วงดนตรีตะวันตก


ลักษณะวงดนตรีตะวันตก

 

 

วงดนตรีสากล
"แชมเบอร์ มิวสิค-Chamber Music"
เป็นการผสมวงดนตรีของตะวันตกอีกประเภทหนึ่ง      มีความเป็นมายาวนานนับแต่ต้นศตวรรษที่ 14  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเครื่องลมได้เข้ามาบรรเลงร่วมกับการขับร้อง ราชบัณฑิตไขแสง ศุขะวัฒนะ แปลความหมาย แชมเบอร์ มิวสิค ว่า ดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถงหรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย หรือเรียกเป็นดนตรีของนักดนตรี ดนตรีของมิตรสหาย ก็ได้

จากแรกๆ ที่ตั้งวงกันในคฤหาสน์ขุนนาง หรือห้องเล็กๆ แชมเบอร์ มิวสิคมาเล่นในห้องโถงที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และในที่สุดต้องบรรเลงในคอนเสิร์ตฮอลล์ หรือสังคีตสถานอย่างศูนย์วัฒนธรรม วงแชมเบอร์ มิวสิคมีชื่อเรียกต่างกันตามจำนวนผู้บรรเลง 2 คนเรียก ดูโอ-Duo 3 คนเรียก ทริโอ-Trio 4 คนเรียก ควอเตต-Quartet 5 คนเรียก ควินเตต-Quintet 6 คนเรียก เซกส์เตต-Sextet 7 คนเรียก เซปเตต-Septet 8 คนเรียก ออคเตต-Octet และ 9 คนเรียก โนเนต-Nonet

"วงแตรวง-Brass Band" ผู้ริเริ่มนำเครื่องเป่าลมทองเหลืองมารวมเป็นวงคือกลุ่มชาวเหมืองในเมืองเฮย์ด็อค แอปเปิลตัน ประเทศอังกฤษ ใน ค.ศ.1894 โดยใช้บรรเลงในพิธีแต่งงานนำความคักคึกมาสู่ครอบครัวและชุมชน ต่อมาแตรวงพัฒนาไปบรรเลงประกอบการเดินแถวทหาร การสวนสนาม พิธีแห่ รวมถึงงานกีฬา ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือกลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass) ได้แก่ ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา ยูโฟเนียม บาริโทน เฟรนช์ฮอร์น และคอร์เนต กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion) ได้แก่ กลองเล็ก กลองใหญ่

"วงแจ๊ซ-Jazz" เกิดในสหรัฐอเมริกา สร้างสรรค์โดยกลุ่มชาวแอโฟร-อเมริกัน (Afro-American) คืออเมริกันที่มีปู่ ย่า ตา ทวดมาจากทวีปแอฟริกา การด้นสด การโต้ตอบ การเน้นจังหวะกลอง เป็นลักษณะของเพลงแถบแอฟริกาตะวันตกซึ่งพบได้ในแจ๊ซ คือการร้องโต้ตอบของนักร้องเดี่ยวกับกลุ่มนักร้องประสานเสียง ชาวผิวขาวที่อพยพสู่นิวออร์ลีนส์มากมาย รวมถึงสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษ ล้วนซึมซับบทเพลงที่กลุ่มทาสนิโกรชุมนุมร้องรำประกอบกลองตี เป็นเพลงพื้นเมืองอารมณ์ลึกซึ้ง ลีลาพัฒนามาจากเพลงประกอบพิธีศาสนาเรียกว่า "เพลงบูลส์" (Blues) เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเป็นแจ๊ซ

นอกจากบลูส์ ดนตรีอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์กับแจ๊ซอย่างมากคือวงดนตรีแบบอเมริกัน (American band tradition) และแรกไทม์ (Ragtime) ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 มีอิทธิพลต่อรูปแบบและจังหวะของดนตรีแจ๊ซในยุคแรก

สำหรับวงคอมโบ วงดุริยางค์ วงโยธวาทิต ตอบไปแล้ว เข้าเว็บรู้ไปโม้ด http://www.matichon.co.th/youth/youth.php พิมพ์ชื่อประเภทวงลงไป (คอมโบ พิมพ์คำว่า "วงสตริง" ดุริยางค์ พิมพ์คำ "ออร์เคสตร้า") บรรเลงรมย์ทันที

เรื่องการผสมวงดนตรีตะวันตก  

                เรื่อง การผสมวงดนตรีสากล ออกเป็นประเภทต่างๆที่มาของวงดนตรีสากล มนุษย์เรารู้จักเคาาะะ ตี และนำสิ่งต่างๆ มาเป่าให้เกิดเสียง เพื่อให้เกิดความสนุกสนานผ่อนคลาย และที่เป็นพิธีการตามความเชื่อของลัทธิของชนเผ่าต่างๆ แล้ววิวัฒนาการให้เป็นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ขึ้น มาใช้บรรเลงร่วมกันจนเกิดเป็นวงดนตรีประเภทต่างขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆ        จนถึงปัจจุบันมีลักษณะต่างกันไป เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวน และชนิดที่แตกต่างกันออกไปตามสมัยนิยมดังต่อไปนี้

1. วง แชมเบอร์มิวสิค ( Chamber Music )

        เป็นลักษณะการผสมวงในราชสำนักหรือผสมวงเล่นในห้องโถงเป็นลักษณะ  ของวงแบบง่ายๆ ตามปกติมีนักดนตรี 2 ถึง 9 คน จะมีชื่อต่างกันไปตามจำนวนผู้บรรเลง มีชื่อเรียกดังนี้
- ดูโอ (Duo) ผู้บรรเลงง 2 คน
- ทริโอ (Trio) ผู้บรรเลง 3 คน
- ควอร์เทท (Quaret) ผู้บรรเลง 4 คน
- ควินเท็ท (Quinter) ผู้บรรเลง 5 คน
- เซ็กส์เทท (Sextet) ผู้บรรเลง 6 คน
- เซบเทท (Septet) ผู้บรรเลง 7 คน
- อ็อคเทท (Octet) ผู้บรรเลง 8 คน
- โนเนท (Nonet) ผู้บรรเลง 9 คน


2. วงดุริยางค์ ( Orchestra) จะประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มเครื่องสาย

กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้    และกลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ บรรเลงเป็นแนวๆ  แบ่งเป็นเล็กๆตั้งชื่อตามขนาดและความเหมาะสมตามจำนวนผู้บรรเลง   ดังนี้  ( 2.1)วงดุริยางค์ซิมโฟนี (Symphony Orchester)    เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 กลุ่ม ดัง  ที่กล่าวมาแล้ว และแบ่งออกเป็นวงขนาดเล็กได้3ขนาด คือ
          - (Small Orchestra) มีนักดนตรีประมาณ 40-60 คน
          - (Medium Orchestra) มีนักดนตรีประมาณณ 60-80 คน
          - (Full Orchestra) มีนักดนตรีประมาณ 880-100 คน
( 2.2) วงดุริยางค์ประกอบการแสดงอุปรากรและละคร มีนักดนตรีประมาณ 60 คน
(2.3) วงดุริยางค์เชมเบอร์ (Chamber Orchestra) มีนักดนตรีประมาณ 2-9 คน


3. วงเครื่องสาย (String Band)   มีเครื่องดนตรี 2 ประเภทคือ

               เครื่องสายที่ใช้ดีด และเครื่องตีประกอบจังหวะ คือ กีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน และเบส ส่วนเครื่องดนตรีประกอบจังหวะใช้ กลองชุดหรือกลองแจ๊ส ปัจจุบันมีปรับปรุงเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก โดยนิยมในหมู่วัยรุ่น และตามสถาบันต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะมีวงชนิดนี้อยู่ ที่นักเรียนมักเรียกว่า วงสตริง


4. วงแตรวง (Brass Band ) มีเครื่องดนตรีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass Instrument )หรือที่เรามักเรียกกันว่า แตร ในหมู่คนไทย และเครื่องประกอบจังหวะ ใช้สำหรับเดินนำกระบวนสวนสนาม ตำรวจ ทหาร มี ดัมเมเยอร์(Drum Mayer) คอยกำกับ หรือนั่งบรรเลงในงานพิธีสำคัญต่างๆ


5. วงโยทวาทิต (Military Band ) มีลักษณะคล้ายกับวงแตรวง มีเครื่องดนตรี 3 ประเภทใหญ่ คือเครื่องเป่าทองเหลือง เครื่องเป่าลมไม้ และเครื่องตีประกอบ จังหวะ มี (Drum Mayer) คอยกำกับ และให้สัญญาณ ปัจจุบันมีทั่วไปในสถาบันการศึกษาแทบทุกแห่งใช้บรรเลงในกิจกรรมของสถาบันและงานชุมต่างๆ บางแห่งก็มีการส่งเข้าประกวดแข่งขันเป็นประจำทุกปี ในวันเด็กแห่งชาติ เพื่อยกระดับสถานศึกษา


6.วงแจ๊ส (Jazz Band )  มีจุดกำเนิดมาจากพวกผิวดำชาวอเมริกันเชื้อสายอัฟริกัน ( พวกนิโกร)แห่งเมืองนิวออร์ลีน สหรัฐอเมริกา      เป็นการเล่นแสดงสดๆ ไม่มีโน้ต เป็นการบรรเลงในแนวสร้างสรรค์ในรูปแบบ Improvisation คือผู้บรรเลงจะคิดทำนองเพลงขึ้นมาเอง     ให้เกิดความครึกครื้น สนุกสนาน เร้าอารมณ์            ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 3-5 คน ปัจจุบันเมืองไทยปรับปรุงมาเป็น วงหัสดนตรี( Stage Band ) or ( Dance Band (วงลีลาศ ) )

 


7.วงคอมโบ (Combo Band) เป็นวงขนาดเล็ก สำหรับเมืองไทยวงคอมโบจะมุ่งบรรเลงโดยมีการขับร้องประกอบเป็นส่วนใหญ่ นิยมนำไปบรรเลงตามห้องอาหาร ใช้เครื่องดนตรี ทรัมเปท แซกโซโฟน เปียโน เบส กีตาร์ กลองชุด และขาดไม่ได้คือ กลองทอมบา บองโก ทัมบูลีน จะคล้ายกับวงหัสดนตรีแต่ใช้บรรเลงกับเพลงทั่วไปทุกชนิดตามสมัยนิยม


8. วงสตริงคอมโบ(String Combo ) เป็นวงที่เกิดขึ้นมาใหม่ สะดวกในการขนย้าย ประกอบด้วยกีตาร์เบส กีตาร์คอร์ด กีตาร์โซโล และกลองชุด ถ้านำออร์แกนมาผสม เรียกว่า ชาร์โด (Shadow )จัดอยู่ในจำพวกเดียวกับวงสตริง แต่จะเน้นกีต้าร์ไฟฟ้าเป็นหลัก ซึ่งต่างกับวงสตริงที่ถือว่าสามารถนำ   เครื่อง สายชนิดดีดมาบรรเลง ได้หลากหลายชนิด    ตามความเหมาะสมของแนวเพลง

หมายเลขบันทึก: 338488เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2010 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท