ประเทศไทยกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง


เมื่อมีอุปสรรคอันเกิดขึ้นเนื่องจากการไม่มีกฎหมายภายใน หรือมีกฎหมายภายในแต่ไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง หรือการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยมีการตั้งรับกับสิ่งเหล่านี้อย่างไรบ้าง

ในปีค.ศ.1948 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ในฐานะที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการเคารพสิทธิมนุษยชนพื้นฐานของทุกชาติในโลก และหลังจากนั้นมาก็มีความพยายามในการทำให้การปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำภายใต้ปฏิญญาสากลนั้นชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในปีค.ศ.1966 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจึงได้รับรองกติการะหว่างประเทศขึ้นมาอีก 2 ฉบับ คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic Social and Cultural Rights)

ในส่วนของกติกา ICCPR ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ.1996 (พ.ศ.2539) โดยมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ.1997 (พ.ศ.2540) โดยมีการทำถ้อยแถลงตีความไว้ใน 4 ประเด็น คือ ข้อ 2 วรรค 1 ข้อ 6 วรรค 5 ข้อ 9 วรรค 3 และข้อ 20 วรรค 1

หน้าที่หนึ่งของประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีที่จะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามกติกาฯ คือ การเสนอรายงานประเทศเพื่อประเมินผลการปฏิบัติตามกติกาฯ โดยมีเนื้อหาของการรายงานดังต่อไปนี้

ประการแรก ประเทศไทยจะต้องชี้แจงให้เห็นถึงกฎหมายภายในที่รองรับกับบทบัญญัติภายในกติกาฯ

ประการที่สอง ประเทศไทยต้องรายงานถึงประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายภายในนั้นๆ ว่าใช้ได้จริงหรือไม่ได้จริงอย่างไร และ

ประการสุดท้าย เมื่อมีอุปสรรคอันเกิดขึ้นเนื่องจากการไม่มีกฎหมายภายใน หรือมีกฎหมายภายในแต่ไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง หรือการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยมีการตั้งรับกับสิ่งเหล่านี้อย่างไรบ้าง

ประเทศไทยจึงมีหน้าที่ต้องเสนอรายงานฉบับแรกต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติภายใน 1 ปี นับจากวันที่กติกาฉบับนี้มีผลบังคับใช้ และต้องเสนอรายงานฉบับต่อๆ ไปทุกๆ 5 ปี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้เสนอรายงานฉบับแรกไปเมื่อปี พ.ศ.2547 และคณะผู้แทนไทยได้เดินทางไปรายงานด้วยวาจา ณ นครเจนีวา เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2548 ภายหลังจากการส่งรายงานเอกสารฉบับแรกและการรายงานด้วยวาจา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็ได้มีข้อห่วงใยและข้อเสนอะแนะ (Concluding Observations) ในสถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเพิ่มเติมมาทั้งหมด 24 ข้อ ซึ่งเป็นภารกิจที่ต้องชี้แจงต่อในรายงานฉบับที่ 2 รวมทั้งการรายงานความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามกติกา ICCPR ในข้อบท 27 ข้อบท (ข้อ 1 – 27 ซึ่งเป็นเนื้อหาในส่วนสาระของสิทธิภายใต้กติกาฯ)

หมายเลขบันทึก: 339184เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2010 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท