การประเมินคุณค่าสารสนเทศ


การประเมินคุณค่าสารสนเทศ

          เกณฑ์ทั่วไปที่ใช้ในการประเมินสารสนเทศ มีดังนี้

           1 ความน่าเชื่อถือของผู้จัดทำ (Authority/Creditability) พิจารณาได้ 2 ส่วน ส่วนแรกคือผู้แต่งหรือผู้จัดทำ เป็นนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นหรือไม่ และส่วนที่สองคือชื่อเสียงของสำนักพิมพ์หรือผู้จัดทำต้องแสดงให้เห็นถึงการควบคุมคุณภาพ เช่น การตรวจสอบเนื้อหาจากผู้ร่วมวิชาชีพในแต่ละสาขา ( Peer-reviewed )

          2 ความถูกต้องเที่ยงตรง (Accuracy) พิจารณาจากข้อเท็จจริงของเนื้อหาว่ามี ความเป็นกลางและถูกต้องตามวิชาการในศาสตร์นั้น ๆ ในช่วงเวลานั้น

          3 ความตรงต่อวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (Objectivity) พิจารณาว่า สารสนเทศนั้นเหมาะสมกับการใช้งานเพียงไร

          4 กลุ่มเป้าหมายหรือระดับของสารนิเทศ (Intended audience/Level of information) หมายถึง ระดับความยากง่ายของเนื้อหาและการเรียบเรียง ซึ่งผู้แต่งกำหนดขึ้นเพื่อผู้ใช้ในระดับต่างๆ เช่น นักเรียนระดับมัธยมศึกษา นิสิตระดับอุดมศึกษา นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญ เป็น ต้น

          5 ความทันสมัย (Date of publication) พิจารณาจากปีที่พิมพ์หรือปีที่ระบุว่าจัดทำสารสนเทศ

          6 ความสะดวกในการใช้งาน (Ease of use) คือ การพิจารณาว่ารูปแบบของสื่อที่สารสนเทศบันทึกอยู่สามารถนำมาใช้งานได้สะดวกสำหรับผู้ใช้แต่ละคนหรือไม่ ผู้ใช้บางคนอาจสะดวกที่จะใช้สารสนเทศที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ ขณะที่อีกคนหนึ่งอาจสะดวกที่จะใช้แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์มากกว่า

 

หมายเลขบันทึก: 340418เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท