ตัวกลางในการสื่อสาร


ตัวกลางสื่อสาร

                                        ตัวกลางการสื่อสาร

                 ตัวกลางการสื่อสาร  คือตัวที่เป็นสื่อกลางในการนำสัญญาณการสื่อสารจากแหล่งผู้ส่งไปยังแหล่งผู้รับ

                                       ประเภทของตัวกลาง

เราสามารถแบ่งตัวกลางการสื่อสารออกได้เป็น  2 ประเภทหลักๆ  ดังนี้

 1.   ตัวกลางประเภทสาย 

ตัวกลางประเภทนี้  คือ  ตัวกลางที่ใช้สายเชื่อมต่อระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ  ซึ่งแบ่ง

ออกได้เป็น  2  กลุ่มใหญ่  ดังนี้

       1.1  สายส่งสัญญาณไฟฟ้า  ซึ่งมีดังนี้

             1)  สายคู่ตีเกลียว  ( Twisted  pair  Cable ) 

สายคู่ตีเกลียวเป็นสายสัญญาณที่มีราคาถูกที่สุดและนิยมใช้มากที่สุด  ภายในประกอบด้วยลวดทองแดง  2  เส้น  แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มแล้วนำมาพันกันเป็นเกลียว  การตีเกลียวที่สายทั้งสองนั้นก็เพื่อลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่อาจจะอยู่ห่างจากสายทั้งสองเส้นไม่เท่ากัน การส่งสัญญาณในสายคู่ตีเกลียวนั้นจะต้องมีการสูญเสียรูปแบบ  และมีลักษณะต่างๆ  ของสัญญาณขณะส่ง  จึงต้องมี  “  เครื่องทวนสัญญาณ  ( Repeater ) ”  เพื่อปรับแต่งสัญญาณให้กลับมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน   ระยะทางในการติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณนั้นจะกระทำทุกๆ  ระยะ   2 – 3  กิโลเมตร

             2)  สายเคเบิลแกนร่วมหรือโคแอกเชียล  ( Coaxial  Cable )

สายเคเบิลแกนร่วมหรือสายโคแอกเซียลเคเบิล  หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ  ว่า            

สายโคแอก  เป็นสายสื่อสารที่มีส่วนของสายส่งข้อมูลเป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง  มีตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่  2  ชั้น  ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง  ชั้นนอกเป็นเกลียวฟั่นและคั่นระหว่างชั้นด้วยฉนวนหนา  เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวนมีลักษณะเดียวกับสายทั่วไป    สามารถเดินสายใต้พื้นดินได้  นอกจากนั้นยังช่วยป้องกัน  การสะท้อนกลับ  ( Echo )  ของเสียงได้ 

       1.2  สายส่งสัญญาณแสง  ซึ่งมีดังนี้

             1)  เคเบิลใยแก้วนำแสง  หรือไฟเบอร์อฟติกส์  ( Fiber  Optic  Cable ) 

เคเบิลใยแก้วนำแสงเป็นตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูลในรูปของแสง  หลักการทั่วไปของการสื่อสารในสายไฟเบอร์ออฟติกส์  คือการเปลี่ยนสัญญาณข้อมูลหรือสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงก่อน  แล้วส่งผ่านสายไฟเบอร์ออฟติกส์ไปยังปลายทาง    ทางด้านเทคนิคการติดตั้งระบบนั้นจะทำการติดตั้งได้ยากเนื่องมาจากสายไฟเบอร์ออฟติกส์มีความแข็งแต่เปราะ  ทำให้ยากต่อการเดินสายตามที่ต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ  อีกทั้งการเชื่อมต่อระหว่างสายก็ทำได้ยาก  เพราะต้องคอยระวังในเรื่องการหักเหของแสง  การติดตั้งจึงต้องติดตั้งโดยช่างผู้ชำนาญการเท่านั้น

2.   ตัวกลางประเภทไร้สาย

ตัวกลางประเภทไร้สายได้แก่ตัวกลางที่ไม่ใช้สาย  ตัวกลางประเภทนี้เป็นระบบตัวกลางที่ส่งเป็นคลื่นวิทยุ  เช่น อากาศที่เราใช้ส่งคลื่นวิทยุ  คลื่นไมโครเวฟ    รวมทั้งการสื่อสารดาวเทียม 

                            ..........................................................

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 339511เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2010 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท