ผลการประเมินสถาบันอุดมศึกษากลุ่ม 3"ม.ทักษิณ" สุดยอดงานบริการสังคม


ประเมินสถาบันอุดมศึกษากลุ่ม 3 "ม.ภาคกลาง" เจ๋งผลิตบัณฑิต "ม.ทักษิณ" สุดยอดงานบริการสังคม

ประเมินสถาบันอุดมศึกษากลุ่ม 3 "ม.ภาคกลาง" เจ๋งผลิตบัณฑิต "ม.ทักษิณ" สุดยอดงานบริการสังคม

วันที่ 25 กันยายน 2552 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) เปิดเผยถึง ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง สถาบันอุดมศึกษากลุ่ม 3 ที่เน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม จำนวน 15 แห่ง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ 9 แห่ง ประกอบด้วยส่วนราชการ 8 แห่ง อยู่ในกำกับรัฐ 1 แห่ง พร้อมทั้งมหาวิทยาลัยเอกชน 6 แห่ง โดยมีผลการประเมินดังนี้
       
       เมื่อจำแนกตาม ระดับคุณภาพ พบว่า ไม่มีสถาบันอุดมศึกษาใดมีผลการจัดการศึกษามีคุณภาพระดับดีมาก คุณภาพระดับดี มีจำนวน 15 แห่ง แบ่งเป็นในกำกับรัฐ 9 แห่ง ได้แก่ ม.ทักษิณ, ม.ราชภัฏชัยภูมิ, ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช, ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ม.ราชภัฏพระนคร, ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ม.ราชภัฏสุรินทร์, และ ม.ราชภัฏเทพสตรี ในกำกับเอกชน 6 แห่ง ได้แก่ ม.ปทุมธานี, ม.ภาคกลาง, ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ม.วงษ์ชวลิตกุล, ม.เวสเทิร์น, และ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
       
       ด้านคุณภาพบัณฑิต ระดับดีมาก ได้แก่ ม.ภาคกลาง ระดับดี มีจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ ม.ทักษิณ, ม.ปทุมธานี, ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช, ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ม.ราชภัฏเทพสตรี, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ระดับพอใช้ จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ ม.ราชภัฏชัยภูมิ, ม.ราชภัฏพระนคร, ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ม.ราชภัฏสุรินทร์, ม.วงษ์ชวลิตกุล, ม.เวสเทิร์น
       
       ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ระดับดีมาก ได้แก่ ม.ราชภัฏสุรินทร์ ระดับดี จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ม.ทักษิณ, ม.ภาคกลาง, ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ม.เวสเทิร์น ระดับพอใช้ 8 แห่ง ได้แก่ ม.ราชภัฏชัยภูมิ, ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช, ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ม.ราชภัฏพระนคร, ม.วงษ์ชวลิตกุล, ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ม.ราชภัฏเทพสตรี, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก และระดับควรปรับปรุง ได้แก่ ม.ปทุมธานี
       
       ด้านการบริการแก่สังคม ระดับดีมาก มีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ม.ทักษิณ, ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ม.ราชภัฏสุรินทร์ ระดับดี มีจำนวน ๑๒ แห่ง ได้แก่ ม.ปทุมธานี, ม.ภาคกลาง, ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ม.ราชภัฏชัยภูมิ, ม.ราชภัฏเทพสตรี, ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช, ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ม.ราชภัฏพระนคร, ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ม.วงษ์ชวลิตกุล, ม.เวสเทิร์น, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
       
       ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ระดับดีมาก มีจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ ม.ทักษิณ, ม.ภาคกลาง, ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ม.ราชภัฏชัยภูมิ, ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช, ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ม.ราชภัฏพระนคร, ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ม.ราชภัฏสุรินทร์, ม.วงษ์ชวลิตกุล ระดับดี มี 4 แห่ง ได้แก่ ม.ปทุมธานี, ม.ราชภัฏเทพสตรี, ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ม.เวสเทิร์น ระดับพอใช้ ได้แก่ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
       
       ด้านการพัฒนาสถาบันและพัฒนาบุคลากร พบว่า ไม่มีสถาบันอุดมศึกษาที่มีการพัฒนาสถาบันและพัฒนาบุคลากรในระดับดีมาก ระดับดี มีจำนวน 14 แห่ง ได้แก่ ม.ทักษิณ, ม.ปทุมธานี, ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ม.ราชภัฏชัยภูมิ,
       ม.ราชภัฏเทพสตรี, ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช, ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ม.ราชภัฏพระนคร, ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ม.ราชภัฏสุรินทร์, ม. วงษ์ชวลิตกุล, ม.เวสเทิร์น, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ระดับพอใช้ ได้แก่ ม.ภาคกลาง
       
       ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน พบว่า ไม่มีสถาบันอุดมศึกษาใดที่มีหลักสูตรและการเรียนการสอนในระดับดีมาก ระดับดี มีจำนวน 12 แห่ง ได้แก่ ม.ทักษิณ, ม.ภาคกลาง, ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ม.ราชภัฏชัยภูมิ, ม.ราชภัฏเทพสตรี, ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช, ม. ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ม.ราชภัฏสุรินทร์, ม.วงษ์ชวลิตกุล, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ระดับพอใช้ มีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ม.ปทุมธานี, ม.ราชภัฏพระนคร, ม.เวสเทิร์น
       
       ด้านการประกันคุณภาพภายใน ระดับดีมาก มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ม.ทักษิณ, ม.ราชภัฏเทพสตรี, ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ม.วงษ์ชวลิตกุล ระดับดี มีจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ ม.ภาคกลาง, ม.ราชภัฏชัยภูมิ, ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช, ม.ราชภัฏพระนคร, ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ม.ราชภัฏสุรินทร์, ม.เวสเทิร์น, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ระดับพอใช้ ได้แก่ ม.ปทุมธานี ระดับควรปรับปรุง ได้แก่ ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
       

 

 


       สำหรับผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองของสถาบันอุดมศึกษา กลุ่ม 2 ที่เน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคม ที่มีผลประเมินดีมากระดับกลุ่มสาขาวิชา มีดังนี้
       
       กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เภสัชศาสตร์ สหเวชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์การกีฬา พลศึกษาและสุขศึกษา มีคุณภาพระดับดีมาก จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.สุพรรณบุรี, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จ.จันทบุรี
       
       กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีสารสนเทศ มีคุณภาพระดับดีมาก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ม.กรุงเทพ, ม.วลัยลักษณ์,ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
       
       กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ คุณภาพระดับดีมาก คือ ม.กรุงเทพ
       
       กลุ่มสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คุณภาพระดับดีมาก คือ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
       
       กลุ่มสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ได้แก่ คณะเกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร วนศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร คุณภาพระดับดีมาก คือ ม.ราชภัฏจันทรเกษม
       
       กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เช่น คณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คุณภาพระดับดีมาก คือ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา
       
       ทั้งนี้สำหรับส่วนกลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ การบัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ ได้แก่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์ มัณฑนศิลป์ จิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ กลุ่มสาขาวิชาสหวิทยาการ ไม่มีสถาบันอุดมศึกษาใดมีผลประเมินระดับดีมาก

ที่มา : http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrview.aspx?NewsID=9520000112108

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ไหม ม.ทักษิณ
หมายเลขบันทึก: 341431เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2010 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท