เด็กกินยาแก้ไอแล้วมันเกี่ยวกับ Punishment ยังไง


ืยาแก้ไอกินแล้วโดนตีไม่เจ็บจริงหรือ ???

หลายคนที่ได้อ่านข่าวการกินยาแก้ไอของเด็กชั้นประถมจนต้องเข้าไปล้างท้องที่โรงพยาบาลจำนวนมากนั้น คงเกิดคำถามว่ายาแก้ไอนัน้กินแล้วอันตรายจริงหรือ???

หลายคนที่ยังไม่ทราบถึงข่าวนี้ ก็ขอเล่าให้ฟังคร่าว ๆ นะครับ คือเรื่องมันเกิดจาก เด็กนักเรียนที่ไปเล่นเกมที่ร้านเกมกลุ่มหนึ่ง ไปซื้อยาที่ร้านเกมมีจำหน่าย โดยเจ้าของร้านเกมบอกสรรพคุณว่า กินแล้วคึก ตีไม่เจ็บ อารมณ์ดีตลอดวัน ก็มีนักเรียนลองยานี้มาเรื่อย ๆ จนเริ่มแพร่หลายในหมู่นักเรียน จนกระทั่งวันหนึ่งก็มีนัเรียนนำยาไปขายต่อทีโรงเรียนโดยอ้างว่าถ้าโดนตีแล้วจะไม่เจ็บ ไม่ต้องกลัวการลงโทษ เด็กก็กินกันมาก ๆ จนยาเกินขนาดต้องส่งโรงพยาบาลกันหลายสิบคนอย่างที่เป็นข่าวครับ

ยาแก้ไอตัวที่ว่าคือ เด็กซ์โตรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นยาที่หาได้ตามร้านขายยาทั่วไปครับ ราคาตกเม็ดละไม่ถึงบาท กินแล้วหยุดการไอได้ดีเลยครับ ส่วนสรรพคุณตามที่เด็กอ้่างนั้น เท่าที่ผมได้ศึกษามามีเพียงอาการ  มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย ปวดหัว ซึ่งจากข่าวที่เห็นเด็กหลายคนคงกินยาจน overdose แล้วมีอาการจนต้องไปโรงพยาบาลครับ

อาการที่เด็กบอกว่าคึกเนี่ยคงเป็นอาการกระสับกระส่ายมาก ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นผลข้างเคียงที่เราไม่ได้ต้องการแต่อย่างใด จากเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ทำให้คิดได้ดังนี้ครับ

 ในเด็กที่ใช้ยาคงเป็นเด็กที่กลัวการลงโทษ ซึ่งมันได้สะท้อนค่านิยมในการเรียนของสังคมไทยมาตลอด เราคงได้ยินว่า "ไม้เรียวสร้างคนให้เป็นคน" ทำให้คิดว่าเราต้องใช้ การลงโทษหรือทางจิตวิทยาเรีกว่า Punishment เป็นการปรับพฤติกรรมการไม่ส่งการบ้านให้เป็นส่งการบ้าน หลายคนได้ศึกษาว่าลงโทษนั้นดีจริงหรือเปล่า 

คำตอบก็คือ "ไม่ครับ" หลักฐานก็คือ กฎหมายบ้านเมืองที่เรามีบทลงโทษกันอย่างชัดเจนนี่แหละครับ บางครั้งพอมีคนนึง "ฝ่า" อีกคนก็ยึดหลักประชาธิปไตยว่า "มึงได้ กูก็ต้องได้ นี่แหละประชาธิปไตย"สุดท้ายการลงโทษหรือ Punishment ก็ไม่ได้ผลซักที

อยากฝากให้หลาย ๆ คนโดยเฉพาะคุณครูที่มาอ่านได้ทราบว่า Punishment ไม่ใช่วิธีที่ดีครับ ส่วนวิธีที่ดีตามหลัก Psychology ทำกันอย่างไรจะมาบอกต่อ ๆ ไปครับ

คำสำคัญ (Tags): #punishment
หมายเลขบันทึก: 338988เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2010 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เด็กหลงเชื่อตามคำชวนและเด็กอยากลอง เลียนแบบเพื่อนที่กินยามากกว่าไหมคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท