MeCoPNetwork เครือข่ายสภาคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ: การตอบโจทย์สิทธิของผู้บริโภคสื่อ การคุ้มครองและโครงสร้างการทำงานระยะยาว


(๑) อะไรคือสิทะขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคสื่อ (๒) สถานการณ์อันเป็นปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ และ (๓) แนวทางในการจัดการปัญหาระยะยาว ด้วย เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ

บทความชิ้นนี้เพื่อทำให้เห็นปรากฎการณ์ด้านสิทธิของผู้บริโภคสื่อ และ แนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ตลอดจนโครงสร้างที่เอื้อต่อการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ

หากพิจารณาถึงความจำเป็นของการดำเนินการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ จะพบสถานการณ์อันเป็นปัญหาเบื้องต้นใน ๒ ส่วน
ส่วนที่ ๑  สถานการณ์อันเป็นปัญหาเฉพาะหน้า ในส่วนของสื่อเก่า กล่าวคือ โทรทัศน์ พบว่าในช่วงระหว่าง “ช่องว่าง” ของการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ ในขณะเดียวกัน ในด้านสื่อใหม่ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัญหาเรื่อง ข้อความในโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ SMS ที่ส่งเข้ามาในโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ ก่อให้เกิดผลกระทบในลักษณะต่างๆ
ส่วนที่ ๒  ปัญหาเรื่องของโครงสร้าง กลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ไม่ครบทุกสื่อ และ ขาดกลไกภาคประชาชน
จะเห็นได้ว่า หากพิจารณาในเรื่องของโครงสร้าง การคุ้มครองผู้บริโภคสื่อโดยเฉพาะนั้น จะพบว่า ประเทศไทย ไม่มีองค์กรหลักที่มีอำนาจหน้าที่หลักในการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อที่ครอบคลุมทุกสื่อ นอกจากนั้น องค์กรหลักที่มาจากภาคประชาชน ที่เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนเองก็ยังไม่ปรากฏชัด
ในขณะเดียวกัน หากพิจารณาจาก มาตรา ๖๑ วรรค ๒ ที่กำหนดให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆเพื่อคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย
 

       เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภคสื่อที่มีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมและตอบสนองต่อการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริง ทางแผนงานสื่อเพื่อสุขภาวะเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพจึงเริ่มต้นหารือกับเครือข่าย เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างและรูปแบบในการทำงาน รวมทั้ง การปฏิรูปกฎหมาย นโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ทั้งจาก (๑) ภาควิชาการ เช่น สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล และ โครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อและพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor) มูลนิธิศาสตราจารย์ คนึง ฦๅไชย (๒) ภาคประชาชน เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายครอบครัวอาสาเฝ้าระวังสื่อ  มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว  ขบวนการตาสับปะรด กลุ่มต้นกล้า และ (๓) ภาคองค์กรอิสระในกำกับของรัฐ เช่น สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จึงร่วมศึกษาแนวทางในการขับเคลื่อนเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสื่อในภาคประชาชนขึ้น

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม

หมายเลขบันทึก: 339853เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท