KM ของสำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว


สังเกตที่ใบหน้า แววตา น้ำเสียง ของผู้เล่า บ่งบอกว่าสิ่งที่เล่านั้น ผู้เล่ามีความภาคภูมิใจจริงจริง

           เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา  (19 กพ.53) ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดการความรู้ในกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว   จัดโดย สำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว  ที่ห้องประชุมสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว  กรมการข้าว  ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน  โดยมีอาจารย์แพทย์นันทา  อ่วมกุล  เป็นวิทยากร   ผู้เขียนไปในฐานะผู้ช่วยวิทยากร     เริ่มต้นด้วยการบรรยาย ปูพื้นความรู้  เรื่อง KM แล้วต่อด้วยการแบ่งกลุ่ม  เลือกคุณอำนวย  คุณลิขิต    คุณกิจ เล่าเรื่องความสำเร็จที่ภาคภูมิใจ  สรุปปัจจัยความสำเร็จจากเรื่องเล่าทั้งหมด  และเคล็ดลับวิธีคิดและวิธีการทำงานจากเรื่องเล่า  และนำเสนอ 

           งานของสำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว  เป็นอะไรที่อยู่นอก Field ของงานสาธารณสุข  แต่เมื่อเข้ากลุ่มแล้ว  โอ้โห  คุณอำนวย  คุณลิขิต  มืออาชีพ จริง ๆ  เรื่องราวที่เล่าในกลุ่ม ก็น่าตื่นตาตื่นใจ  เรื่องแรก เป็นเรื่องของศูนย์เมล็ดพันธุ์พืชที่สุโขทัย  ที่นำเรื่อง IT มาผสมผสานกับกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว  โดยนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บข้อมูลเกษตรกรที่เป็นสมาชิก  เป็นการรวบรวมข้อมูลเกษตรกรเป็นรายบุคคล  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนงานได้มากมาย  เช่นการเตรียมเรื่องงบประมาณในการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว  การทำนายผลผลิต  การป้องกันการระบาดของศัตรูพืช  การวางแผนจัดการเรื่องโรงงาน  ฯลฯ  นับเป็นการมองการณ์ไกลและใช้ความรู้และทักษะส่วนตัวที่มีอยู่มาปรับใช้กับงานได้เป็นอย่างดี   เรื่องที่สอง เป็นเรื่องของศูนย์ฯพัทลุง คุณอำนวยของกลุ่มนี่เอง  นำเรื่องการ Approach กลุ่มต่าง ๆ ของสมาชิก  ว่ากลุ่มที่มีความแตกต่าง ๆ ใช้วิธีApproach ที่ต่างกัน กลุ่มที่มีอิทธิพลทางการเมืองในท้องถิ่น เข้าหาแบบหนึ่ง กลุ่มที่ไม่มีความเข้มแข็ง  หรือไม่มีผู้นำเลย จะจัดการแบบหนึ่ง คืออาจต้องหาคนอื่นที่อยู่นอกกกลุ่มมาเป็นผู้นำ  เรื่องนี้เป็นเรื่องน่าสนใจมาก  ซึ่งหากมีเวลาคงต้องเจาะในรายละเอียดให้มากกว่านี้  ยังนึกว่านี่แหล่ะ  ไม่ว่าจะเป็นงานของกระทรวงเกษตร หรือสาธารณสุข ก็เหมือนกันตรงนี้ แหล่ะ ต้องศึกษาชุมชนก่อน  ทั้งเรื่อง สังคม การเมือง วัฒนธรรม  การปกครอง  และเลือกวิธีทาง Approach  ที่เหมาะสม  จึงจะทำงานกับชุมชนได้    เรื่องสุดท้าย  แม้จะผ่านมาเป็นเวลามากกว่า 30 ปี แต่ยังเป็นความภาคภูมิใจที่ผู้เล่าเล่าด้วยสีหน้า แววตา น้ำเสียง ที่มีความสุข และภาคภูมิใจจริง ๆ เป็นเรื่องของส่วนกลางที่ได้รับมอบหมายให้เข้าไปก่อสร้างศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวที่จังหวัดพัทลุงเมื่อ 30 ปีก่อน  ไปคนเดียว  ต้องเข้าไปคลุกคลีกับชาวบ้าน  ผู้นำ  และหน่วยงานทางการทหาร  ใช้ความจริงใจ  ซื่อสัตย์  ตรงไปตรงมา  จนทำให้งานสำเร็จ  เรื่องที่ภูมิใจที่สุด คงเป็นการที่สามารถเพิ่มเนื้อที่ของศูนย์ฯพัทลุง จาก 50 กว่าไร่ เป็น100 กว่าไร่  โดยใช้ความสัมพันธ์ที่ดีกับตชด.ที่อยู่ติดกัน

หมายเลขบันทึก: 339039เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2010 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท