ม. ทักษิณ ร่วมกับส่วนราชการจังหวัดพัทลุง เตรียมจัดกิจกรรมปล่อย “ปลาดุกลำพันคืนถิ่นเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดพัทลุง ” เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ม. ทักษิณ ร่วมกับส่วนราชการจังหวัดพัทลุง เตรียมจัดกิจกรรมปล่อย “ปลาดุกลำพันคืนถิ่นเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดพัทลุง ” เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ม. ทักษิณ ร่วมกับส่วนราชการจังหวัดพัทลุง เตรียมจัดกิจกรรมปล่อยปลาดุกลำพันคืนถิ่นเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดพัทลุง เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมกับส่วนราชการในจังหวัดพัทลุง เตรียมจัดกิจกรรมเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยปล่อยลูกพันธุ์ปลาดุกลำพันคืนถิ่นอาศัย ณ ท่าน้ำ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) เป็นปลาน้ำจืดในครอบครัวปลาดุกที่มีถิ่นอาศัยเฉพาะในภาคใต้ของประเทศไทย และบางส่วนของภาคตะวันออก เป็นปลาดุกที่เนื้อมีรสชาติดีเป็นที่นิยมบริโภคของชาวภาคใต้ในอดีต  เนื่องจากมีการบุกรุกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่อาศัยของปลาดุกลำพัน ตลอดจนการจับปลาเพื่อการบริโภคมากเกินกำลังการผลิตตามธรรมชาติ ทำให้คาดการณ์ว่าปลาดุกลำพันในธรรมชาติอาจสูญพันธุ์หมดไปจากธรรมชาติในระยะเวลาอันสั้น  ปลาดุกลำพันจัดปลาน้ำจืดที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในภาคใต้ และจำเป็นต้องดำเนินการอนุรักษ์ ฟื้นฟูพันธุ์ปลาโดยเร่งด่วน  การอนุรักษ์พันธุ์ปลาดุกลำพันสามารถดำเนินการได้ 2 ลักษณะ ได้แก่การฟื้นฟูถิ่นอาศัยของปลาชนิดนี้ และการเพาะขยายพันธุ์ปลาดุกลำพัน โดยการผลิตลูกปลาดุกลำพันจากพ่อ-แม่พันธุ์ที่เพาะพันธุ์และเลี้ยงขึ้นเองในห้องปฏิบัติการ ด้วยวิธีการอนุบาลลูกปลาที่เหมาะสม โดยอาศัยความร่วมมือในการดูแลทำนุบำรุงรักษาทรัพยากร และถิ่นอาศัยของปลาจากชุมชนที่เล็งเห็นความสำคัญ  

จากความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ และอนุบาลปลาดุกลำพันวัยอ่อนของหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง โดย ดร. สุภฎา คีรีรัฐนิคม และคณะทำงาน ทำให้ปัจจุบันมีพันธุ์ปลาดุกลำพัน ระยะวัยอ่อน และระยะวัยรุ่นที่เพาะพันธุ์ได้ในห้องปฏิบัติการเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการวิจัยในโครงการ การเพาะเลี้ยงปลาดุกลำพันเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ เครือข่ายการวิจัยภาคใต้ตอนล่าง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551  ได้จัดฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การเพาะเลี้ยง และขยายพันธุ์ปลาดุกลำพัน ให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป เนื่องจากชุมชนในจังหวัดพัทลุงได้ตระหนักดีถึงการลดจำนวนลงของปลาดุกลำพันในธรรมชาติ ประกอบกับเป็นปลาที่นิยมบริโภคในท้องถิ่น และมีราคาสูง จึงมีกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดพัทลุง และบุคคลทั่วไปให้ความสนใจที่จะนำปลาดุกลำพันจากมหาวิทยาลัยทักษิณไปเลี้ยงทั้งในเชิงอนุรักษ์พันธุ์ปลาหายาก และเชิงเศรษฐกิจ เป็นจำนวนมาก

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พุทธศักราช 2551 โครงการวิจัยการเพาะเลี้ยงปลาดุกลำพันเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ ของมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรกิจกรรมการเพาะเลี้ยงปลาดุกลำพันในห้องปฏิบัติการ นับเป็นสิริมงคลแก่โครงการวิจัย ด้วยพระบารมีส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น สามารถขยายพันธุ์ปลาดุกลำพัน และผลิตลูกพันธุ์ปลารุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2  ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การอนุรักษ์สายพันธุ์ปลาดุกลำพันให้คงอยู่สืบไปสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อยอาศัยความร่วมมือจากชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่มีความรู้ความสามารถในการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลาที่ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรปลาดุกลำพัน ร่วมมือกันดำเนินการเลี้ยงลูกพันธุ์ปลาดุกลำพันให้เติบโตเป็นพ่อแม่พันธุ์ปลา และนำไปขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนในท้องถิ่นต่างๆ ให้มากขึ้น เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับเป็นสิริมหามงคลฤกษ์ในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ตามเบื้องพระยุคลบาท และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยทักษิณและเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในการร่วมอนุรักษ์พันธุ์ปลาดุกลำพันในท้องถิ่นรอบพื้นที่ทะเลน้อยจังหวัดพัทลุง ไทย  และเป็นกิจกรรมหนึ่งในวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยทักษิณ ครบรอบ 41 ปี ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 มหาวิทยาลัยทักษิณจึงได้ทูลเกล้าถวายพันธุ์ปลาดุกลำพันแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในท้องถิ่น เพื่อให้นำไปเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลาชนิดนี้ยังแหล่งน้ำต่างๆ ในท้องถิ่นและดำรงรักษาพันธุ์ปลาชนิดนี้ในท้องถิ่นภาคใต้สืบต่อไป นับเป็นกิจกรรมที่จะช่วยในการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำที่สำคัญ และเป็นการทำนุบำรุงทรัพยากรที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

 

คำสำคัญ (Tags): #ไหม ม.ทักษิณ
หมายเลขบันทึก: 341416เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2010 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท