เอนไซม์....กับการรักษาสุขภาพ


"จุลินทรีย์ที่มีชีวิตและอยู่ในรูปแบบของ Feed supplement ซึ่งมีประโยชน์ต่อสัตว์ที่ได้รับเข้าไปโดยจะทำให้เกิดความสมดุลย์ ของจุลินทรีย์ในลำไส้"

เอนไซม์....กับการรักษาสุขภาพ

ประโยชน์ของเอนไซม์....จากการวิจัย
1. เอนไซม์ช่วยเปลี่ยนอาหารคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล และเส้นใยอาหารให้เป็นกรดอินทรีย์ เช่น กรดแลคติก กรดอะซิติก และกรดบิวทีริก ซึ่งมีความเป็นกรดอ่อนๆ ทำให้เอนไซม์มีรสเปรี้ยว และช่วยทำให้การขับถ่ายเป็นไปได้อย่างลื่นสะดวก กรดอินทรีย์ชนิดบิวทีริก เสริมการสร้างดีเอ็นเอ และเพิ่มจำนวนเซลล์บุผิวในลำไส้ใหญ่ ให้มีมาก แข็งแรง มีอายุยืนกว่าเดิม ทำหน้าที่ต้านเชื้อโรคได้ดี ต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็งสำไส้ใหญ่ได้ดี
2. เอนไซม์สร้างไวตามิน B12 ไวตามิน K และไวตามิน B หลายชนิด บำรุงเม็ดเลือด เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท และเซลล์ทั่วไป
3. สร้างช่วยเอนไซม์แลคเตส เพื่อย่อยน้ำตาลในนม ทำให้ร่างกายดูดซึมเคลเซียมได้ดีขึ้น
4. สร้างสารต่อต้านเชื้อดรค สารอินทรีย์นี้ เรียกว่า แบคทีรีโอซิน (Bacteriocins) มีหลายชนิด ได้แก่ acidolin, acidophilin, bulgarican, lactocilin และ niacin ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อ เบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย เช่น เชื้อที่ทำให้เจ็บคอ เชื้อที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ อาหารอักเสบเรื้อรัง (Helicobacter pyiori) เชื้อที่เกิดตามผิวหนังที่ทำให้เป็นแผลพุพอง เรื้อรัง และดื้อต่อยาปฏิชีวนะ (methicillin resistant Staphy lococcus aruecus-MRSA) เชื้อที่ทำให้ท้องร่วง (Escherichia coli, Salmonella, Listeria, Shigella ) และเชื้อที่ทำ ให้เกิดเหม็นเน่า (Clostridium pefringens)
5. ช่วยลดระดังโคเลสเตอรอลในเลือด
6. ช่วยในการทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) ซึ่งจะช่วยยืดระยะ เวลาการหมดประจำเดือน และบรรเทาการเกิดโรคกระดูกพรุนด้วย เนื่องจากการขาดฮอร์โมน เอสโตรเจนจะทำให้การดูดซึมแคลเซียมบกพร่อง
7. ช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการฉายรังสี และเคมีบำบัด หลังการฝ่าตัดมะเร็ง ลดอาการ แพ้ คลื่นไส้ ผมร่วง ทำให้รับประทานอาหารได้ดีขึ้น และพบว่าทำให้ปริมาณฮีโมโกลบินสูงขึ้น
8. ช่วยลดการเกิดสารก่อมะเร็งบางชนิด เช่น ไนโตรซามีน
9. ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในสัตว์ทดลอง ทั้งในระดับ ระยะเริ่มต้น (intiation) และระยะส่งเสริม (Promotion) ของโรงมะเร็ง และในระบาดวิทยา พบว่าในคนมีความ สัมพันธ์กับการลดอัตรา ความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้
ประโยชนอื่น ๆ สรุปได้ดังนี้
1. ปรับความเป็นกรดเป็นด่างในร่างกาย
2. ทำให้ระบบการย่อยและการขับถ่ายดีขึ้น
3. ทำให้แต่ละเซลในร่างกายได้สารอาหารอย่างสมดุล
4. สลายสารพิษและสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ( ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ )
5. อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินและเกลือแร่ คือ วิตามินบีรวม, บี 1, บี 2, บี 12
 
วิตามินที่ได้ในการนำผลไม้แต่ละชนิดมาหมัก

ผลไม้แต่ละชนิดการนำมาหมักเป็นเอนไซม์จะได้วิตามินไม่เหมือนกัน
โดยมีรายละเอียด ดังนี้

วิธีการหมักเอนไซม์

วิธีการหมัก
ในห้องที่มีอากาศถ่ายเท แต่ห้ามมีแสงแดดส่อง
อัตราส่วน น้ำผึ้ง 1 : ผลไม้ 3 : น้ำ 10 เป็นเวลา 3 เดือนในขวดที่ปิดจุกสนิท โดยเว้นเนื้อที่ 1 ใน 5 หมั่นเปิดจุกคลายอากาศออกและปิดกลับให้สนิททันที

เมื่อได้เวลา 3 เดือน เกิด น้ำใส (ionic plasma) ลอยตัวให้ดูดออกด้วยสายยาง นำมาขยายต่ออีก 14 ครั้งทุก ๆ 3 เดือน ในอัตราส่วน น้ำใส 1 : น้ำผึ้ง 1 : น้ำ 10


ตัวกากที่ก้นขวดหมักต่อในอัตราส่วนเดิม
( กาก 3 : น้ำผึ้ง 1: น้ำ 10 ) ทุก 3 เดือน

ดึงเอา น้ำใสออก (ทำได้ 3 ครั้ง)

เมื่อครบ 3 ครั้งแล้วกากที่เป็นผงตะกอนใช้ ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะคลุกผลไม้ 10 กิโลกรัม ใส่น้ำ 10 ลิตร หมักจนกว่าจะได้น้ำใส แล้วเอามาต่ออีกเหมือนตอนต้นไปเรื่อย ๆ ฯลฯ

อายุกับการนำเอนไซม์มาใช้


อายุ 2 ปี

ผสมน้ำด่างตามชอบที่ต้องการจะให้ฟองมากน้อย
ใช้ทำแชมพูสระผม, น้ำยาซักผ้า, น้ำยาล้างจาน, สบู่น้ำ เป็นต้น
อายุ 4 ปี

ใช้หัวเชื้อ 1 ส่วน + น้ำผึ้ง 1 : ผลไม้ 3 : น้ำ 10 หมักในเวลา 15 วันใช้ได้เลย
ทำน้ำยาบ้วนปาก, ล้างแผลอักเสบเน่าเปื่อยพุพอง, งูสวัด ถ้าจะเอามาใช้ล้างสารพิษในพืช-ผัก – ผลไม้ – เนื้อสัตว์

นำหัวเชื้ออายุ 4 ปี จำนวน 2 ลิตร หมักกับข้าวสุก 10 กิโลกรัมและน้ำผึ้ง 1 กิโลกรัม ใส่น้ำท่วมข้าว หมักภายใน 15 วันจะได้น้ำเอนไซม์ ส่วนข้าวสุกที่หมักแล้ว นำมาใส่น้ำท่วมข้าวหมักอีก 15 วันได้น้ำเอนไซม์ ทำได้ 3 ครั้งจนข้าวเป็นผง

อายุ 6 ปี

ขยายหัวเชื้อ 1: น้ำผึ้ง 1: น้ำ 10 ดื่มได้เลย
เมื่อเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊ส ท้องเสีย 20-30 ซีซี, ใช้ทำผลิตภัณฑ์บำรุงผม, ผิวพรรณ, ใบหน้า, ตา, จมูก, ช่องปาก, คอ, ดับกลิ่นตัวตัวในร่มผ้า, เท้า ให้สะอาดและสดชื่น

อายุ 6-10 ปีขึ้นไป

ใช้ดองยาสมุนไพร เป็นเวลา 1 เดือน จะได้ประสิทธิภาพตามคุณสมบัติของสมุนไพร แต่ละตัวเพิ่มขึ้น ควรรับประทานวันละครั้ง ( 3-10 ซีซี ) ก่อนหรือหลังอาหาร 1.30 ชั่วโมง

การทำน้ำด่างจากธรรมชาติ


นำขี้เถ้ามาแช่น้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 10
เป็นเวลา 2 ปี จึงได้น้ำด่างที่มีฟองมาใส่ในเอนไซม์
จะทำให้น้ำเอนไซม์ใสและมีฟอง แต่จะนำไปขยายต่ออีกไม่ได้

เอนไซม์กับฝ้าสีขาว


ฝ้าขาว ถ้าเป็นสีอื่นใช้ไม่ได้ ( เสียแล้ว )

ในการหมักจะเกิดมีฝ้าขาวขึ้นมาลอยอยู่ส่วนบนให้เอาออกมาคลุกกับแป้งสาลี นำน้ำเอนไซม์ติดมาด้วย เพื่อจะได้ปั้นให้เป็นก้อน
ห่อไว้ด้วยกระดาษทึบแสง เก็บได้นาน ใช้เป็นยีสต์ ( หัวเชื้อเร่ง ) ในการทำเต้าเจี้ยว,
น้ำส้มสายชู, ซีอิ๊ว, ซีอิ๊ว (เปรี้ยว), ขนมปัง, แป้งทำพิซซ่า, โรตี

น้ำตาลกับน้ำผึ้งต่างกันอย่างไร ?
  • ถ้าหมักกับน้ำตาลจะเกิดแอลกอฮอล์มาก
  • ถ้าหมักกับน้ำผึ้งที่ไม่ได้เอาความชื้นออกก็ยังเกิดแอลกอฮอล์และมีซากยีสต์ตกค้างเยอะ
  • ถ้าหมักด้วยน้ำผึ้งที่ผ่านการเอาความชื้นออกถึง 80% เหลือเพียง 20% น้ำผึ้งนั้นจะกลายเป็นกรดอิ่มตัวที่ไม่มีจุลินทรีย์และไม่มีแอลกอฮอล์ แต่จะเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจน
  • เอนไซม์ที่ขยายด้วยน้ำผึ้งที่ Dehydrate 80% ( เอาน้ำออก 80% ) จะใช้ได้เลย
  • เอนไซม์ที่ขยายด้วยน้ำผึ้งทั่ว ๆ ไป จะต้องหมักต่ออีก 3 เดือน
    และนำมาขยายปิดท้ายด้วยน้ำผึ้งที่เอาน้ำออก 80% จึงจะใช้ได้เลย
 
คุณค่าของน้ำหมักชีวภาพโปรไบโอติก

ปาร์คเกอร์ (Parker 1974) ได้ให้คำนิยามคำว่า โปรไบโอติก (Probiotic) ว่า หมายถึง

สิ่งมีชีวิตและสารใด ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้" โดยสารใด ๆดังกล่าวนั้นรวมไปถึงสารกลุ่มยาปฏิชีวนะด้วย


จนกระทั่งเมื่อปี 1989 Fuller ได้ปรับปรุง คำนิยามใหม่ของ คำว่า โปรไบโอติกว่า คือ

"จุลินทรีย์ที่มีชีวิตและอยู่ในรูปแบบของ Feed supplement ซึ่งมีประโยชน์ต่อสัตว์ที่ได้รับเข้าไปโดยจะทำให้เกิดความสมดุลย์ ของจุลินทรีย์ในลำไส้"

ในปี 1992 Havenaar และคณะได้เสนอความหมายของคำว่า โปรไบโอติกอีกครั้ง โดยให้คำจำกัดความว่า

"เชื้อจุลินทรีย์เดี่ยว หรือ ผสมที่มีชีวิต และเมื่อมีการนำมาใช้กับคนหรือสัตว์ จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ได้รับ โดยช่วยปรับปรุงคุณสมบัติจุลินทรีย์เจ้าถิ่น (Indigenous microflora)"

สมมุติฐานของโปรไบโอติกต่อสุขภาพ
1. ลดระยะเวลาของการอาการท้องร่วง
2. กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เพิ่มขึ้น
3. สามารถลดกระบวนการเมตาโบไลท์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น แอมโมเนีย ฯลฯ
4. ลดการติดเชื้อ Heliobacter pylori
5.
บำบัดอาการท้องผูก
6. ลดอาการติดเชื้อ
7. ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง
8. ลดโคเรสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ในพลาสม่า
9. ทำให้เกิดการเมตาโบลิซึ่มของแร่ธาตุ และส่งผลต่อความหนาแน่นและความคงตัวของกระดูก
คำสำคัญ (Tags): #เอนไซม์
หมายเลขบันทึก: 341398เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2010 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท