การจัดการความรู้ (Knowledge Management)


คำว่า “การจัดการความรู้ (Knowledge  Management)” เป็นกระบวนการของการสร้างคุณค่าจากทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ขององค์กร คือ ทุนทางปัญญา  รวมทั้งทุนมนุษย์ ทุนทางโครงสร้าง และทุนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล    ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของการจัดการความรู้ดังนี้

                      วิจารณ์  พานิช ( 2548 : 63) กล่าวว่า  การจัดการความรู้เป็นการเรียนรู้แบบใหม่ที่เรียนจากการปฏิบัติเป็นตัวนำ เป็นตัวเดินเรื่อง ไม่ใช่แค่เรียนจากครูหรือตำรา ตำรานั้นเป็นการเรียนรู้แบบเก่า ซึ่งเน้นเรียนรู้แบบเก่า และเน้นเรียนทฤษฏี ขณะที่การเรียนรู้ แบบ KM  ก็เป็นทฤษฏีแต่ว่าเน้นที่การเรียนรู้แบบปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติทำให้เกิดประสบการณ์ การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องของคนๆ เดียวเป็นเรื่องของคนหลายคนที่ทำงานร่วมกัน เพราะฉะนั้นเวลาปฏิบัติแต่ละคนจะมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน เมื่อนำมาแลกเปลี่ยนกันแล้ว อาจเห็นส่วนที่เหมือนกัน ซึ่งจะเป็นการยืนยันว่าเข้าใจตรงกันเมื่อเอาแลกเปลี่ยนกันมากๆ จะทำให้ยกระดับความรู้ความเข้าใจขึ้นไปอีกจะเห็นว่าการจัดการความรู้เราจะเน้นที่การเรียนรู้จากการปฏิบัติ แล้วก็เน้นตัวความรู้ที่เป็นความรู้ใจคนหรือที่เรียกว่า Tacit Knowledge ทั้งนี้ ความรู้จากเอกสารตำรา หรือที่เรียกว่า Explicit Knowledge นั้นก็สำคัญ เพียงแต่ว่าเรามักจะละเลยความรู้ที่อยู่ในคน

แนวทางการจัดการความรู้ เพื่อมุ่งสู่คุณภาพของสถานศึกษา
การวางแนวทางในการจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการศึกษา ของสถานศึกษา 

สามารถวางแนวทางจัดการความรู้ตามลำดับขั้นตอน ได้ดังนี้

1. การสร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความรู้ สร้างวิสัยทัศน์ความรู้ของสถานศึกษาเพื่อเป็นเข็มทิศในการจัดการความรู้ของสถานศึกษาเช่น เสาะหาความรู้ และ การประยุกต์ใช้ความรู้ในการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษา จัดเก็บความรู้อย่างมีระบบงานต่อการสืบค้นและนำมาใช้งาน

2.จัดตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ของสถานศึกษา การจัดการความรู้ต้องดำเนินการเป็นทีม และเป็นระบบทั้งหน่วยงาน ตลอดการสร้างความเข้าใจในบทบาทของสมาชิกในด้านการจัดการความรู้

3.สร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศให้บุคคลากร หรือผู้ร่วมงานสามารถหาประสบการณ์ตรงสำหรับใช้ในการทำงาน โดยการเน้นที่ความรู้จากประสบการณ์ตรง เช่น การศึกษาดูงานการอบรมสัมมนา การฝึกปฏิบัติ

4.พัฒนารูปแบบการทำงาน พัฒนารูปแบบการทำงานที่เหมาะสมและส่งเสริมคุณภาพของงาน ควบคู่ไปกับการจัดการความรู้

5. จัดโครงสร้างส่งเสริมการผสมผสานการทำงานร่วมกัน จัดโครงสร้างให้มีการสอดประสานการทำงานร่วมกัน เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ยึดหลักการกระจายอำนาจหน้าที่ของการทำงาน ให้มีความเป็นอิสระอย่างพอเพียงต่อการปฏิบัติงานเพื่อสร้างวิธีปฏิบัติที่หลากหลายเหมาะสมกับบริบทของงานในแต่ละหน่วยงานย่อย โดยมีเป้าหมายอันเดียวกัน

6.สร้างเครือข่ายความรู้ เช่น การมีระบบการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และตรวจสอบความก้าวหน้าของความรู้ในด้านต่างๆ การสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนข้อมูล

7.ระบบการตรวจสอบการทำงาน จัดให้มีระบบตรวจสอบกระบวนการทำงานภายในหน่วยงาน สถานศึกษา เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง และการปลูกฝังแนวคิดวิธีการทำงาน

หมายเลขบันทึก: 341881เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2010 23:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท