คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน


คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันแต่การใช้แตกต่างกัน

                                                     คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                         

คำที่มีความหมายเหมือนกัน  หรือใกล้เคียงกัน  คือคำที่เขียนไม่เหมือนกัน  แต่มีความหมายเหมือนกัน  หรือใกล้เคียงกัน  จะแตกต่างกันตรงการใช้  โดยจะยึดความหมายในประโยครวม  หรือ ประธานเป็นหลัก

กฎเกณฑ์                   - หลักเกณฑ์, ข้อกำหนดที่วางไว้เป็นหลัก

กฎหมาย                   - บทบัญญัติซึ่งตราขึ้นไว้ในบริหารประเทศและบังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม     

ข้อกำหนด                 - ข้อความที่ออกบังคับแก่บุคคลของสถาบัน คณะบุคคลหรือนิติบุคคล

ข้อบังคับ                   - ข้อความที่กำหนดหรือบัญญัติให้เป็นระเบียบในการปฏิบัติระเบียบแบบแผน

  ที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติ หรือดำเนินการ

ระเบียบการ                - ข้อกำหนดหรือข้อบังคับที่บัญญัติขึ้นเป็นแนวปฏิบัติ

กบดาน                     - นอนพังพาบกับพื้นใต้น้ำ  อย่างอาการของจระเข้ โดยปริยาย หมายถึง

                                            หลบซ่อนตัวไม่ออกมา      

หลบซ่อน                  - หลีก,แอบ,เลี่ยงไม่ให้พบ

กรมธรรม์                  - สัญญาซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ และต้องจดทะเบียน

สัญญา                     - (ก) ให้คำมั่น , ทำความตกลงกัน

(น) ข้อตกลงระหว่างบุคคล๒ ฝ่ายว่าจะทำหรือละเว้นการกระทำ อย่างใดอย่างหนึ่ง

 

กระฉูด                     - พุ่งออก ,  พุ่งออกไป

พุ่งออก                     - อาการที่น้ำหรือไฟพวยพุ่งออกไป

เสือก                       - ไสไป  , ผลักไป , แส้ , ทะลึ่ง

ทะลึ่ง                      - ถีบตัวพรวดขึ้นมา

กระฉับกระเฉง            - คล่องแคล่ว, กระปรี้กระเปร่า

กระปรี้กระเปร่า           - แคล่วคล่องว่องไว  เพราะมีกำลังวังชา,  กระฉับกระเฉง

  ไม่เนิบนาบ

กระชุ่มกระชวย            -   มีอาการกระปรี้กระเปร่า , สดชื่น , มีผิวพรรณสดใส

กระจ่าง                    -   สว่าง ,สุกใส , ชัดเจน

แจ่ม                        -   กระจ่างชัด,  แจ่มกระจ่าง

ชัด                         -   ประจักษ์แจ้ง , โชติช่วง

รุ่งโรจน์                    -   กระจ่างแจ้ง , โชติช่วง

โชติช่วง                             -   สว่างรุ่งโรจน์  , ช่วงโชติ

กระโจน                   -   กระโดดพุ่งลงไป, เผ่นข้ามไป

กระโดด                    -   ใช้กำลังเท้าทั้งสองถีบพื้น ให้ตัวลอยสูงขึ้น

เผ่น                        -   อาการที่กระโดด โจนไปโดยไม่รั้งรอ

กระชาก                    -   ฉุดโดยแรง , กระตุกโดยแรง

กระตุก                     -   ชักเข้ามาโดยเร็วทันที

ดึง                          -   เหนี่ยวมา , ฉุดมา, รั้งมา

ฉุด                         -   ออกแรงลากหรือดึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

กระบวนการ               -   ขบวน, วิธีการ , ลำดับรายการ

ขบวน                      -   กระบวนการ  , พวกที่จัดเป็นแถว หรือเป็นแนว

แบบแผน                  -   ขนบธรรมเนียมที่กำหนดใช้หรือเคยประพฤติปฏิบัติมา

กระเสือกกระสน          -   ดิ้นรนเพื่อให้พ้นความทุกข์ยาก

ดิ้นรน                      -   กระตือรือร้น  , ขวนขวายเพื่อให้พ้นจากความยากลำบาก

กระตือรือร้น               -   รีบร้อน ,เร่งรีบ, ขมีขมัน , มีใจฝักใฝ่เร่งร้อน

กระวนกระวาย            -   วุ่นวายใจ ,แสดงอาการไม่เป็นสุข

กระหน                    -   ดิ้นรน , เดือดร้อน ,กระวนกระวาย

กรุณา                      -   ความสงสาร  คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์

โปรด                       -   ถูกใจ  ,พอใจมาก, แสดงความเมตตากรุณา

เมตตา                      -   ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข  ความรักและเอ็นดู

กลุ้มใจ                     -   รู้สึกรำคาญหรือยุ่งยากใจ

อึดอัดใจ                    -   คับอกคับใจ,ไม่ปลอดโปร่ง,ไม่คล่อง

เหนื่อยใจ                  -   จิตใจรู้สึกเหนื่อย ,อ่อนแรง, อิดโรย

กลับกลอก                 -   ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง

ตลบตะแลง                -   พลิกแพลงด้วยเล่ห์เหลี่ยมให้หลงเชื่อ, ปลิ้นปล้อน

สับปลับ                    -   พูดกลับกลอกเชื่อไม่ได้

ปลิ้นปล้อน                -   ใช้อุบายล่อลวงเพื่อให้สำเร็จแก่ประโยชน์      

กักขัง                       -   บังคับให้อยู่ในสถานที่อันจำกัด

กักกัน                      -   กำหนดเขตให้อยู่

กักบริเวณ                  -   บังคับให้อยู่ในบริเวณที่กำหนดไว้      

กัลยาณี                     -   นางงาม  ,หญิงงาม

กันยา                       -   นางงาม

กัญญา                      -   นางงาม , สาวน้อย            

กัด                          -   เอาหน้าฟันกดลงโดยแรง เพื่อให้ทะลุให้ฉีกขาด

กิน                         -   เคี้ยว, เคี้ยวกลืน , ดื่ม

ขบ                         -   เอาฟันเน้นเพื่อให้แตก

เคี้ยว                        -   บดให้แหลกด้วยฟัน

กันดาร                     -   อัตคัด, ฝืดเคือง. ลำบาก, แห้งแล้ง

แห้งแล้ง                             -   ปราศจากความชุ่มชื้น, ปราศจากความสดชื่น ,  แร้นแค้น

อัตคัด                      -   ขัดสน , ขาดแคลน , ฝืดเคือง

กาล                        -   เวลา , คราว, ครั้ง,  หน

เวลา                        -   ชั่วขณะความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่  โดยนิยมกำหนดขึ้น

     เป็นครั้งคราว  

                                               วัน  เดือน ปี  เป็นต้น

ก้าวหน้า                             -   เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นตามลำดับ

เจริญ                       -   เติบโต  , งอกงาม , มากขึ้น

รุ่งเรือง                     -   สว่างไสว, งามสุกใส, เจริญ, งาม

กำแหง                     -   แข็งแรง, กล้าแข็ง, เข้มแข็ง, อวดดี

กล้า                        -   ไม่กลัว , ไม่ครั่นคร้าม

เข้มแข็ง                    -   ขยันขันแข็ง, ไม่ย่อท้อ, ไม่หวั่นไหว, แข็งแรงในการทำงาน

อวดดี                       -   ทะนงใจว่าตนดี  , ถือดี

อวดเก่ง                    -   สำแดงให้รู้เห็น, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติเช่นนั้น

    ทั้ง ๆ ที่มิได้มี

กิจกรรม          -   การที่ผู้เรียนปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้

กิจการ                      -   การงานที่ประกอบ  ,ธุระ

ธุรกิจ                       -   การงานประจำเกี่ยวกับอาชีพค้าขาย   หรือกิจการอย่างอื่น

แหนงใจ                   -   หมางใจ, ระแวงแคลงใจ

ระแวง                     -   แคลงใจ, ชักจะสงสัย , เอียงไป       

เกาะ                        -   จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่

ติด                          -   แนบอยู่, ประดับ, ผนึก, ต่อเนื่องอย่างใกล้ชิด

เกรียวกราว                 -   เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, ที่รู้และพูดกันทั่วไป

ฉาวโฉ่                     -   อื้ออึง, เกรียวกราว, รู้กันทั่วไป

เกี่ยวข้อง                   -   ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ , ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง

เกี่ยวพัน                    -   ติดเนื่องกัน, พัวพันเกี่ยวโยง

เกี่ยวโยง                   -   ต่อเนื่องไปถึง

พาดพิง                     -   เกี่ยวโยงพาดพิง

พัวพัน                     -   เกี่ยวโยงข้องเกี่ยวกันอยู่

ผูกพัน                      -   ติดพัน, เอาใจใส่, ใฝ่ใจ, รักใคร่

ผูกมัด                      -   ผูกพันไว้แน่น        

เกรียงไกร                  -   ใหญ่ยิ่ง

มหึมา                      -   ใหญ่ , โต

มโหฬาร                   -   ยิ่งใหญ่, กว้างใหญ่

ยิ่งใหญ่                    -   ใหญ่โต , มโหฬาร,เต็มที่

แก้ไข                       -   ดัดแปลงให้ดีขึ้น

ชำระ                       -   ชะล้างให้สะอาด, สะสาง,ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น, พิจารณา

ปฏิรูป                      -   ปรับปรุงให้สมควร

สะสาง                     -   ทำเรื่องที่มีปัญหาหรือสิ่งที่สะสมหมักหมมอยู่ให้หายยุ่ง

แก้ตัว                       -   พูดหรือทำเพื่อปลดเปลื้องความผิด  หรือข้อผิดพลาดของตน

แก้มือ                      -   ขอสู้ใหม่,ทำสิ่งที่เสียไปให้ดีขึ้น

แก้เผ็ด                      -   ทำตอบแก่ผู้ที่เคยทำความเจ็บปวดให้แก่ตนให้สาสมกัน

แก้แค้น                    -   ทำตอบแทนให้หายเจ็บแค้น

แก้ลำ                       -   ใช้ชั้นเชิงตอบโต้กลับไป

ปลดเปลื้อง                 -   ทำให้หลุดพ้นเพื่อแบ่งเบาหรือให้หมดไป

กุลีกุจอ                     -   ช่วยจัดช่วยทำอย่างงเอาจริงเอาจัง

ขะมักเขม้น                -   ตั้งใจทำอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้วเสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทำ

ขมีขมัน                    -   รีบเร่งในทันทีทันใด

กริ้ว                        -   โกรธ, เคือง

โกรธ                       -   ขุ่นเคืองใจอย่างแรง,  ไม่พอใจอย่างรุนแรง

โมโห                      -   โกรธ

เคือง                       -   ไม่พอใจเพราะรู้สึกโกรธ, ระคาย, รำคาญ

แค้น                        -   โกรธเจ็บใจอยู่ไม่หาย

ขุ่นเคือง                    -   โกรธกรุ่น ๆ อยู่ในใจ

ขุ่นแค้น                    -   โกรธอย่างเจ็บใจ

ขมขื่น                      -    รู้สึกช้ำใจแต่ต้องฝืนไว้เพราะไม่กล้าแสดงออก

ข่มขี่                        -    กดขี่

ข่มขู่                        -    ทำให้กลัว,  ทำให้เสียขวัญ

ข่มเหง                     -    ใช้กำลังรังแก,ทำความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น

ขยาย                       -    อธิบาย , ชี้แจง, เปิดเผย,  คลายให้หายแน่น,ทำให้มากขึ้น

เพิ่มเติม                    -    ทำให้มากขึ้นจนพอ

เสริม                       -    เพิ่ม, เติม , ต่อเติม, หนุน, กระตุ้น

ต่อ                          -    เพิ่มให้ยืดออกไป  ,เพิ่มให้ยาวขึ้น

เผย                         -    ค่อยๆ  ขยายออก, ค่อย ๆ แย้มออก

ขว้าง                       -    เอี้ยวตัวเบี่ยงแขนไปด้านหลัง แล้วโยนสิ่งที่อยู่ในมือ

     ออกไปโดยแรง

 ปา                         -    ซัดไปด้วยการยกแขนขึ้นสูงแล้วเอี้ยวตัว

โยน                        -    ขว้างโดยอาการเหวี่ยงแขนไปข้างหน้า

เหวี่ยง                      -    ขว้างโดยอาการเหวี่ยงแขนไปข้างหน้า

ขัด                          -     ให้ติดขวางไว้ไม่ให้หลุด,ไม่ทำ,ขืนไว้,ไม่ลงรอยกัน

เหน็บ                      -    เสียง, สอดไว้ในที่บังคับ แคะไค้,เสียดสี

ขัดขวาง                    -    ทำให้ไม่สะดวก,ทำให้ติดขัด

ขัดข้อง                     -    ไม่ยอมให้ทำ,ไม่ตกลงด้วย,ติดขัด

ขัดขืน                      -    ไม่ประพฤติตาม,ไม่ทำตาม

ขายหน้า                             -    อับอาย

เสียชื่อ                     -    ทำให้ชื่อเสียงไม่ดี, ทำให้คนอื่นไม่นับถือตน

อับอาย                     -    อายไม่กล้าสู้หน้า, ขายหน้า

ข่าวโคมลอย               -    ข่าวที่ไม่เป็นจริง, ข่าวที่เชื่อถือไม่ได้

ข่าวยกเมฆ                 -    ข่าวที่ไม่มีมูล,  ข่าวเหลวไหล

ขัดคอ                      -    พูดจาขัดแย้ง,ไม่ให้ทำได้โดยสะดวก

ขัดจังหวะ                  -    แทรกเข้ามาในระหว่างร้องรำ,  ขวางเข้ามาเพื่อไม่ให้ทำหรือพูดโดยสะดวกขัดแย้ง -    ไม่ลงรอยกัน

ขัดบท                      -    แทรกเข้ามาในขณะที่ผู้อื่นยังพูดไม่จบเรื่อง

ขี้เหร่                       -    ไม่สวย,ไม่งาม

น่าเกลียด                   -    ไม่สวย,ไม่งาม,ไม่น่าดู

ขู่เข็ญ                       -    ทำให้กลัวโดยบังเอิญ

คุกคาม                     -    แสดงอำนาจด้วยกิริยา หรือวาจา  ทำให้หวาดกลัว

บังคับ                      -    ใช้อำนาจสั่งให้ทำ

เข็น                        -    ดันให้เคลื่อนไปข้างหน้า , กวดขัน

ดัน                         -    ผลักเพื่อให้เคลื่อนไปด้วยกำลัง

ผลัก                        -    ใช้มือดันให้พ้นตัวหรือให้เคลื่อนที่ไป

เสือก                       -    ไสไป ,ผลักไป,ทะลึ่ง ,แส่

ทะลึ่ง                      -    ถีบตัวพรวดขึ้นมา

ขยับ                        -    เคลื่อนไหวหรือทำท่าอย่างใดอย่างหนึ่ง , เคลื่อนที่ ,ค่อนข้าง

เขยื้อน                     -    เคลื่อนที่ไปเล็กน้อย

เคลื่อน                     -    ออกจากที่, เลื่อนไปจากที่

เลื่อน                       -    เคลื่อนหรือย้ายจากที่เดิม  เปลี่ยนเวลาจากที่กำหนดไว้เดิม

ครรไล                     -    ไคล., ไป

ไคล                        -    ไป

คลาไคล                    -    เดินไป , เคลื่อนไป

ไป                          -    เคลื่อนออกจากที่

คด                          -    ลักษณะที่ไม่ตรงตลอด

งอ                          -    ลักษณะที่มีส่วนหักโค้งเข้าหาตัวมันเอง

โค้ง                        -    ทำให้น้อมลง

คม                          -    ไม่ทื่อ , ชัดเจน , เฉียบแหลม

ชัด                         -    ประจักษ์แจ้ง, ไม่ผิดเพี้ยน

ประจักษ์                   -    ปรากฏชัด

แหลม                      -    ไว , ฉลาด, จัด

คมคาย                     -    ฉลาด,ทันคน , ไหวพริบดี, มีแววฉลาด

แยบคาย                    -    เข้าที  ,เหมาะกับเหตุผล

หลักแหลม                 -    คมคาย , เฉียบแหลม

ครหา                       -    ติเตียน  , ติโทษ

ตำหนิ                      -    ติเตียน     

นินทา                      -    ติเตียนลับหลัง

ครอบครอง                -     ยึดถือไว้ ,มีสิทธิ์ถือเอาเป็นเจ้าของ, มีสิทธิปกครอง

คุ้มครอง          -    ป้องกันรักษา, ระวังรักษา , ปกป้องรักษา

เจ้าของ                     -    ผู้มีกรรมสิทธิ์,ผู้มีสิทธิครอบครอง

อารักขา                    -    การป้องกันให้,ความคุ้มครอง, ความดูแล

คร่ำคร่า                    -    เก่าแก่จนชำรุดทรุดโทรม

คร่ำครึ                      -    เก่าเกินไป,ไม่ทันสมัย

ทรุดโทรม                  -    เสื่อมไป เพราะร่วงโรย  คว่ำคร่า

มอซอ                                     -      ดำคล้ำ,ไม่ผ่องใส,หม่นหมอง

เก่า                                          -      ก่อน,ไม่ใหม่

 

คำสั่ง      ให้พิจารณาประโยคต่อไปนี้  ว่าสมควรใช้คำใดจึงจะถูกต้องเหมาะสม

๑.       บ้านเมืองมีการกำหนด ( กฎเกณฑ์    กฎหมาย  )  เพื่อความสงบสุขของพลเมือง

๒.      เมื่อตำรวจกวดขัน  โจรสะพานลอยก็ (หลบซ่อน     กบดาน)   เงียบ ไม่ปรากฏตัว

๓.      น้ำผึ้งเป็นยาอายุวัฒนะที่คนสูงอายุดื่มแล้วจะรู้สึก (กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า )

๔.      เมื่อเห็นลูกพลัดตกน้ำ  พ่อก็ ( กระโจน  กระโดด   เผ่น  ) ลงไปช่วยทันที

๕.         ถ้าไม่เตรียมตัวดูหนังสือก่อนสอบ เวลาทำข้อสอบนักเรียนจะรู้สึก(กลุ้มใจ

อึดอัดใจ  เหนื่อยใจ)

๖.         ผู้อพยพเข้าเมืองไม่ถูกกฎหมายถูก  ( กักขัง   กักกัน  กักบริเวณ )ให้อยู่ตามชายแดน

๗.      วิธีกินเมล็ดทานตะวันต้องใช้ฟันหน้า (กัด ขบ ) ให้เปลือกแตกก่อน

๘.         หลังจากสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์แล้ว  ดินแดนที่เคย (กันดาร  แห้งแล้ง  อัตคัด )  ก็สามารถ ทำการเพาะปลูกได้

๙.          การสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้  นับเป็นความ (ก้าวหน้า  เจริญรุ่งเรือง )

         อีกขั้นหนึ่ง

๑๐.     เมื่อทะเลาะหรือขัดใจกับเพื่อนก็พูดจากันเสีย อย่าให้ ( แหนงใจ  ระแวง ) กันต่อไป

๑๑.        คดีฆาตกรรมซ่อนเลื่อนเรื่องนี้(เกี่ยวข้อง เกี่ยวพัน พาดพิง พัวพัน)ไปถึงคนหลายฝ่าย

๑๒.     ขบวนการยุตุธรรมกำลังอาศัยวิชาติติวิทยาศาสตร์ช่วย (แก้ไข ชำระ สะสาง) ให้ดีขึ้น

๑๓.      คนที่เล่นพนันเสีย มักจะหาเงินมาเล่นใหม่เพื่อเป็นการ ( แก้ตัว  แก้มือ  แก้ลำ )

๑๔.     ช่วงใกล้สอบเอนทรานซ์  น.ร.ชั้น ม.๖ ดูหนังสือกันอย่าง (กุลีกุจอ ขะมักเขม้น ขมีขมัน )

๑๕.      ครูคืนตายงานให้นักเรียนแล้ว นักเรียนก็วางลืมทิ้งไว้ที่ศาลาหน้าโรงเรียน ครูต้องไปเก็บมาอีกถึงสองครั้งแล้ว ทำให้ครูรู้สึก ( โมโห โกรธ  ขุ่นเคือง  ขุ่นแค้น) อยู่ในใจ

๑๖.        เวลาครูอธิบายของให้ฟังไปให้จบก่อนอย่าเพิ่งแสดงความเห็นหรือถาม

( ขัดคอ  ขัดจังหวะ )

๑๗.     เวลาคุมน้อง ม. ๑  เชียร์หน้าอัฒจันทร์ขอให้พูดกับน้องดี ๆ อย่าใช่วิธี ( ขู่เข็ญ คุกคาม  บังคับ)

๑๘.      ความคิดที่ใช้วิธีจูงใจให้นักเรียนมาซ้อมเชียร์แทนการลงโทษ นับเป็นความคิดที่

( แหลมคมคาย  แยบคาย  หลักแหลม ) ดี

๑๙.       น้ำเซาะตลิ่งทรุดลงไปทุกปีทำให้กำแพงหน้าวัด ( ขยับ  เขยื้อน  เคลื่อน  เลื่อน )

ไปจากที่เดิมทีละเล็กละน้อย

๒๐.            ม้านั่งหน้าโรงเรียนถูกแดดถูกฝนมานานจนเก่า (คร่ำคร่า คร่ำครึ ทรุดโทรม 

มอซอ )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 338934เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2010 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ดีมาก มีประโยชน์ต่อ เด็กที่มีการบ้านมาก ๆ ไม่ต้องไปเปิดหนังสือให้วุ่นวาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท