เอกสารสอบราคาจ้าง ส่งต่อให้ครูพัสดุ แก้ปัญหาโครงการ SP2


เอกสารสอบราคาจ้าง ส่งต่อให้ครูพัสดุ แก้ปัญหาโครงการ SP2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจ้างโดยวิธีสอบราคา 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจ้างโดยวิธีสอบราคา 

                การจ้างโดยวิธีสอบราคา  ได้แก่  การจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน  100,000 บาท  แต่ไม่เกิน  2,000,000  บาท   มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

1. การเตรียมการ  เจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องตรวจสอบ  และเตรียมการ  ดังนี้

(1) กรณีเป็นเงินงบประมาณ  เมื่อได้รับแจ้งจัดสรรให้ตรวจสอบรายการที่ได้รับการจัดสรร โดยดำเนินการให้เป็นไปตามรายการและแผนการสอบราคาจ้าง  และให้เร่งดำเนินการจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ว่าด้วยการพัสดุ  พ.ศ.  2535  และที่แก้ไขเพิ่มเติมทันที  งบประมาณรายการที่ได้รับแจ้งจัดสรรในคราวเดียวกันให้ดำเนินการจัดจ้างในคราวเดียวกัน  กรณียังไม่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดให้ระบุในประกาศสอบราคาจ้างและเอกสารสอบราคาจ้าง  “โดยไม่ผูกพันงบประมาณไว้ก่อน”  และให้พร้อมที่จะก่อหนี้ผูกพันได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติทางการเงิน

                                กรณีเป็นเงินนอกงบประมาณ  เช่น  ค่าบำรุงการศึกษา  เงินอุดหนุนบำรุงการศึกษาฯ  ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายเงินของโรงเรียน  โดยศึกษาหลักเกณฑ์และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเงินนอกงบประมาณนั้น  ๆ  ด้วย

(2) จัดเตรียมแบบรูปรายการ  และ/หรือรายละเอียดให้เพียงพอสำหรับผู้ที่จะมาขอรับแบบรูปรายการ  และ/หรือรายละเอียด

(3) จัดหารายชื่อ  ที่อยู่ของบริษัท ห้างฯ ร้าน  หรือบุคคลผู้มีอาชีพรับจ้างงานที่จะจ้าง ที่เห็นสมควรแจ้งให้เข้าเสนอราคา

(4) กรณีเป็นงานก่อสร้าง ให้ตรวจสอบผังบริเวณโรงเรียนและสถานที่ก่อสร้าง  หากมีสิ่งปลูกสร้างในบริเวณที่จะทำการก่อสร้างให้ขออนุญาตรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง  ดังกล่าว

                2. การดำเนินการ   ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการดังนี้

2.1 จัดทำเอกสารดังต่อไปนี้

          (1) รายงานขอจ้าง

          (2) ประกาศและเอกสารสอบราคาจ้างโดยกำหนดวันเริ่มต้นการรับซองสอบราคา ในวันที่ประกาศเผยแพร่การสอบราคาตามระเบียบฯ  ข้อ  41  (1)  และให้ผู้เสนอราคายื่นซองสอบราคาได้จนถึงวันปิดการรับซองสอบราคา  ซึ่งปิดการรับซองดังกล่าวจะต้องกำหนดห่างจากวันเริ่มต้นการรับซองไม่น้อยกว่า  10  วัน

          ส่วนวันเวลาเปิดซองใบเสนอราคา  ให้กำหนดเป็นวันใดวันหนึ่งหลังจากวันปิดการรับซองสอบราคา  ทั้งนี้  ในการกำหนดวันเปิดซองใบเสนอราคาดังกล่าว  ให้คำนึงถึงระยะเวลาที่คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาจะต้องใช้ในการดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาแต่ละรายว่า เป็นผู้เสนอราคาที่มีประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น  ณ  วันประกาศเผยแพร่การสอบราคาหรือไม่  ตามระเบียบฯ  ข้อ  15  ตรี  วรรคสอง 

          (3) จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา  และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างแล้วแต่กรณี  คณะกรรมการทั้ง  2  คณะ  ประกอบด้วย  ประธานกรรมการ  1  คน  และกรรมการอย่างน้อย  2  คน  โดยปกติให้แต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ  3  ขึ้นไป  ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช่ข้าราชการร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้  โดยควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการ  หรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับงานที่จะจ้างเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย  ห้ามแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการเปิดซองสอบราคาเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ  (การเสนอร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้างแล้วแต่กรณี อาจเสนอในขั้นทำสัญญาก็ได้)

          (4) จัดทำหนังสือถึงผู้มีอาชีพรับจ้างงานที่จะจ้าง  (หากประสงค์จะส่งประกาศไปโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงหรือทางอื่นด้วย  ก็ให้จัดทำหนังสือถึงหน่วยงานดังกล่าวด้วย)

          (5) จัดเตรียมแบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียด พร้อมเอกสารแนบท้ายเอกสารสอบราคาจ้าง  (ดูข้อ 1 ในเอกสารสอบราคาจ้าง)  เพื่อจัดส่งพร้อมประกาศ  และให้กับผู้มาขอรับ

2.2 เสนอรายงานของจ้างต่อหัวหน้าสถานศึกษา  ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุโดยแนบเอกสารตามข้อ  2.1 (1) – (4)  พร้อมรายละเอียดและเอกสารที่เกี่ยวข้อง  เช่น  หนังสือแจ้งจัดสรร  แบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียด  หลักฐานการอนุมัติทางการเงิน (ถ้ามี)  โดยให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุลงชื่อกำกับตราส่วนราชการในเอกสารสอบราคาจ้าง  และหัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาดำเนินการดังนี้

          - เห็นชอบรายงานขอจ้าง

          - ลงนามในประกาศสอบราคาจ้าง

          - ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา  และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ  หรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง  แล้วแต่กรณี

          - ลงนามในหนังสือถึงบริษัท  ห้างฯ  ร้าน  บุคคลผู้มีอาชีพรับจ้างและหน่วยงานต่าง ๆ    ตามข้อ  2.1  (4)

3. เมื่อหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ  และหัวหน้าสถานศึกษาลงนามในเอกสารตามข้อ  2.2 ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการดังต่อไปนี้

3.1 ปิดและส่งประกาศก่อนถึงวันเปิดซองไม่น้อยกว่า  10  วัน  ดังนี้

          (1) ปิดประกาศโดยเปิดเผยที่โรงเรียน  ณ  สถานที่ซึ่งบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงและอ่านได้สะดวก

          (2) ส่งประกาศและเอกสารสอบราคาจ้าง  พร้อมเอกสารแนบท้ายทังหมดไปยังผู้มีอาชีพรับจ้างที่จะจ้าง  และหน่วยงานต่าง  ๆ  ตามข้อ  2.1  (4)  การส่งเอกสารดังกล่าวให้ส่งโดยตรง  หรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

3.2 ส่งสำเนาประกาศและเอกสารสอบราคาจ้าง  พร้อมสำเนาคำสั่งแต่งตั้งและหน้าที่ของคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา  ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ว่าด้วยการพัสดุ  พ.ศ.  2535 ข้อ 42  ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา

                4. การให้แบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียดให้ดำเนินการดังนี้

4.1 ให้กำหนดระยะเวลาการให้แบบรายการ และ/หรือรายละเอียดในเอกสารสอบราคาจ้าง  โดยเริ่มให้ตั้งแต่วันประกาศเผยแพร่จนถึงวันปิดการรับซองสอบราคา  ซึ่งวันปิดการรับซองจะต้องกำหนดห่างจากวันเริ่มต้นการรับซองไม่น้อยกว่า  10  วัน

4.2 หัวหน้าสถานศึกษาต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำ  เพื่อให้แบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียดตามวัน  เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคาจ้าง  หากเจ้าหน้าที่ผู้ให้แบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียดจำเป็นต้องไปปฏิบัติราชการอื่น  ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่อื่นทำหน้าที่แทน

4.3 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดแบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียด  ประกาศและเอกสารสอบราคาจ้าง  พร้อมเอกสารและแบบฟอร์มที่ระบุว่าเป็นเอกสารแนบท้ายเอกสารสอบราคาจ้าง  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตามข้อ  4.2  ให้กับผู้มาขอรับ  โดยจัดทำบัญชีผู้มาขอรับแบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียดไว้ด้วย

4.4 ให้เจ้าหน้าที่ตามข้อ  4.2  มีหน้าที่ให้แบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียด  และเอกสารประกอบให้ผู้มาขอรับทุกรายโดยตรวจสอบแต่เพียงว่าผู้มาขอรับเป็นกรรมการผู้จัดการ  หรือหุ้นส่วนผู้จัดการแล้วแต่กรณี  หรือได้รับมอบอำนาจให้มาขอรับหรือไม่เท่านั้น  ไม่มีสิทธิขอตรวจสอบคุณสมบัติอื่นว่าถูกต้องตามเอกสารสอบราคาจ้างหรือไม่  โดยโรงเรียนต้องจัดเตรียมเอกสารตามข้อ  4.3  ให้เพียงพอที่จะให้ผู้มาขอรับภายในวันและเวลาที่กำหนด  กรณีแบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียดมีไม่เพียงพอให้ติดต่อประสานกับหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อขอรับแบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียดเพิ่มเติม  หากเป็นกรณีจำเป็นอาจใช้เงินบำรุงการศึกษา  หรือเงินอุดหนุนบำรุงการศึกษาจ้างทำสำเนาแบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียด

4.5 ถ้ามีการยกเลิกการสอบราคา  และมีการสอบราคาใหม่  ให้แจ้งผู้มาขอรับแบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียดในการสอบราคาครั้งก่อน  เพื่อมาขอรับแบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียดและเอกสารสอบราคาใหม่  โดยให้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรส่งโดยตรง  หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับทุกราย

                5. ก่อนวันเปิดซองสอบราคา  หากมีความจำเป็นที่จะต้องชี้แจงหรือให้รายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ  หรือมีความจำเป็นต้องแก้ไขแบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญซึ่งมิได้กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคาตั้งแต่ต้น  ให้รีบดำเนินการดังนี้

5.1 จัดทำรายละเอียดดังกล่าวเป็นเอกสารสอบราคาเพิ่มเติม

5.2 ปิดประกาศเอกสารสอบราคาเพิ่มเติมไว้  ณ  ที่ทำการของโรงเรียนและจัดส่งไปยังหน่วยงานตาม  ข้อ  2.1 (4)  และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ที่มาขอรับแบบรูปรายการ และ/หรือรายละเอียดไปแล้วทุกรายด้วย

กรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นนั้น  หากจะทำให้ผู้เสนอราคาไม่สามารถยื่นซองสอบราคาได้ทันตามกำหนดเดิม  ก็ให้แจ้งเลื่อนวัน  เวลารับซอง  ปิดการรับซองและเปิดซองสอบราคาตามความจำเป็นไปด้วย

                6. การรับซองสอบราคา  ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสถานศึกษาทำหน้าที่รับซอง  โดยให้ดำเนินการดังนี้

6.1 รับซองโดยไม่เปิดซองและลงทะเบียนรับซองตามวัน  เวลาที่กำหนดในประกาศและเอกสารสอบราคาจ้าง  และตรวจสอบเอกสารที่เสนอให้ตรงกับบัญชีเอกสารส่วนที่  1  และเอกสารส่วนที่  2  ของผู้เสนอราคา

6.2 เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ 6.1 แล้วให้ออกใบรับซองให้ผู้เสนอราคา

6.3 ส่งมอบซองให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุทันทีเพื่อเก็บรักษาซอง

                7. หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเก็บรักษาซองไว้ทุกรายโดยไม่เปิดซอง  และเมื่อพ้นกำหนดวันปิดการรับซองสอบราคาที่กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคาแล้ว  ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุส่งมอบซองเสนอราคาทั้งหมดและเอกสารหลักฐานต่าง  ๆ  ที่ได้เก็บรักษาไว้  พร้อมทั้งรายงานผลการรับซองสอบราคาต่อคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาทันที

                8. ก่อนการเปิดซองใบเสนอราคา  ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาศึกษาเงื่อนไข รายละเอียดในเอกสารสอบราคาจ้าง  และให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาแต่ละรายว่าเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น  (ดูบทนิยาม)  ณ  วันประกาศเผยแพร่การสอบราคาหรือไม่  ตามนัยระเบียบฯ  ข้อ 15  ตรี  วรรคสอง  โดยตรวจสอบจากเอกสารหลักฐานส่วนที่  1  ที่ผู้เสนอราคายื่นมาพร้อมกับซองใบเสนอราคา  และให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาประกาศรายชื่อผู้เสนอราคาที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกไว้ในที่เปิดเผย  ณ  สถานที่ทำการของโรงเรียนโดยพลัน  ตามระเบียบฯ  ข้อ  15  จัตวา  วรรคสาม  แต่หากผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาแต่ละรายปรากฏว่า  มีผู้เสนอราคาเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น  ณ  วันประกาศเผยแพร่การสอบราคา  ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาตัดรายชื่อผู้เสนอราคาดังกล่าวทุกรายออกจากการเป็นผู้เสนอราคา ในการสอบราคาจ้างในครั้งนั้น  พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้เสนอราคารายดังกล่าวทราบโดยทันที  ตามระเบียบฯ  ข้อ  15  เบญจ  วรรคหนึ่ง

เมื่อถึงกำหนดเวลาเปิดซองใบเสนอราคา  ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาทำการเปิดซองใบเสนอราคาเฉพาะผู้เสนอราคาที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกตามวรรคแรก และหากประธานกรรมการยังไม่มาปฏิบัติหน้าที่ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานกรรมการ  โดยให้คณะกรรมการฯ  ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะข้อ 8.1  แล้วรายงานประธานกรรมการซึ่งหัวหน้าสถานศึกษาแต่งตั้ง เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป  โดยคณะกรรมการเปิดซองสอบราคามีหน้าที่ดังนี้

8.1 เปิดซองใบเสนอราคา  และอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่าง  ๆ  ของผู้เสนอราคาเฉพาะรายที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกตามข้อ  8  วรรคแรก  ทุกราย โดยเปิดเผยตามวัน  เวลา และสถานที่ที่กำหนดในประกาศและเอกสารสอบราคาจ้าง และตรวจสอบรายการเอกสารตามบัญชีของผู้เสนอราคาทุกราย  แล้วให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคา  และเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น

8.2 ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา เอกสารหลักฐานต่าง ๆ  แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาจ้าง

8.2.1 ในกรณีที่ผู้เสนอราคารายใดเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารสอบราคาในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ  และความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้เสนอราคารายอื่น  หรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย  ให้พิจารณาผ่อนปรนให้ผู้เข้าสอบราคาโดยไม่ตัดผู้เข้าสอบราคารายนั้นออก

8.2.2 ในการพิจารณา คณะกรรมการอาจสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้เสนอราคารายใดก็ได้  แต่จะให้ผู้เสนอรายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้

8.2.3 ในกรณีมีผู้เสนอราคารายเดียว  หรือมีผู้เสนอราคาหลายรายแต่ถูกต้องตรงตามรายละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารสอบราคาเพียงรายเดียวหากคุณสมบัติของผู้เสนอราคาเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ  และราคาอยู่ในวงเงินที่กำหนดไว้ให้ดำเนินการตามข้อ 8.3

8.2.4 ในกรณีไม่มีผู้เสนอราคาหรือมีแต่ไม่ถูกต้องตรงตามรายละเอียด และเงื่อนไขที่กำหนดให้เสนอหัวหน้าสถานศึกษา  ยกเลิกการสอบราคาครั้งนั้นเพื่อดำเนินการสอบราคาใหม่  หากหัวหน้าสถานศึกษาเห็นว่า  การสอบราคาใหม่จะไม่ได้ผลดี  จะสั่งให้ดำเนินการจ้างโดยวิธีพิเศษก็ได้

8.3 พิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติของผู้เสนอราคาที่ตรวจสอบแล้วตามข้อ  8.2  ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ และเสนอหัวหน้าสถานศึกษาให้จ้างจากรายที่คัดเลือกไว้แล้ว  ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด

          8.3.1 การพิจารณาการเสนอราคาของผู้เสนอราคาต่ำสุด  (กรณีงานก่อสร้าง)  ให้ดำเนินการดังนี้

                          (1) ตรวจสอบความถูกต้องของการเสนอราคา โดยคำนวณตัวเลขของราคาที่เสนอต่อหน่วยในบัญชีรายการที่เสนอเป็นหลัก  หากไม่ถูกต้องให้ขอปรับลดตัวเลขลงมา

                          (2) เปรียบเทียบราคาที่แสดงในบัญชีรายการก่อสร้างของผู้เสนอราคากับราคากลางในรายการที่เป็นหัวข้อใหญ่  หากปรากฏว่าราคาของรายการใดสูงผิดปกติไม่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง  ก็ให้เชิญผู้เสนอราคารายต่ำสุดนั้นมาเจรจาปรับลดราคาลงมา

                          (3) บันทึกแก้ไขราคาแต่ละรายการและยอดรวมจากการปรับลดราคาตาม (1) และ (2) ให้ตรงกันซึ่งเมื่อประเมินราคาปรับลดแล้ว  จะทำให้ยอดรวมใหม่ต่ำกว่ายอดรวมที่ผู้เสนอราคาไว้เดิม (การเจรจาปรับลดราคาต้องบันทึกรายละเอียดผลการเจรจา  โดยให้ผู้เสนอราคาลงนามไว้เป็นหลักฐาน)

                          (4) หากราคาตาม (3) อยู่ภายในวงเงินงบประมาณให้เสนอจ้างรายต่ำสุดนั้น

          8.3.2 กรณีมีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายราย  ให้คณะกรรมการเรียกผู้เสนอราคาเท่ากันดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา  เมื่อได้ผู้เสนอราคาต่ำสุดให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ  8.3.1

          8.3.3 กรณีที่ผู้เสนอราคาต่ำสุดไม่ยอมมาทำสัญญาตามเวลาที่กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคาให้คณะกรรมการฯ  พิจารณาผู้เสนอราคาต่ำรายถัดไป

          8.3.4 กรณีผู้เสนอราคาต่ำสุดที่คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาเห็นสมควรจ้างเสนอราคาเกินวงเงินงบประมาณให้ดำเนินการดังนี้

                          (1) เรียกผู้เสนอราคารายนั้นมาต่อรองราคาให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้  หากผู้เสนอราคารายนั้นยอมลดราคาแล้ว ราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะจ้าง  (วงเงินงบประมาณ) โดยตรวจสอบความถูกต้องของการเสนอราคา  และเปรียบเทียบกับราคากลางเป็นหลักในการต่อรองราคาแล้วเสนอให้จ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น

                          (2) ถ้าต่อรองตาม (1) แล้วไม่ได้ผล  ให้เรียกผู้เสนอราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรจ้างทุกรายมาต่อรองราคาใหม่พร้อมกัน  ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคาภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร  หากรายใดไม่มายื่นซอง ให้ถือว่ารายนั้นยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม

                          (3) ถ้าดำเนินการตาม  (2) แล้วไม่ได้ผล  ให้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าสถานศึกษาเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรลดรายการ  ลดจำนวน  หรือลดเนื้องาน  หรือขอเงินเพิ่มเติม  หรือยกเลิกการสอบราคาเพื่อดำเนินการสอบราคาใหม่

                          กรณีเป็นการจ้างด้วยเงินงบประมาณที่มิใช่รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณในงบรายจ่ายของงานหรือโครงการใด   หากราคาที่ต่อรองแล้วสูงกว่าวงเงินงบประมาณไม่เกินร้อยละสิบ  และคณะกรรมการฯ  ได้ตรวจสอบราคาและเห็นว่าเป็นราคาที่เหมาะสม  ให้เสนอขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณต่อหัวหน้าส่วนราชการ  หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี โดยต้องมีเงินสมทบส่วนที่เกินได้แก่  เงินเหลือจากการจัดซื้อจัดจ้าง หรือเหลือจากการงดซื้อ/จ้างหรือลดจำนวนซื้อครุภัณฑ์ในงบรายจ่ายต่าง ๆ  ภายใต้แผนงานเดียวกัน  หรือใช้เงินนอกงบประมาณอื่น  เช่น  เงินบำรุงการศึกษา  เงินบริจาค  เงินอุดหนุนบำรุงการศึกษา  หรือเงินอื่นใดมาใช้โดยให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2545

8.4 การจัดจ้างมากกว่า  1  รายการ  ด้วยเงินงบประมาณ  กรณีกำหนดเงื่อนไขการพิจารณาราคารวม  และผู้เสนอราคารายต่ำสุดเสนอราคารวมไม่เกินวงเงินประจำงวดรวม  คณะกรรมการต้องตรวจสอบราคาที่เสนอแต่ละรายการด้วย  หากการก่อสร้างรายการใดราคาสูงกว่าราคาที่ได้รับอนุมัติทางการเงิน  ให้ต่อรองราคาลงอีกให้อยู่ในวงเงินที่กำหนด  หากไม่ยอมลดราคารายการใด สถานศึกษาอาจพิจารณาดำเนินการขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการเงินประจำงวดรายการนั้น  ตามรายละเอียดที่กล่าวในข้อ  8.3.4 วรรคสุดท้าย หรืออาจเลือกจ้างเฉพาะรายการที่เสนอราคาอยู่ภายในวงเงินที่กำหนด  สำหรับการสอบราคาครั้งนั้นก็ได้  ส่วนรายการที่จ้างไม่ได้ก็ให้ดำเนินการจัดจ้างใหม่ตามระเบียบฯ

8.5 การต่อรองราคาทุกกรณี   ถ้าผู้เสนอราคายินยอมลดราคา  ให้ผู้เสนอราคาบันทึกการยินยอม  และลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย  (ถ้าเงื่อนไขการลงนามทำนิติกรรมของผู้เสนอราคาในหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท  ต้องประทับตราก็ให้ประทับตราด้วย)

8.6 รายงานผลการพิจารณาและความเห็น  พร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับทั้งหมดเสนอหัวหน้าสถานศึกษาเพื่ออนุมัติการสั่งจ้าง  โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ

                9. หลังการสอบราคาแล้ว  แต่ยังไม่ได้ทำสัญญากับผู้เสนอราคารายใด  ถ้ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในรายละเอียดหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคา  ซึ่งทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เข้าเสนอราคาด้วยกันให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณายกเลิกการสอบราคาครั้งนั้น

                10. กรณีได้ดำเนินการจัดจ้างแล้ว ไม่ได้ผลและมีปัญหาไม่อาจหาผู้รับจ้างได้  ให้รีบรายงานเสนอผ่านตามสายงาน  ขอความเห็นชอบต่อผู้ว่าราชการจังหวัด  เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการดำเนินการจัดจ้างในส่วนกลาง  หรือเสนอหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาขอเปลี่ยนแปลงรายการหรืออื่น  ๆ  ตามที่เห็นสมควร  (การเปลี่ยนแปลงรายการใด  ๆ  ให้ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด)

                11. การสั่งจ้าง  เมื่อหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุตรวจสอบหลักฐานการดำเนินการแล้ว  หากเห็นว่าถูกต้องตามระเบียบฯ  ก็ให้เสนอหัวหน้าสถานศึกษาขออนุมัติสั่งจ้างตามที่คณะกรรมการฯ เสนอ

                12. การทำสัญญา

12.1 กรณียังไม่ได้รับอนุมัติทางการเงิน  ห้ามทำสัญญาและห้ามอนุญาตให้ผู้เสนอราคาก่อสร้างก่อนการทำสัญญา

12.2 เมื่อหัวหน้าสถานศึกษาอนุมัติสั่งจ้าง  และได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว  ให้ดำเนินการดังนี้

          12.2.1 โรงเรียนแจ้งผลการอนุมัติจ้าง  และกำหนดวันทำสัญญา ให้ผู้ที่ชนะการสอบราคาทราบโดยตรง  หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ  พร้อมกับแจ้งให้นำหลักประกันสัญญามูลค่าร้อยละห้าของราคาที่ตกลงจ้างมาในวันทำสัญญาด้วย   การทำสัญญาให้ลงนามพร้อมกันทั้งผู้จ้าง  ผู้รับจ้าง  และพยาน  สำหรับการปิดอากรแสตมป์  กรณีราคาที่ตกลงจ้างไม่ถึง  200,000 บาท  ให้ใช้อากรแสตมป์ปิดสัญญา  โดยค่าอากร  1  บาท  จากทุกจำนวนเงิน  1,000 บาท  หรือเศษของ 1,000 บาท ของราคาตามสัญญาที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม  กรณีค่าจ้างตั้งแต่  200,000  บาทขึ้นไป  ให้นำสัญญาจ้างไปสลักหลังตราสารก่อนทำสัญญาหรือภายใน 15  วัน นับแต่วันถัดจากวันทำสัญญา  ณ  สำนักงานสรรพากร

          12.2.2 กรณียังไม่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงาน (กรณีเป็นงานก่อสร้าง)  ให้หัวหน้าสถานศึกษาลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงาน โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการจ้างจะประกอบด้วย  ประธานกรรมการ  1  คน  และกรรมการอย่างน้อย 2 คน  เช่นเดียวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาตามข้อ 2.1 (3)

          12.2.3 กรณีที่ผู้เสนอราคาตาม  12.2.1  ไม่ยอมมาทำสัญญาตามระยะเวลาที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการดังนี้

                          (1) รายงานตามลำดับถึงหัวหน้าส่วนราชการ พิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงานต่อไป

                          (2) แจ้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาเพื่อเรียกผู้เสนอราคาที่ได้เสนอราคาต่ำรายถัดไปตามลำดับ  และเสนอให้จ้างจากรายที่เสนอราคาอยู่ในวงเงินงบประมาณที่กำหนดไว้

                          (3) หากดำเนินการตาม  (2)  แล้วไม่ได้ผล  ก็ให้ดำเนินการสอบราคาใหม่ หรือดำเนินการโดยวิธีพิเศษต่อไป

12.3 เมื่อทำสัญญาแล้ว  ให้สำเนาสัญญาส่ง

          (1) กรมสรรพากร  หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด  แล้วแต่กรณีภายใน  30  วัน  นับแต่วันทำสัญญา  (เฉพาะสัญญาที่มีวงเงินตั้งแต่  1  ล้านบาทขึ้นไป)

          (2) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค  แล้วแต่กรณี  ภายใน  30  วัน  นับแต่วันทำสัญญา  (เฉพาะสัญญาที่มีวงเงินตั้งแต่  1  ล้านบาทขึ้นไป)

          (3) คณะกรรมการตรวจการจ้าง และผู้ควบคุมงาน  (กรณีงานก่อสร้าง)

          (4) หัวหน้าส่วนราชการ  และหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

สำหรับหน่วยงานตาม (2) และ (3)  ให้ส่งแบบรูปรายการและเอกสารที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาทุกรายการด้วย

                13. การส่งมอบงานของผู้รับจ้างให้มีหนังสือแจ้งส่งงานมอบให้แก่โรงเรียน  (ส่งงานสารบรรณเจ้าหน้าที่พัสดุ  หรือผู้ควบคุมงาน)  ผู้รับหนังสือส่งมอบงานจะต้องนำหนังสือไปให้งานสารบรรณลงรับในวันนั้นทันที  เว้นแต่จะไม่สามารถดำเนินการได้ทัน  ให้ลงรับในวันทำการถัดไป  และให้ส่งมอบให้แก่ผู้ควบคุมงานต่อไป

                14. การควบคุมงานก่อสร้าง  ผู้ควบคุมงานก่อสร้างต้องศึกษาแบบรูปรายการก่อสร้างและรายละเอียดประกอบ  รวมทั้งข้อกำหนดในสัญญาโดยละเอียดรวมตลอดจนหน้าที่ตามระเบียบฯ  และเมื่อผู้ควบคุมงานได้ตรวจงานเรียบร้อยแล้ว  ให้จัดส่งเจ้าหน้าที่พัสดุแจ้งการส่งมอบงานของผู้รับจ้างให้ประธานกรรมการตรวจการจ้างทราบเพื่อนัดกรรมการไปตรวจรับงาน  โดยผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ดังนี้

(1) ตรวจและควบคุมงาน  ณ  สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา  หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น  ๆ ทุกวันให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด  และข้อกำหนดไว้ในสัญญาทุกประการ  โดยสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร  และตามหลักวิชาช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา   ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดแล้วแต่กรณีไว้ก่อน  จนกว่าผู้รับจ้างจะยอมปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่ง และให้รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างทันที

(2) ในกรณีที่ปรากฏว่าแบบรูปรายการละเอียด หรือข้อกำหนดในสัญญามีข้อความขัดกัน หรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาแต่เมื่อสำเร็จแล้วจะไม่มั่นคงแข็งแรง  หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดีหรือไม่ปลอดภัยให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อน  แล้วรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างโดยเร็ว

(3) จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง  และเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวันพร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน  หรือการหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงานอย่างน้อย 2 ฉบับ  เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุเมื่อเสร็จงานแต่ละงวด  โดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่

                                การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย

(4) ในวันกำหนดลงมือทำการของผู้รับจ้างตามสัญญา  และในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่  ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน  3  วันทำการนับแต่วันถึงกำหนดนั้น  ๆ

กรณีผู้รับจ้างส่งมอบงานให้ผู้ควบคุมงานเร่งรัดดำเนินการตรวจงานให้แล้วเสร็จไปโดยเร็วที่สุด อย่างช้าไม่เกิน  3  วันทำการ  โดยการนับวันดำเนินการของผู้ควบคุมงานจะเริ่มนับจากวันถัดจากวันที่ผู้ควบคุมงานได้รับมอบหนังสือส่งงานแล้ว

ในกรณีที่ผู้ควบคุมงานไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาได้  ให้รายงานประธานกรรมการตรวจการจ้างพร้อมด้วยเหตุผลความจำเป็น

                14. การตรวจการจ้าง   คณะกรรมการตรวจการจ้างต้องศึกษาสัญญาจ้างก่อสร้าง  แบบรูปรายการก่อสร้าง  และเอกสารที่เป็นส่วนประกอบของสัญญาจ้าง  รวมทั้งหน้าที่ตามระเบียบโดยคณะกรรมการตรวจการจ้าง  มีหน้าที่ดังนี้

(1) ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง  และเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานรายงานโดยตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญาทุกสัปดาห์รวมทั้งรับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงาน  หรือพักงานของผู้ควบคุมงาน  แล้วรายงานหัวหน้าสถานศึกษาเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป

(2) การดำเนินการตาม (1) ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีกรณีที่เห็นว่าตามหลักวิชาการช่างไม่น่าจะเป็นไปได้  ให้ออกตรวจงานจ้าง  ณ  สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ โดยให้มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม  หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควรและตามหลักวิชาการช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา

(3) คณะกรรมการตรวจการจ้างจะต้องเร่งรัดดำเนิน

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ5
หมายเลขบันทึก: 340070เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท