับค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละกลุ่มวิชาแยกตามชั้นเรียนต่อช่วงชั้น

                2.2.ข้อมูลที่ต้องการในระบบสารสนเทศ ได้แก่

                                -จำนวนผู้เรียนทั้งหมดที่สอบผ่านแต่ละกลุ่มวิชาแยกตามชั้นเรียนต่อช่วงชั้น

                                -คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มวิชาแต่ละชั้นเรียนต่อช่วงชั้น

                                -จำนวนผู้เรียนทั้งหมดต่อช่วงชั้น

                2.3.การนำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีดังนี้คือ

                                -การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น

                                -การวางแผนปฏิบัติการสอน

 

3.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ

3.1.ตัวอย่างรายงานในระบบสารสนเทศ คือหลักสูตรและการเรียนการสอน ประกอบด้วย สภาพการจัดแผนการเรียนต่อชั้นเรียน ความสอดคล้องหลักสูตรกับความต้องการท้องถิ่น เทคนิคการสอนที่ครูนำมาใช้

3.2.ข้อมูลที่ต้องการ ได้แก่

                -จำนวนชั้นเรียน

                -จำนวนรายวิชาที่เปิดสอน

                -เวลาเรียนแต่ละกลุ่มวิชา

                -ผลสำรวจความต้องการของชุมชน

                -ประเภทเทคนิควิธีการสอนที่ครูนำมาใช้

                -แผนการสอนฯ

3.3.การนำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีดังนี้คือ

                                -การวางแผนการจัดชั้นเรียน

                                -การพัฒนาหลักสูตร

4.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

4.1.ตัวอย่างรายงานในระบบสารสนเทศ คือสภาพและการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ ประกอบด้วย การมาเรียนของนักเรียนในแต่ละภาคต่อปีการศึกษาจำแนกตามระดับชั้น ช่วงชั้นและรวมทั้งโรงเรียน ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการเรียนการสอนของโรงเรียน การบริการด้านสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในโรงเรียนแก่ผู้เรียน

3.2.ข้อมูลที่ต้องการ ได้แก่

                -สถิติการมาเรียนแต่ละวันของผู้เรียนแต่ละเดือนต่อภาคต่อปีการศึกษา

                -จำนวนเวลาเรียนในแต่ละเดือนต่อภาคต่อปีการศึกษา

-จำนวนผู้ปกครองที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของโรงเรียน

-จำนวนผู้เรียนมารับบริการด้านสุขภาพอนามัย

-ความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในโรงเรียน

 4.3.การนำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีดังนี้คือ

-การวางแผนปฏิบัติการสอน

                -การปรับปรุงปรูแบบการจัดการเรียนการสอน

                -การจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ฯ

               

 

บทความทางวิชาการ

เรื่องบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิต

 

บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศคงต้องมองถึงการพัฒนาทั้งระบบ

บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาทั้งในระบบ  นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ไม่ว่าเทคโนโลยีด้านการจัดการเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( E – lrarning ) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E – library ) ตลอดจนนวัตกรรมและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆและจะช่วยยกระดับการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิต

ปัจจุบันเป็นยุคของเทคโนโลยี เป็นยุคของการใช้ข่าวสารข้อมูลที่รวดเร็วถูกต้องและเที่ยงตรงอีก ดังนั้นเทคโนโลยี ไม่ว่าเทคโนโลยีด้านการจัดการเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์            ( E – lrarning ) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E – library ) ตลอดจนนวัตกรรมและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุอุดมการณ์ศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคนได้   โดยเฉพาะการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย เทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทมาก เพราะการจัดการศึกษาต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอนและผู้เรียน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเรียนได้โดยไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องเรียน  หรือว่าตำราเพียงเท่านั้น และยังช่วยเพิ่มความน่าสนใจที่จะเรียนรู้   โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยในการหาความรู้และสาระที่เป็นประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต และการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอผลงานต่าง ๆ  สามารถนำมาใช้ในการกระจายโอกาสทางการศึกษา ในการเรียนรู้ การใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การนำคอมพิวเตอร์มาประกอบในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทมากขึ้นในทุกสาขาอาชีพ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ในการใช้การสื่อสารแบบ

ไร้สาย ระบบเครือข่ายเคลื่อนที่ ระบบดาวเทียม อินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อ และสืบค้น ทำให้สะดวกและรวดเร็ว และมีความทันสมัยทันยุคทันเหตุ การณ์ ทำให้ผู้เรียนก้าวทันโลก ก้าวทันเทคโนโลยี ดังนั้นจึงนับได้ว่าการนำเทคโนโลยี  มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาในปัจจุบันทั้ง ในระบบ นอกระบบ และสำคัญที่สุดในการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

               การจัดการศึกษาในระบบการศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน  ปัจจุบันสถานศึกษาแทบทุกแห่งมีการนำเอาเทคโนโลยี  ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ  โทรทัศน์  และอื่นๆมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีบทบาททั้งเป็นแหล่งข้อมูล  ข่าวสาร  บางแห่งใช้การถ่ายทอดรายการการศึกษาเป็นสื่อในการประชุมอบรมครูผู้สอน  ตลอดจนเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการ ได้เป็นอย่างดี 

การจัดการศึกษานอกระบบ  ยิ่งจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี  เพราะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องอาศัยสื่อต่างๆมากกว่า  ทั้งสื่อโทรทัศน์   วิทยุ  และอื่นๆ  ผู้เรียนอาจสามารถเรียนรู้ผ่านรายการสอนทางวิทยุ  โทรทัศน์ โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนหรือที่ศูนย์การเรียน  ช่วยให้ประหยัดเวลา  ประหยัดงบประมาณในการจัดการศึกษา

ความสำคัญต่อการศึกษานอกระบบ มีดังนี้

1) ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน เวลาว่าง

 2) ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการของตนเอง

3) ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการประกอบอาชีพได้

4) สามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน

การศึกษาตามอัธยาศัยนั้นนับเป็นการศึกษาที่มีความสำคัญไม่แพ้กันและยิ่งจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีมากขึ้น  เพราะเป็นแหล่งความรู้ และข้อมูลข่าวสารที่ฉับไวและทันสมัยอยู่เสมอ  อีกทั้งสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา  ตลอดชีวิต ตามความต้องการของผู้เรียน

ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย มีดังนี้

1)  ผู้เรียนสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีได้ทุกเพศ  ทุกวัย ตามความสนใจ

 2) ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการ

 3)  ทันสมัย

4)  สามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา

            ฉะนั้นเทคโนโลยีจึงถือว่าเป็นสิ่งที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยยกระดับการศึกษาตลอดชีวิตเพราะว่าไม่มีกรอบกำหนด เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มีอิสระและมีความหลากหลายทั้งจากอินเตอร์เน็ต วิดีโอ  สื่อ  เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ และ ทำให้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพแห่งการเรียนรู้ได้เท่าเทียมกัน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเสมอภาค ทำให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ไดทุกเพศ ทุกวัย   ทุกที่ทุกเวลา ให้เป็นคนทันต่อองค์ความรู้สมัยใหม่   จากที่กล่าวมาจึงถือได้ว่าเทคโนโลยีจะช่วยยกระดับการศึกษาให้เป็นการศึกษาตลอดชีวิต

อย่างไรก็ตามการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศคงต้องมองถึงการพัฒนาทั้งระบบ  ตั้งแต่นโยบายของประเทศ หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านการศึกษา สถานศึกษา   ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาทุก ๆ ฝ่าย ร่วมมือร่วมใจกัน

 

 

บทความทางวิชาการ

เรื่องการนำเสนอรูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม

 

การนำเสนอรูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม มีกิจกรรมดังนี้

                1.กำหนดระดับความรู้ภายในขอบเขตของสถานศึกษา เช่น ความรู้ส่วนบุคคล ความรู้ของกลุ่ม ความรู้ของสถานศึกษา ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถแยกแยะ จัดระดับความสำคัญ กำหนดรูปแบบในการจัดเก็บและค้นหา ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสม

                2.สร้างความรู้หรือได้มาซึ่งความรู้จากการทำงานของบุคลากร เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวบุคคลและถูกแปลงออกมาเป็นรูปธรรมได้

                3.รวบรวมและตีความหมายของความรู้จากสื่อที่หลากหลาย เช่น กระดาษ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ

มัลติมีเดีย

4.จัดเก็บความรู้ในสื่อต่างๆ เช่นคลังข้อมูล ฐานข้อมูล ห้องสมุด ชั้นหนังสือ  หรือในคลังสมองของบุคคลเอง

5.ประยุกต์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลจากการทำงานร่วมกัน  โดยกระทำผ่านเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กลั่นกรองกระบวนการทางความคิดร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

6.สร้างพัฒนาการและนวัตกรรมจากความรู้ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับความรู้ โดยมีการนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์อย่างเป็นรูปธรรม

หมายเลขบันทึก: 341981เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท