ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ


ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ

      ในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงในด้านต่าง ๆ และเป็นที่ยอมรับกันว่าข้อมูลสารสนเทศเป็นทรัพยากรที่จำเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใดได้ข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง รวดเร็วกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบ เพราะสามารถใช้สารสนเทศเหล่านั้นในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ดังนั้นข้อมูลสารสนเทศที่ดี จึงมีความสำคัญมากที่จะทำให้ผู้บริหารวางแผนงานและตัดสินใจได้ถูกต้อง  แม่นยำ  ทันกาลมากขึ้น โดยเฉพาะการวางแผนการศึกษาและการกำหนดนโยบายต้องมีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ  มีความละเอียด  ครบถ้วน  ถูกต้อง  ตรงตามความต้องการและทันสมัย  ผู้บริหารจะปฏิบัติหน้าที่การงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น  นอกจากจะอาศัยความสามารถของผู้บริหาร  ในส่วนบุคคลแล้วยังต้องอาศัยสารสนเทศมาสนับสนุนการปฏิบัติงานซึ่งยังผลให้การบริหารองค์การมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (ผ่องศรี  วาณิชย์ศุภวงศ์.        2537: 255)

       ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ

       เกรียงศักดิ์  พราวศรี  และคนอื่น ๆ  (2544 : 6 - 7) ยังได้กล่าวถึงการจัดข้อมูลหรือการมีระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพของสถานศึกษาว่าขึ้นอยู่กับลักษณะความต้องการและการเลือกสรรใช้ข้อมูลที่จำเป็น  และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและควรจะครอบคลุมองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดการศึกษา  ดังนี้

     โครงสร้างพื้นฐาน  ได้แก่  ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษาและชุมชน  อาคารเรียน  อาคารประกอบ  และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ในสถานศึกษา  เช่น  ห้องเรียน  ห้องปฏิบัติการวัสดุ  อุปกรณ์การเรียนการสอน  ห้องสมุด  ตลอดถึงแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา  เป็นต้น

    ผู้เรียนหรือนักเรียน  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสถานศึกษาการเก็บรวบรวมข้อมูลนอกจากตัวผู้เรียนแล้วยังต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับด้านภูมิหลังทางครอบครัวและชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่

   ครู – อาจารย์  การเก็บข้อมูลครูอาจารย์ในสถานศึกษา  ได้แก่  จำนวนครู  คุณวุฒิการศึกษา  ตำแหน่งหน้าที่   วิชาที่สอน  ผลงานทางวิชาการ  และผลการปฏิบัติงานของครู  และรวมถึงบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความสามารถพิเศษในด้านต่าง ๆ สามารถเป็นวิทยากร  ผู้ทรงคุณวุฒิหรือครูภูมิปัญญาไทย  เป็นต้น

   หลักสูตร  ได้แก่  ตัวหลักสูตร  แผนการสอน  คู่มือ  การพัฒนาหลักสูตรการสำรวจความต้องการของชุมชน  และการใช้ตำราเรียนของครูและนักเรียน  เป็นต้น

   กระบวนการเรียนการสอน  ได้แก่  ลักษณะของวิธีการสอน  ตารางสอน  การมีส่วนร่วมของนักเรียน  การใช้ตำราเรียน  สื่อการสอน  การประเมินผลการเรียนการสอน  การรายงานผลการเรียน  การสอนซ่อมเสริม  เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 341492เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2010 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท