ประเภทของโปรแกรมค้นหา


โปรแกรมค้นหาเป็นเครื่องมือทีช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
 ประเภทของโปรแกรมค้นหา
                     โปรแกรมค้นหาแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ  1) Directory search tool หรือ Subject search  2)  Search engine tool หรือ Keyword search  3) Specialized search tool  4)  Multi-engine search tool หรือ Meta search (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552, เว็บไซต์)
                   1. Directory search tool หรือ Subject search
                    โปรแกรมค้นหาที่เรียงตามความสำคัญของหัวเรื่องที่เฉพาะเจาะจง หรือแบ่งหมวดหมู่ของเรื่อง (subject) ตามสาขาวิชาต่าง ๆ โดยใช้คนหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นผู้รวบรวมขึ้น (human editors) เช่น เรื่องใหญ่ sports มีเรื่องย่อย football basketball เป็นต้น จัดเก็บเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ โดยการเสนอแนะของเจ้าของเว็บไซต์ และผู้เชี่ยวชาญในการจัดหมวดหมู่หัวเรื่อง มีการกำหนดเกณฑ์การเลือก กำหนดหัวเรื่องไว้ในนามานุกรม และนามานุกรมย่อยมีการทำดรรชนีไว้เป็นฐานข้อมูล และมีกลไกการค้นโดยใช้แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

                     1.1 Academic directories รวบรวมเรื่องและแหล่งข้อมูลทางวิชาการ และวิชาชีพ

                     1.2 Commercial directories รวบรวมที่อยู่ของแหล่งข้อมูลด้านบันเทิง ธุรกิจ งานอดิเรก กีฬา การท่องเที่ยว

                     1.3 Portal directories สร้างขึ้นตามความสนใจเชิงพาณิชย์ เป็นเสมือน
ประตูสู่เว็บไซต์อื่น ๆ

                                 Catcha    (URL : http://www.catcha.co.th)

                                 Invisible  (URL: http://www.invisible-web.net)

                                 Lemononline  (URL : http://www.lemononline.com)

                                 Siamguru  (URL: http://siamguru.com)

                                 Thaiseek  (URL : http://www.thaiseek.com)

                                 Thaiwebhunter  (URL: http://www.thaiwebhunter.com)

                                 Yahoo   (http://www.yahoo.com)

                  2. Search engine tool หรือ Keyword search
                  โปรแกรมค้นหาที่ใช้คำสำคัญในการค้นหาซึ่งจัดเป็น Individual search engine  คือ เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมฐานข้อมูลเฉพาะในเว็บไซต์นั้น ประกอบไปด้วยแฟ้มข้อมูลหน้าเวิลด์ไวด์เว็บ จัดเก็บในรูปดรรชนี โดยใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ ที่เรียกว่า หุ่นยนต์ (robot) หรือ spider ซึ่งจะลัดเลาะไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ จากจุดเชื่อมโยงหนึ่งไปสู่อีกจุดเชื่อมโยงหนึ่ง ตามเครือข่ายที่โยงใยกันมากมายในอินเทอร์เน็ต เพื่อเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ต่าง ๆ ไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง หรือเป็นโปรแกรมค้นหาที่มีโปรแกรมหุ่นยนต์ดึงข้อมูลจากเวิลด์ไวด์เว็บอื่น ๆ มาทำดรรชนีเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลของตนเอง โดยทำหน้าที่เป็นเสมือนเว็บไซต์ของดรรชนี ข้อมูลที่เชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์อื่นๆ ที่มีข้อมูลนั้นอยู่ หรือเจ้าของเว็บเพจอาจส่งยูอาร์แอล มายังโปรแกรมค้นหาเว็บ เพื่อทำดรรชนีไว้เป็นฐานข้อมูล การทำดรรชนีในโปรแกรมค้นหามี 2 ประเภท คือ
                    2.1 Full-text indexing เป็นการดึงคำทุกคำในหน้าเอกสารมาทำดรรชนี

                    2.2 Keyword indexing เป็นการดึงเฉพาะคำสำคัญๆ มาทำดรรชนี
                           ตัวอย่างของโปรแกรมค้นหาเว็บประเภทนี้ มีดังนี้
                                 Google   (URL : http://www.google.com)

                                 About   (URL: http://www.about.com)

                                 Alta vista  (URL: http://www.altavista.com)

                                 Excite   (URL: http://www.excite.com)

                                 Hotbot   (URL : http://www.hotbot.com)

                                 Infoseek  (go.com) (URL:http://www.infoseek.com) หรือ (URL:http://www.go.com)

                                 Lycos   (URL: http://www.lycos.com)

                                 Magellan  (URL: http://www.magellan.com) หรือ(URL:http://webde.gaussvip.com/EMEA/DE/home.jsp)

                                 Webcrawler  (URL:http://www.webcrawler.com) หรือ
(URL:http://web.crawler.com/d/search/p/webcrawler)
                  3. Specialized search tool
                  โปรแกรมค้นหาที่จำกัดขอบเขตเรื่องที่ค้นหาเป็นหัวเรื่อง หรือประเภท
ข้อมูลเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อเทียบกับโปรแกรมค้นหาเว็บอื่น อาจหาพบได้ช้ากว่า แต่จะได้ยูอาร์แอลที่ตรงประเด็นมาก ตัวอย่างโปรแกรมค้นหาเว็บประเภทนี้ มีดังนี้
                                 Ah Ha   (URL:http://www.ah-ha.com)

                                 Bigfoot   (URL:http://www.bigfoot.com)

                                 Ditto   (URL:http://www.ditto.com)

                                 Fast Search  (URL:http://www.fastsearch.com)

                                 Forum One  (URL:http://www.forumone.com)

                                 Meduxplorer  (URL:http://www.medfxplorer.com)

                  4.  Multi-engine search tool หรือ Meta-Search 
                  การค้นข้อมูลจากหลาย ๆ โปรแกรมค้นหาพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นโปรแกรม
ในการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลหลาย ๆ โปรแกรมค้นหา โดยการป้อนข้อคำถาม (query) ให้ส่งไปค้นยังโปรแกรมค้นหา ที่กำหนดแล้วรวมผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงผลไว้หน้าเอกสารเดียว โดยไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง ใช้ค้นเมื่อต้องการหาข้อมูลเฉพาะเรื่องอย่างเร่งด่วน รวมทั้งข้อมูลใหม่ ๆ ตัวอย่างของโปรแกรมค้นหาเว็บประเภทนี้ มีดังนี้
                                 AII4One  (URL:http://www.all4one.com)

                                 AskJeeves  (URL : http://www.askjeeves.com/)

                                 Cyber 411  (URL : http:/www:cyber411.com)

                                 Dogpile   (URL: http://www.dogpile.com/

                                 HighWay61  (URL: http://www.highway61.com/)

                                 Infild   (URL: http://www.infind.com)

                                 InvisibleWeb  (URL: http://www.invisibleweb.com)

                                 IxQuick   (URL: http://www.ixquick.com/)

                                 MetaCrawler  (URL: http://www.go2net.com/search.html)

                                 Profusion  (URL: http://www.profusion.com)

                                 SavvySearch  (URL: http://www.savvysearch.com)
                  จากผลการสำรวจการจัดอันดับความนิยมของโปรแกรมค้นหาจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เป็นสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร สามารถสรุปผลความนิยมโปรแกรมค้นหายอด นิยม 3 อันดับแรก คือ Google Yahoo! MSN/Live (SEO Consultants Directory, 2009)
                  ในเรื่องของความถี่ในการปรับปรุง Google มีการเรียบเรียงดรรชนีของฐานข้อมูลที่มีอยู่เป็นประจำทุกวัน จะเก็บบันทึกไว้ประมาณ 2-3 วัน
                  โดยโปรแกรมค้นหา Fast มีนโยบายจะปรับปรุงฐานข้อมูลทุก 9 วัน ปรับให้เป็นปัจจุบันประมาณ 1 สัปดาห์ 

                  เกร็ก อาร์ โนเทสส์ (Greg R. Notess) ได้ทดสอบเปรียบเทียบผลความถี่ในการปรับปรุงของโปรแกรมค้นหาจำนวน 12 เว็บไซต์ โดยการเปรียบเทียบหัวข้อจากโปรแกรมค้นหาต่อวัน และการทดสอบนี้ก็ได้เริ่มขึ้น โดยพิจารณาถึงความแตกต่างของเรื่องเวลาการใช้โปรแกรมค้นหาแต่ละตัวด้วย ผลสรุปพบว่าโปรแกรมค้นหาที่มีความเป็นปัจจุบันคือ Google, Inktomi Hotbot และ Fast นอกจากนี้การทดสอบยังพบว่า โปรแกรมค้นหามีความเป็นปัจจุบันในช่วงเวลาต่อไปนี้
                                      AltaVista  ต้นเดือนเมษายน

                                      Teoma   ต้นเดือนพฤษภาคม

                                      Excite   20 – 22 พฤษภาคม

                                      Northern Light  พฤษภาคม – กรกฎาคม

                                      Wisenut   กลางเดือนมิถุนายน

                                      Google   ต้นเดือนกรกฎาคม

                                      MSN   กลางเดือนกรกฎาคม

                                      Hot Bot   กลางเดือนกรกฎาคม – ปลายเดือนกรกฎาคม

                                      Fast   ปลายเดือนกรกฎาคม
    
 
คำสำคัญ (Tags): #โปรแกรมค้นหา
หมายเลขบันทึก: 339299เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2010 06:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณนะจ๊ะ...สำหรับข้อมูลดีๆที่นำเสนอ มีประโยชน์มากค่ะ

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆ ผมได้การบ้านส่งครูแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท