ริน
นางสุปรางค์ทิพย์ ริน หล้าหลั่น

บทความที่ 2 (ข้อสอบ)


บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยบรรลุอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิต

บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การจัดการศึกษาทั้งในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัยบรรลุอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิต

                                                                         นางสุปรางค์ทิพย์  หล้าหลั่น

ปัจจุบันนี้   เทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ         ซึ่งไม่ว่าเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน  เทคโนโลยีโทรมนาคม  และเทคโนโลยีสารสนเทศ  กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ อันที่จริงแล้วจะเห็นว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่มีผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

       บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย ดังนี้ 1. บทบาทในฐานะองค์ความรู้  เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ของการศึกษาทุกระบบ  2.   บทบาทในฐานะเครื่องมือทางวิชาการ   เช่น เป็นสื่อต่าง  ๆ ของการเรียนรู้

3.   บทบาทในฐานะเครื่องมือบริการทางวิชาการ ช่วยเผยแพร่ความรู้ให้นักเรียน ประชาชน  ไม่ว่าจะอยู่ในระบการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย 4.   บทบาทในฐานะทรัพยากรสนับสนุนการเรียน   เป็นสิ่งอำนวยต่อการเรียนรู้  เช่นข้อสนเทศ/ข่าวสาร บุคคล  วัสดุ  เทคนิค  และอาคารสถานที่ 5.   บทบาทในฐานะเครื่องมือพัฒนาบุคลากร  6.   บทบาทในฐานะเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้  เช่น  จัดหาเครื่องมือกระตุ้นการเรียนรู้  สร้างชุมชนวิชาการ นำหลักสูตรซึ่งตั้งพื้นฐานที่เร้าใจ  เป็นต้น 7.   บทบาทในฐานะสนับสนุนการสอน  เช่น  การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรูปแบบของการปฏิบัติ   การใช้โปรแกรมทำงานประหนึ่งเป็นติวเตอร์การศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ผู้เขียนเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้การศึกษาจะไร้ขีดพรมแดน ข้อจำกัดในด้านสถานที่ เวลา และด้านอื่นๆ จะไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้อีกต่อไป โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ชุมชนมีสิทธิและส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางจัดการศึกษา โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยระดมทรัพยากรและทุนทางสังคมเข้ามาเป็นปัจจัยในการจัดกิจกรรม ไม่จำเป็นจะต้องมุ่งใช้งบประมาณจากรัฐแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสและนิมิตหมายที่ดี    ที่ชุมชนจะได้มีส่วนร่วมในการบูรณาการภูมิปัญญาชาวบ้าน จารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นเข้ากับการจัดการศึกษาในชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ การจัดการเรียนการสอน  เปลี่ยนไปในรูป e-learningซึ่งต้องสนองตอบการศึกษาได้ทุกรูปแบบทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ตลอดจนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการก็จำเป็นต้อง ส่งเสริมและพัฒนาให้ทันกับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลง โดยการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานในหน้าที่ โดยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดจนให้บริการทางการศึกษา ส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน จัดหา คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการใช้ปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานในการจัดการศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จาก ICTเพื่อการเรียนรู้ ให้มีการสอนผ่าน e-learning เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตซึ่งนำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และการจัดการเรียนการสอนในสังคมปัจจุบัน ทำให้เด็กไทยสามารถรับรู้เรื่องราวข่าวสารที่ทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์ ทุกโรงเรียน”

 

           ข้อมูลอ้างอิง

                           สำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ  สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา  โรงการพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา  ชุดวิชาการจัดองค์ทางการศึกษา  เรื่อง  ความรู้พื้นฐานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

                             www.eleamingeuropa.info.com

หมายเลขบันทึก: 341389เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2010 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท