การวางแผนทรัพยากรองค์กร Enterprise Resource Planning


การวางแผนทรัพยากรองค์กร

 Enterprise Resource Planning

 

   ERP ย่อมาจากคำว่า Enterprise Resource Planning คือ เป็นระบบบริหารทรัพยากรองค์กร ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเชื่อมโยงระบบต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชีและการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า โดยที่มีฐานข้อมูลเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรข้อมูลให้ได้ประโยชน์

ERP มีการทำงานแบบ Real time และ การไหลของข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การเชื่อมโยงกันของข้อมูลในระบบที่เป็นเส้นทางเดียวกันนี้เอง การไหลของข้อมูลจึงทำให้สามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆ ได้ทันที มีผลสำคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็วการไหลของข้อมูลการ เชื่อมต่อข้อมูลทำให้เกิดความรวดเร็ว สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้

 

อีกทั้ง ERP ยังเป็นเครื่องมือสำหรับพยากรณ์การดำเนินงาน การลงทุน หรือการจัดการบริหารงานด้านต่างๆ เช่น การบริหารยอดขายหรือรายจ่ายในอนาคต การบริหารระบบการผลิตต่างๆ ฯลฯ

 

บทบาทของ ERP  สภาพ ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลทำให้เกิดการเชื่อมโยงของกิจกรรมสร้างมูลค่าให้กับลูกค้า ของแผนกต่างๆที่เกี่ยวข้อง

 

ดังนั้น ERP ก็ คือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในเชิงบริหารที่เกิดขึ้นดังกล่าวอีกทั้งจะช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและ บริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

การวางแผนความต้องการของวัตถุดิบ (Material Requirement Planning)

     การวางแผนความต้องการใช้วัตถุดิบ มีการพัฒนาในปี ค.ศ. 1960 สมัยที่คอมพิวเตอร์เริ่มแพร่หลายในอุตสาหกรรม การวางแผนและความต้องการวัตถุดิบช่วยให้บริษัทควบคุมสินค้า จัดการกับสินค้าคงคลังให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า  วัตถุดิบนั้นมีการใช้เทคนิคมากมาย เช่น ใบรายการวัสดุและปริมาณวัตถุดิบที่จะต้องการผลิตสินค้าในอนาคต ตากรางการผลิตหลัก 

       ระบบวางแผนจะพิจารณาวัตถุดิบเพื่อนคำนวณ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ของช่วงเวลา เพื่อจัดการสั่งซื้อส่วนประกอบ ข้อมูลที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้า สรุป ประโยชน์ชองการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ สินค้าคงคลัง

 

 

การวางแผนทรัพยากรในการผลิต (Manufacturing Resource Planning: MRP ll) 

          การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ระบบการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (MRP) ไม่สามารถตอบความต้องการของบริษัทต่าง ๆ ได้อีก นำไปสู่การพัฒนาเป็นระบบการวางแผนทรัพยากรในการผลิต (Manufacturing Resource Planning: MRP II)  ได้เชื่อมโยงกับระบบบัญชีและการเงินด้วยการรายงานตัวเลขทางด้านบัญชีและด้านการเงิน การวางแผนการผลิตเพื่อให้ทรัพยากรทั้งหมดถูกใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตผสมผสานกับกระบวนการวางแผนการทำงานกับการวางแผนธุรกิจ การวางแผนด้านการขาย การวางแผนการผลิต การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ การผสมผสานการทำงานอื่นขององค์กรการบวนการดำเนินธุรกิจ การขนส่งสินค้า กระบวนการจัดหาสินค้า และการเงิน ผสมผสานกับการวางแผนทรัพยากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

การวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP)

       การวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) หมายถึง ระบบงานที่ควบคุมการบริหารทรัพยาการภายในบริษัท ของการผสมผสานมีการเชื่อมโยงกระบวนการของธุรกิจอย่างเป็นระบบ ระบบจัดซื้อ การวางแผนการผลิต ระบบต้นทุน ระบบบัญชี การจัดการสินค้าคงคลัง การกระจายสินค้า การจัดการสินทรัพย์ การบริหารบุคคล

 

  

 

มีการใช้ระบบซอฟต์แวร์ครอบคลุมการทำงานขององค์กร ถือเป็นปัญหาที่สำคัญ ไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำงานซึ่งกันและกัน หรือการประสานงานและติดต่อสื่อสารกันผิดพลาด ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานในภาพรวมลดน้องลงไป 

     ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรไม่ได้เป็นการเชื่อมโยงกระบวนการธุรกิจในเรื่องการกระจายข้อมูลในองค์กร ระบบการวางแผนทรัพยากรรวมซอฟต์แวร์ระบบเดียวที่ทำงานบนฐานข้อมูลเดียว ทำให้แผนกทั้งหลายสามารถแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศซึ่งกันและกันได้ทุกฝ่ายทุกแผนกจากฐานข้อมูลเดียวกัน ข้อมูลเหล่านั้นจะเผยแพร่ไปทั่วทุกแผนก หน่วยงานรวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

 

ส่วนประกอบของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Components of ERP System)

     ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรเป็นการเชื่อมโยงแผนกและกระบวนการทำงานต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งประเภทระบบการวางแผนจัดการทรัพยากรเป็นสามกลุ่มที่สำคัญดังต่อไปนี้

  • การเงิน

  • การผลิตและระบบโลจิสติกส์

  • การขายและการจำหน่าย

  • การบริหารทรัพยากรบุคคล

 

 

การเงิน (Financials)

        การเงินเป็นการทำบัญชี เกี่ยวข้องกับการบันทึก การสรุป การจำแนกประเภท การรายงานวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินของธุรกิจ อย่างไรก็ตามระบบการทำบัญชีแบบดั้งเดิมไม่สามารถสนับสนุนการดำเนินธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรที่เปลี่ยนรูปแบบไป คู่ค้าทางธุรกิจ ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน การทำบัญชีในรูปแบบใหม่ ต้องเชื่อมโยงกระบวนการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เพื่อให้กระบวนการต่าง ๆ มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การขนส่ง เข้าถึงข้อมูลทางบัญชีพื้นฐานของการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP-Based Accounting system) ไม่ได้เชื่อมโยงภายในบริษัทเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงไปด้านต่าง ๆ รวมไปถึงสถาบันการเงินต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน

หน้าที่ด้านบัญชีในระบบการวางแผนทรัพยากร แก้ปัญหาเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น บัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีแยกประเภททั่วไป การวางบิล การแจ้งหนี้

  • บัญชีเจ้าหนี้  (Account Payable) ระบบที่เกี่ยวกับการควบคุมเจ้าหนี้

  • บัญชีลูกหนี้ (Account Receivable) ระบบจัดการด้านลูกหนี้ของกิจการ

  • การวางบิล (Billing) และการแจ้งหนี้ (Invoicing) การจัดทำเอกสารทางการค้าที่ออกโดยผู้ขายหรือผู้ซื้อ

  • บัญชีแยกประเภททั่วไป (General ledger) ข้อมูลด้านบัญชีอื่น ๆ

 

 

  ระบบบัญชีที่อยู่บนพื้นฐานของการวางแผนทรัพยากร (ERP-Based Accounting System) ผู้จัดจำหน่ายธุรกิจเจ้าของสินค้าสามารถกำหนดเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ได้

            สรุประบบบัญชีที่อยู่บนพื้นฐานของการวางแผนทรัพยากรองค์กร งานด้านบัญชีช่วยสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการเงินของบริษัท

 

การผลิตและระบบโลจิสติกส์ (ManuFacturing and Logistics)

          เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการไหลเวียนวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จและสินค้าสำเร็จ รวมถึงระบบโลจิสติกส์ ถือเป็นกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

 

  ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบไปจนถึงการผลิตและจากการผลิตไปจนถึงการขาย และกิจกรรมอื่น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อวัตถุดิบ การขนส่งสินค้า การบริหารคลังสินค้า การจัดการการวางแผนและการขายล้วนเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการขนส่งสินค้า โดยจุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งของการจัดการขนส่งสินค้านั้นเพื่อลดต้นทุนในปัจจัยการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ บริษัทได้รับประโยชน์ที่สำคัญจากการใช้ระบบขนส่งสินค้าที่อยู่บนพื้นฐานจากการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP-Logistics Modules) ซึ่งทำให้ต้นทุนลดลงและเพิ่มกำไรให้แก่บริษัทในที่สุด การใช้ระบบขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพจะสามารถลดเวลาในการกักเก็บสินค้า กำหนดการส่งสินค้าที่รวดเร็วขึ้นและความผิดพลาดจากการผลิตสินค้าลดน้อยลง

 

 

การวางแผนการผลิต (Production Planning)

          แนวโน้มนี้ได้มุ่งไปสู่แนวคิดการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-Oriented Approach) เหมือนกับการขายและการจัดจำหน่าย ดังนั้นการวางแผนการผลิตจะต้องมีความยืดหยุ่นและตัวบริษัทเองต้องมีความพร้อมที่จะปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้การพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ เป็นสิ่งสำคัญหลักของบริษัท อย่างไรก็ตามบริษัทจะสามารถรักษาระดับความได้เปรียบทางธุรกิจได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่องด้วยต้นทุนการผลิตสินค้าที่ต่ำ โดยต้องใช้ระบบการวางแผนการผลิตที่เหมาะสม

  ระบบการวางแผนการผลิตหลายแบบอยู่บนพื้นฐานของการวางแผนทรัพยากรในการผลิต (MRP ll)โดยมีข้อแตกต่างที่ว่าหน้าที่การผลิตจะบูรณาการเข้ากับส่วนงานอื่น ๆ ในบริษัท การใช้ระบบแบบนี้ช่วยให้บริษัทสามารถผลิตสินค้าของพวกเขาตามความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าเป็นการผลิตตามความต้องการ (Made-to-Order Productions) ในทางตรงกันข้ามการผลิตที่เน้นความสำคัญไปที่ผลิตภัณฑ์ (Project-Oriented Production) ในการผลิตเครื่องจักรแบบพิเศษยังสามารถสำเร็จลุล่วงด้วยการใช้ระบบนี้เช่นกัน

 

        สรุปถ้าปราศจากระบบเหล่านี้ การผลิตสินค้าก็จะไม่มีความยืดหยุ่นพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงได้

 

กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า (Procurement)

          ในแง่ของการวางแผนทรัพยากรองค์กรแนวคิดเรื่องกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสินค้านั้นครอบคลุมรวมถึงการซื้อสินค้า การควบคุมสินค้าคงคลัง การควบคุมสินค้า การคัดเลือกผู้สรรหาวัตถุดิบหรือสินค้า และการควบคุม ประเมินผลงานผู้สรรหาวัตถุดิบหรือสินค้า ระบบสรรหาสินค้าของบริษัทช่วยให้การไหลเวียนสินค้าได้รับอรรถประโยชน์สูงสุด

 

การขายและการจัดจำหน่าย(Sale and Distribution)

           รูปแบบการทำงานของฝ่ายขายได้ส่งผลให้มีความจำเป็นต้องใช้ระบบขาย การจัดจำหน่าย ต้องมีการเปลี่ยนแปลง มุ่งเน้นความสำคัญที่ลูกค้าเป็นหลักในเชิงแข่งขัน ระบบการขายและการจัดจำหน่ายก็มีความสำคัญมากขึ้น สรุปแล้วหน้าที่การทำงานในระบบการขายและการจัดจำหน่าย ช่วยส่งเสริมงานขายต้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกใบเสนอราคา การสั่งซื้อสินค้า การตรวจสอบเครดิต การขนส่งสินค้า การเรียกเก็บเงินและการทำสัญญาการขาย เห็นได้ว่าระบบมีส่วนสนับสนุนแนวทางการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

 

ทรัพยากรบุคคล (Human Resource)

          ระบบจัดการงานบุคคล (Human Resource System) เพื่อใช้ทรัพยากรบุคคลในบริษัทให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด หน้าที่การทำงานแยกจากหน่วยงานหลักอื่น ๆ เมื่อการจัดซื้อจัดจ้างและรักษาพนักงานที่มีคุณภาพสูง ทวีความสำคัญมากขึ้น ส่งผลให้ระบบจัดการงานบุคคลกลายเป็นส่วนสำคัญสำหรับหลายบริษัท

          หน้าที่การทำงานของระบบจัดการงานบุคคล (Human Resource System Functional) ประกอบไปด้วยการว่าจ้าง (Recruitment) การบริหารงานทั่วไป (Administration) การฝึกอบรมและการพัฒนา (Training and Development) และการจ่ายค่าตอบแทน (Compensation) ระบบจะถูกใช้เป็นเพียงการทำรายงานเงินเดือน บันทึกข้อมูลงานบุคคลเท่านั้น

          ระบบจัดการงานบุคคลจำเป็นในการว่าจ้างพนักงานใหม่ โดยใบสมัครงานที่ได้รับจะถูกส่งไปเก็บไว้ในแฟ้มผู้สมัครงาน คัดเลือกผู้สมัครงานที่เหมาะสมที่สุดจากใบสมัครงานที่รวบรวมในแฟ้ม

          หน้าที่การทำงานอย่างหนึ่งของระบบจัดการงานบุคคล การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเข้าไปดูข้อมูลของตนในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น ตรวจสอบข้อมูลเงินเดือน ตรวจสอบชั่วโมงการทำงาน ปรับปรุงข้อมูลส่วนบุคคล

          ระบบจัดการงานบุคคลมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนจากการเป็นศูนย์กลางต้นทุน (Cost Center) มาเป็นคู่ค้าเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partner) และช่วยขยายขีดความสามารถในการดึงดูด การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

 

 

ระบบอื่น ๆ (Other Modules)

         นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบอื่น ๆ ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบวางแผนจัดการทรัพยากรขององค์กร ซึ่งได้แก่ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) การจัดการความสัมพันธ์กับผู้จัดหาสินค้า (Supplier Relationship Management) และการจัดการวงจรชีวิตของสินค้า (Product Life Cycle Management) ระบบต่าง ๆ เหล่านี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ ERP

 

 

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)

         ช่วยให้การไหลเวียนของสินค้าภายในห่วงโซ่อุปทานเป็นไปย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทมากที่สุด ควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยเป็นการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าของการจัดการห่วงโซ่อุปทานรวมอยู่ในระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานจึงช่วยส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของระบบวางแผนจัดการทรัพยากรขององค์กร

 

  

 

 

การจัดการความสัมพันธ์กับผู้จัดหาสินค้า (Supplier Relationship Management)

         การจัดการความสัมพันธ์กับผู้จัดหาสินค้าเป็นแนวทางในการจัดการกับความสัมพันธ์ที่จัดหาสินค้าหรือบริการ จุดมุ่งหมายเพื่อให้กระบวนการดำเนินงานระหว่างบริษัทและผู้จัดการสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ระบบจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Lifecycle Management: PLM)

         ระบบจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ คือ ระบบสนับสนุนส่งเสริมวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ทั้งหมด จนถึงการทำการตลาดสินค้า อาจรวมถึงการนำสินค้าเก่ากลับมาผลิตใหม่ ระบบจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์จะพบในโรงงานผลิตสินค้าเป็นหลัก ระบบจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์จะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมกับการพัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์ถูกรวมไว้ในระบบการวางแผนจัดการทรัพยากรของบริษัทเข้ากับระบบในองค์ในระดับที่สูง

 

ผังงาน (Work Flow)

         ผังงาน ใช้ในการออกแบบการวางแผนจัดการทรัพยากร อธิบายให้ทราบถึงหน้าที่รับผิดชอบผังงาน ในการกำหนดว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบการจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ อาจจะได้ข้อมูลส่วนบุคคลมาจากระบบทรัพยากรบุคคล ระบบผังงานยังประกอบไปด้วยระบบการจัดการเอกสารโดยสามารถช่วยลดจำนวนเอกสารที่ต้องมีการส่งถึงกันระหว่างแผนก ช่วยประหยัดเวลาได้มาก รวมถึงยังช่วยกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่จำเป็นฯ และสำคัญอีกด้วย

 

"@"~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~"@"

 

 เอกสารอ้างอิง อ.กันยารัตน์ ศรีวิสทิยกุล.เอกสารประกอบการสอนวิชา BCS 426 ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น.  มหาวิทยาลัยศรีปทุม

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #enterprise resource planning erp
หมายเลขบันทึก: 340983เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2010 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เป็นรายละเอียด เนื้อหา ข้อมูลเยอะดี การใส่แบล็คกราว กับตัวหนังสือ ดูเข้ากันได้ดี มีข้อมูลที่เป็นประโยคมากมาย

มีทั้ง ERP (Material Requirement Planning) (Manufacturing Resource Planning: MRP ll) และมากมายหน้าค้นหา

มีภาพประกิบชวนให้สนใจ ขอบคุณมากครับ ที่ ให้ข้อมูล นี้ ช่วยให้เรา หางานไปส่งอาจารย์ได้เยอะขึ้นเลยครับ ขอบคุณมาก

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาช่วยทำให้มีงานส่งอาจารย์

ได้เยอะเลย

เนื้อหาดีมากเลยช่วยงานไดมากเลย

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆๆ

ที่มีใน BLOG ......

วันหลังหามาอีกนะ

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาครับเนื้อหาดีมากครับ

เนื้อหาเท่าที่อ่านมานี้ เข้าใจง่ายมีรายละเอียดครบถ้วน

และยังมีภาพประกอบเพื่อทำให้เข้าใจได้มากขึ้นด้วย

ขอบคุณสำหรับคนที่หาเนื้อหานี้มาให้อ่านนะค่ะ

เนื้อหามีความเข้าใจดี

และมีความรู้มากมาย

แจ่มเลย

อ่านเนื้อหาแล้วเข้าใจง่าย มีรายละเอียดครบถ้วน

มีความเข้าใจง่าย

และมีภาพประกอบด้วย

อธิบายได้ละเอียดมากเลย

อ่านแล้วรู้เรื่องเลย

ดีมากๆๆค่ะ

เนื้อหาที่หามาเข้าใจง่าน แล้วมีภาพประกอบด้วยทำให้มองเห็นลักษณะการทำงานได้ชัดมากขึ้น

อ่านแล้วเข้าใจง่าย มีภาพประกอบด้วยทำให้เข้าใจมากขึ้น

เนื้อหาเข้าใจง่ายครับ

อีกอย่างมีภาพประกอบด้วยทำให้เข้าใจ

มากขึ้นอีกเยอะเลย

ขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆครับ

ขอบคุณครับสำหรับเนื้อหา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท