จาก KM (Knowledge Management) สู่ LO (Learning Organization)


การจัดการความรู้ที่ดีนอกจากจะส่งผลให้องค์กรสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาจัดระบบและใช้ประโยชน์อย่างเกิดผลคุ้มค่าแล้ว การจัดการความรู้ (Knowledge Management)  คือตัวจักรสำคัญในการนำพาองค์กรสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)  ได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะการจัดการความรู้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในห้าขององค์ประกอบที่สำคัญขององค์การแห่งการเรียนรู้

องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นองค์การที่มีความสามารถสูงต่อการรับรู้และเรียนรู้     ซึ่งหมายความว่า มีความไวในการเปิดรับ จับกระแส ของสภาพแวดล้อมขององค์การอยู่ตลอดเวลา    มีความสามารถในการรับรู้การเปลี่ยนแปลง  ทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก  และที่เป็นการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ     และเอาใจใส่ข้อมูลเหล่านั้น นำมาใช้ปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงตัวองค์การเอง

องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ 

องค์ประกอบที่  1  พลวัตการเรียนรู้  (learning  dynamics)  ซึ่งได้แก่ระดับการเรียนรู้  (level  of  learning)   รูปแบบการเรียนรู้  (types  of  learning) ทักษะในการเรียนรู้  (skills  of  organizational  learning) 

องค์ประกอบที่  2  การปรับเปลี่ยนองค์การ  (organization  transformation)  เป็นการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้เป็นวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ขององค์การที่ผู้บริหารระดับสูง ต้องให้การสนับสนุนและส่งเสริมในการพัฒนาไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ 

องค์ประกอบที่  3  การเสริมความรู้แก่สมาชิกองค์การ (people  empowerment) เป็นกระบวนการในการมอบหมายความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาโดยเน้นความสำคัญของการเพิ่มอำนาจ มิใช่การมอบหมายโดยปราศจากการแนะนำ แต่การเสริมความรู้แก่บุคคลหนึ่งนั้น 

องค์ประกอบที่  4  การจัดการความรู้  (knowledge  management) ความรู้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์การ ความรู้เป็นทรัพยากร บุคลากรต้องการความรู้เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ การจัดการความรู้ต้องประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับ  (acquired)  สร้างองค์ความรู้  (created)  จัดเก็บความรู้  (storaged)  และถ่ายโอนความรู้  (transfered)

องค์ประกอบที่  5  การใช้เทคโนโลยี  (technology  application) ทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ  (information  technology) เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้  (technology – based  learning)

                ดังนั้นหากองค์การใดสามารถดำเนินการจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดี ก็ย่อมจะก้าวสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ซึ่งความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้สำหรับโลกยุคปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเพื่อการอยู่รอดขององค์การ

หมายเลขบันทึก: 341895เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 00:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท