พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา


พระราชพงศาวดาร

การศึกษาประวัติศาสตร์ของไทย ส่วนใหญ่จะแหล่งข้อมูลของการค้นคว้า คือ

๑. บันทึกของไทย ส่วนใหญ่ก็คือจากพระราชพงศาวดาร

๒. วรรณกรรมในแบบของตำนาน นิทานพื้นบ้าน มุขปาฐะ

๓. บันทึกของชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย

๔. พงศวดารและนิทานหรือตำนานพื้นบ้านของประเทศใกล้เคียง

 

ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะพระราชพงศาวดารไทย

๑. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพวิมลมังคลาราม

๒. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระราชหัตถเลขา

๓. คำให้การของชาวกรุงเก่า

๔. คำให้การขุหลวงหาวัด

๕. พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต

๖. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)

๗. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรดิพงษ์

๘. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับบริติชมิวเซียม

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 339417เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2010 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทำไมจึงเรียกว่า ... พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์เรื่องนี้ไว้ในหนังสือ "นิทานโบราณคดี" เรื่อง "ประวัติการค้นหาเจดีย์ยุทธหัตถี" ดังนี้
เหตุทีจะพบพระเจดีย์ยุทธหัตถีนั้นก็อยู่ข้างแปลกประหลาด ดูเหมือนจะเป็นในปีแรกรัชกาลที่ ๖ พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาลลักษมณ์) เมื่อยังเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติ ช่วยเที่ยวหาหนังสือไทยฉบับเขียนของเก่าอันกระจัดกระจายอยู่ในพื้นเมือง ให้หอพระสมุดสำหรับพระนคร


วันหนึ่งไปเห็นยายแก่ที่บ้านแห่งหนึ่ง กำลังรวบรวมเอาสมุดไทยลงใส่กะชุ ถามว่าจะเอาไปไหน แกบอกว่าจะเอาไปเผาไฟทำสมุดสำหรับลงรัก พระยาปริยัติฯ ขออ่านดูหนังสือในสมุดเหล่านั้น เห็นเป็นหนังสือเรื่องพงศาวดารอยู่เล่มหนึ่ง จึงขอยายแก่เอามาส่งให้ฉันที่หอพระสมุดฯ ฉันเห็นเป็นสมุดของเก่าเขียนตัวบรรจงด้วยเส้นรง (มิใช่หรดาลที่ชอบใช้กันในชั้นหลัง)


พอเปิดออกอ่านก็ประหลาดใจด้วยขึ้นต้นมีบานแผนกว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตรัสสั่งให้รวบรวมจดหมายเหตุต่างๆ แต่งหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับนั้น เมื่อ ณ วันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๐๔๒ (พ.ศ. ๒๒๒๓) แปลกกับหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับอื่นๆ ที่มีอยู่ในหอพระสมุดฯ ฉันจึงให้เรียกว่า "พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสิฐฯ" เพื่อเป็นเกียรติยศแก่ผู้ได้มา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท