พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา


     การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (2548) ได้เสนอแนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้

   1. หลักการ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

          * การพัฒนาต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวผู้เรียน

          * การพัฒนาต้องเกิดจากความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษา

          * การพัฒนาต้องมุ่งเน้นลักษณะ Site Based Development หรือ School Based Development

          * การพัฒนาต้องมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

          * การพัฒนาต้องสอดคล้องกับภารกิจและหน้าที่ที่ปฏิบัติของครูและบุคลากรทาง การศึกษา

          * การพัฒนาต้องดำเนินการในรูปแบบเครือข่ายกระจายทั่วประเทศ

          * การพัฒนาต้องสอดคล้องกับนโยบายและข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          * การพัฒนาต้องกระทำอย่างทั่วถึงและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งในและ นอกกระทรวง ศึกษาธิการ ภายใต้ข้อจำกัดของงบประมาณ

   2. รูปแบบและวิธีการพัฒนา

          * การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิชาชีพทั้งสมรรถนะหลัก (Core Competency) สมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่ (Functional Competency) และสมรรถนะเฉพาะกลุ่มสาระ (Specificational Competency) ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

          * รูปแบบของการพัฒนามุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายที่มีคุณภาพตามที่ สคบศ. กำหนด ให้กระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อความสะดวกในการเข้ารับการพัฒนาของครู และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งที่เป็นองค์กรเครือข่าย บุคคลเครือข่าย และเครือข่ายทางไกล

          * วิธีการพัฒนาต้องมีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นวิธีการพัฒนาที่โรงเรียน/หน่วยงานเป็นฐาน (School Based Development/Insite based Development) เป็นสำคัญ วิธีการพัฒนาที่สำคัญได้แก่ แบบเพื่อนช่วยเพื่อน(Peer group) การวิจัยในชั้นเรียนอย่างง่าย การเข้ารับการอบรมหรือการเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการที่หน่วยงานต่าง ๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา  การเรียนรู้ผ่านเครือข่ายทางไกล

นอกจากนี้ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (2548) ยังได้เสนอ ยุทธศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพครูประจำการ ดังนี้

   1. ทบทวนการจัดทำแผนพัฒนาครูให้เป็นแผนบูรณาการอย่างแท้จริง เป็นแผน ระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว

   2. ส่งเสริมสนับสนุนรูปแบบการพัฒนาครูที่เป็นการบูรณาการการวิจัยปฏิบัติ การและการฝึกอบรมเข้าด้วยกัน

   3. เร่งสนับสนุนให้มีการพัฒนาครูประจำการด้วยระบบเครือข่าย โดยใช้เครือข่ายครูผู้นำ องค์กรครู ชมรมครู และสมาคมครูในเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินงานด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย

   4. เร่งพัฒนาครูประจำการ โดยมีระบบสนับสนุนเพิ่มเติม เช่น ระบบคูปองการฝึกอบรม ระบบ e-Learning และ Distance Learning รวมถึงการพัฒนาครูในสาขาที่ขาดแคลน

   5. เร่งพัฒนาครูโดยใช้ PDCA คือ Plan Do  Check Act กำกับ  เพื่อให้ครูปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานมีการสื่อสารที่ชัดเจนระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติระดับต่าง ๆ และมีระบบการประเมินอย่างต่อเนื่องรวมทั้งมาตรการที่เด็ดขาดที่ทำให้บุคคลที่อยู่ในข่ายต้องปรับปรุงต้องพัฒนา ตนเองให้ได้

หมายเลขบันทึก: 341098เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2010 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท