Bootsakron
นางสาว บุษกร ฝ้าย อยู่สุข

แผลเป็น


แผลเป็น

แผลเป็น

แผลเป็น เมื่อเกิดบาดแผลขึ้น สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ เป็นแผล การที่แผลเป็นจะเด่นชัดหรือจางจนมองแทบไม่เห็นนั้น มีปัจจัยหลายประการ ได้แก่ สาเหตุการเกิดบาดแผล ลักษณะและตำแหน่งของแผล ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับบาดแผล กรรมพันธุ์ หรือปัจจัยจากตัวผู้บาดเจ็บว่ามักจะเป็นแผลเป็นได้ง่าย และเห็นชัดเจนหรือไม่ การดูแลแผลเป็นหลังจากแผลหาย เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น บาดแผลที่ถูกของมีคมบาด ย่อมเกิดแผลเป็นน้อยกว่าบาดแผลที่ถูกของไม่มีคมกระแทกจนฉีดขาด และมีเนื้อเยื่อโดยรอบชอกช้ำ บาดแผลถลอกตื้นๆ มักเกิดแผลเป็นน้อยกว่าบาดแผลถลอกลึกที่มีการสูญหายของผิวหนังบางส่วนไป บาดแผลบริเวณหัวไหล่หรือข้อต่างๆ มักเกิดแผลเป็นมากกว่าตำแหน่งที่มีการขยับเคลื่อนไหวน้อย บาดแผลที่มีการติดเชื้อ ย่อมเกิดแผลเป็นง่ายกว่าแผลสะอาด เป็นต้น

เมื่อเกิดแผลเป็นในช่วงแรก จะเริ่มรู้สึกมีอาการคันบริเวณแผลเป็น สีของแผลเป็นจะมีสีออกแดงๆ มากขึ้น แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำ ก่อนที่จะเริ่มมีสีจางลง ซึ่งแต่ละคนจะมีสีจางได้แตกต่างกัน ตั้งแต่สีเข้มกว่า ใกล้เคียง หรือ สีซีดกว่าผิวหนังโดยรอบ บางรายแผลเป็นยึดขยายออกกว่าเดิม บางรายนูนมากขึ้นเรื่อยๆ แผลเป็นส่วนใหญ่เมื่อผ่านช่วงแรกไปประมาณ 6 เดือน จะมีลักษณะดีขึ้น และเห็นเด่นชัดลดลงเรื่อยๆ

สำหรับการดูแลแผลเป็นในช่วงแรกนั้น ควรหลีกเลี่ยงการเกาหรือนวดบริเวณแผลเป็นแรงๆ เพราะจะทำให้แผลเป็นยืดกว้างกว่าเดิมได้ง่าย ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดหรือใช้ครีมกันแดดในช่วงที่สีของแผลเป็นเข้มกว่าผิวหนังโดยรอบ ในกรณีที่แผลเป็นนูนขึ้นเรื่อยๆ สามารถใช้ผ้ายืดพัน (elatic bandage) หรือ ผ้ายึดที่ตัดเย็บพิเศษเป็นแบบสวม (pressure garment) เพื่อให้เกิดแรงกดรัด (pressuer) บริเวณแผลเป็นให้นิ่มลงและนูนลดลง แต่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อย่างน้อย 2 – 3 เดือน หรือ อาจใช้แผ่นปิดเป็นซิลิโคน (silicone gel sheet) ก็อาจได้ผลในบางราย หากวิธีดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล หรือไม่สามารถปฏิบัติได้ การรักษาบาดแผลนูนด้วยการฉีดยา ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง จนกว่าแผลเป็นจะเรียบ ก็เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำ ในส่วนการรักษาอื่น เป็นการใช้ยาทารักษาแผลเป็น ผลของการใช้ยังไม่เป็นที่แน่นอน การใช้เลเซอร์ในแผลเป็นส่วนใหญ่ยังคงไม่ใช้วิธีการรักษาที่แนะนำการฉายแสง ปัจจุบันไม่แนะนำให้ใช้ เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา สำหรับการผ่าตัดตกแต่งแผลเป็น อาจมีประโยชน์ เฉพาะในบางรายเท่านั้น จึงต้องรับการตรวจประเมินและรับปรึกษาจากแพทย์ก่อน เป็นรายๆ ไป

คำสำคัญ (Tags): #แผลเป็น
หมายเลขบันทึก: 338576เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2010 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท