เทคนิคการใช้กระบวนการนิเทศในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการสถานศึกษาในการใช้หลักสูตรขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551


เทคนิคการใช้กระบวนการนิเทศในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการสถานศึกษาในการใช้หลักสูตรขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551

หลักการและวิธีการของการนิเทศ  เป็นที่ยอมรับในเชิงวิชาการและเชิงบริหารได้ว่า  ผู้นิเทศจะต้องต้องเข้าใจในพื้นฐานว่าความสำคัญของการนิเทศ เพื่อนำสู่มิติพลวัตการแปลงพฤติกรรมด้วยการช่วยเหลือสนับสนุน  เพื่อแลกเปลี่ยนพฤติกรรมของการพัฒนาความคิด  และปฏิบัติในเชิงบวกของครูและบุคลากรประจำสถานศึกษา  ที่ส่งผลนำสู่คุณภาพของการจัดการศึกษาของโรงเรียน  ที่ตั้งเป้าสูงสุดในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนสนสำเร็จตามเป้าหมายสูงสุดที่วางไว้จากการผลการประมวลลักษณะความสัมพันธ์ระนาบความรู้  ของการนิเทศที่ปรากฏในบทที่ 2 ก็อาจกล่าวถึงรูปแบบคุณลักษะการผสมผสาองค์ความรู้ได้ซึ่งอาจได้ว่า  การที่ผู้นำด้านการบริหาร  จำเป็นอย่างยิ่งในการตระหนัก  ในรายละเอียด  อาจสรุปความสำคัญที่ใช้การนิเทศ  มาชวยแก้ปัญหา  ในสิ่งเหล่านี้  เช่น

             ทฤษฎี   หมายถึง  กระบวนการทางความคิด   ที่ได้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์          ที่ออกเป็นความคดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน

              หลักการ  คือ  การนำหลักความคิด  เช่น  หลักแนวคิดวิชาการนิเทศ  ที่นำผลการนิเทศมาสรุป  มาเป็นแผน  กระบวนการ  สื่ออุปกรณ์  นำสู่กระบวนการเชิงปรับปรุง   นำมาใช้เชิงแนวคิดใหม่  ที่ผสมผสานการกัลยามิตร  ดังนี้

        ประการที่1     

                          1. ผู้บริหารมีความเข้าใจ  เรื่องแนวคิดการนิเทศโดยกระบวนการกัญญามิตร  เช่น  

1.1 สร้างกิจกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์  ที่เป็นกิจกรรมที่สร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้บริหาร  กับครู ได้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น

                ประการที่2    นำสู่การเกิดแนวคิดเฉพาะบุคคล  ในทักษะกระบวนการหลังจากนำหลักกัญญาณมิตร  ในกิจกรรมเชิงลึก  ดังประมวลสรุปแนวคิด  ออกมาเป็นความสำเร็จ  จากการนำการนิเทศมาช่วยครู  ในการสร้างแนวคิดใหม่เชิงบวกที่ดีกับผู้บริหารและผู้นิเทศ  เพื่อมุ่งหวังให้ครูมีความสำนึก  ความสำคัญในสิทธิพื้นฐานของบุคคลอื่น   ซึ่งสามารถแสดงถึงวิเคราะห์  อาจปรากกเป็นแนวคิดดังต่อไปนี้

              ทุกคนเท่าเทียมกัน  ผู้บริหารสามารถออกแบบกิจกรรมที่สะท้อนโดยการอิงวิธีการของ Back  Word  Designs  เป็นการใช้วิธีการในการสะท้อนความคิด  ความสำเร็จที่นำทฤษฎีหลักการขบวนการนิเทศ  เป็นการตอบปัญหา  คำถามความไม่เข้าใจภายในครูผู้สอนได้ว่า  ผู้บริหาร  คิดอะไร  ทำไม  อย่างไร  ความจำเป็นพื้นฐานพฤติกรรมองค์การ  ที่เป็นรูปแบบการร่วมมือต่การทำงาน  การคำนึงถึงความสำคัญการผสมผสานกลมเกลียว

                 อาจกล่าวได้ว่าผู้บริหาร  ควรรู้ทฤษฎี  หลัการ  และแนวปฏิบัติที่ดีสมบูรณ์จะต้องศึกษาภูมิหลักด้านต่างๆ  การจัดองค์กร  และเทคนิคการบริหารทรัพยสกรณ์มนุษย์  มุ่งให้ความสามารถแต่ละคน  ความเชื่อสามารถ  และมอบหมายงาสนศักยภาพได้ถูกต้อง  มีความเข้าใจ  ถึงความสำคัญต่อการนิเทศในการปรับปรุง  และการนำหลักการนิเทศมาช่วยกระบวนการทำงาน  แบบผสานความสำเร็จจาการร่วมมือ

           ส่วนที่2  นำสู่การเกอดแนวคิดเฉพาะบุคคล  ในการตระหนักในการใช้ขบวนการกัญญมิตรในส่วนรายละเอียดเชิงลึก  ดังประมวลสรุปแนวคิดความสำเร็จ  จากผลการนิเทศมาช่วยครู  และสร้างความคิดใหม่เชิงบวกที่ดีกับการบริหารและผู้นิเทศที่จะเกิดตามประสงค์ที่ครู  มีความสำนึกถึงการให้เกี่รติในการสร้างความเชื่อถือ  ความคิดทุกคนอย่างทียมกัน  ที่ผู้บริหารสามารถบอกออกแบบกิจกรรมที่สะท้อน การนำวิธีของ Back  Word  Dcsing  ที่เป็นรูปแบบการสะท้อนแนวคิด  ความสำคัญโดยการนำทฤษฏีหลักการกระบวนการนิเทศ  เป็นการตอบปัญหา  คำถามในใจครูผู้สอนได้ว่า  ทำไม  อย่างไร  เพื่ออะไร  และได้อะไร  ความจำเป็นพื้นฐานพฤติกรรมองค์กร  จำเป็นในการประสานความร่วมมือต่อการทำงาน  โดยคำนึงถึงความสำคัญการผสานกลมเกี่ยว  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า  ผู้บริหารควรร็และศึกษาทฤษฏี  หลักการและรวมถึงแนวปฏิบัติที่สมบูรณ์?ดีจะต้อง  ศึกษาภูมิหลังด้านต่าง ๆ  การจัดองค์กรที่นำเทคนิคการบริหารทรัพกรมนุษย์มาปรับใช้   ที่เน้นการให้ความสำคัญของบุคคลแต่ละด้าน  ตามศักยภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างถูกต้อง  บุคลากรมีความเข้าใจ  ถึงความสำคัญของการนิเทศในการปรับปรุงที่นำหลัการนิเทศ  ช่วยกระบวนการทำงานในการผสานความความสำเร็จ  การร่วมมือ

           ส่วนที่2 การบรรยายกระบวนทัศน์ความรู่เรื่องแนวคิดหลักการทฤษฏี  พร้อมตัวอย่างประกอบ

            หลังจาที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาเนื้อหา  แนวคิด  หลักการทฤษฏีที่ใช้หลักการนิเทศก็สรุปหลักการที่สอดคล้อง  ผสมผสานกับโครงสร้างทฤษฏีแนวคิดในสถานะการณ์  ที่เน้นให้ครูมีความร่วมมือกับผู้บริหาร ต่อขวัญกำลังใจ  และมีกระบวนทัศน์เชิงบวกที่เป็นทิศทางที่เป็นหนึ่ง  ที่มุ่งสู่ความสำเร็จของผู้เรียน  และโรงเรียน  ภายใต้การจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษษขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และภาระกิจการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  การปรับกิจกรรม  สื่อ  ซึ่งไม่มีความแตกต่างมากนักจากหลักสูตรเดิม  คือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ .2544

            ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ  โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยสร้างกิจกรรม  สื่อประชาสัมพันธ์  แก่ครูบุคลากรทางการศึกาในการสร้างความรู้  ความเข้าใจและโครงสร้างหลัก  และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ 2551 ด้านวิสัยทัศน์

เป้าประสงค์  รวมทั้งดัชนีตัวบ่งชี้ความสำเร็จ  และมีบางด้านในแง่เจตคติของบุคลากรว่าจัดการศึกษาตามหลักสูตรใหม่  เป็นภาระที่เป็นสาเหตุให้เกิดการขัดแย้งระหว่างผู้บริหารกับครูผู้สอนในการดำเนินภารกิจการศึกษา  ที่ข้าพจ้ได้นำแนวคิดจากหลักทฤษฎีการนิเทศ  ที่ข้าพเจ้าคิดว่าเหมาะสมสอดคล้อง  กับสภาพปัญหาในปัจจุบันที่เกิดขึ้น  ตามแผนผังความคิด  การประมวลความรู้ที่อาจขยายความจากส่วนที่1 เพื่อขยายความรายละเอียดความรู้   ข้าพเจ้าจึงขอนำเสนอดังต่อไปนี้

                       1. แนวคิดการนิเทศแบบมานุษย์นิยม (Humanistic Supervision)

 หัวใจการนิเทศที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของการยอมรับการกระทำของผู้อื่น  สร้างความสัมพันธ์ภาพที่อบอุ่น  เน้นความสำคัญการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย  เน้นความสำคัญโดยมีการนิเทศเป็นส่วนร่วม (Participative  Supervision) บุคลากรทุกคนต้องวางแผนกำหนดทิศทางร่วมกัน  มีพฤติกรรมยอมรับความคิดเห็น  ผู้อื่นด้วยความเคารพและเชื่อมั่นมีเจตคติ  มีความตระหนักเพื่อนำความคิด  มาปรับปรุง  พัฒนา  ที่ทุกคน  มีส่วนร่วมปรับปรุงพัฒนางาน ที่ทุกคนมีส่วนร่วมการปรับปรุงพัฒนา  อย่างแท้จริง  ซึ่งผู้บริหาร  ควรนำแนวคิดเพื่อวางระบบการดำเนินการกิจกรรม  และให้ความรึความเข้าใจแก่ครูบุคลากรทางการสึกษา  ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองโดยนำรูปแบบแนวคิด

                        1.2 แนวคิดการนิเทศประเมินตนเอง(Self – Assessment  Supervision) 

    ขั้นตอนนี้  ผู้บริหารครู  มีความจำเป็นการใช้ทฤษฏีการวิเคราะห์  เชิงวิชาการและการผสมกับการวิเคราะห์ได้พฤติกรรมการสอนวิจัยในชั้นเรียน  เพื่อที่ครู  ผู้บริหารจะทราบถึงมูลเหตุของปัญหา  สภาพปัญหา  การดำเนินตามภารกิจการจัดการเรียนรู้ แก่ผู้เรียนในชั้นเรียน  เพื่อสรุปถึงจุดเด่น  จุดด้อย  ที่สามารถใช้เครื่องมือประเมินตนเองที่ครูนำมาปรับปรุงการสอนตนเอง  อย่างมีเงื่อนไขในการทำงานอย่างเต็มกำลังที่แข็งเกร่งอย่างมีคุณภาพ  ดังการอธิบายตัวอย่าง  ดังนี้

                          แนวคิดการนิเทศการนำความรู้แนวคิดแบบมนุษย์นิยม (Humanistic Supervision) ข้าพเจ้าได้ประมวลเลือกสรรทฤษฎีที่สอดคล้อง   เพื่อเป็นแนวทางการสร้างสรรค์องค์กรที่มุ่งการพัฒนาแก้ไข ระหว่างผู้บริหารกับครุผู้สอน  ที่เลือกทฤษฏีการเปลี่นแปลง (Change  Theory)             มีความสำคัญที่สอดคล้องกับแนวคิดด้านมนุษย์นิยม  ที่มุ่งการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลง (Charge) เกิดความแตกต่างไปจากเดิม  มีการพัฒนาความกว้าหน้า ด้านการพัฒนาคุณภาพโดยใช้วิธีการนิเทศการส่งเสริมช่วยเหลือให้ครู  ที่ปัจจุบันมีปัจจัยและอุปสรรคที่บุคลากรทั้งครู  และผู้บริหาร   ผู้นิเทศจะต้องมีความรู้  ทักษะ  ความอดทนและเวลา  ที่สร้างกิจกรรมช่วยลดการต่อต้าน  ด้วยการยอมรับให้เกิดขึ้น  ซึ่งมาจากผู้บริหารสร้างความสัมพันธ์ที่ดีความไว้วางใจความเชื่อถือ  เพื่อเกิดการรับฟัง  เห็นด้วยยอมรับการเปลี่ยนแปลงทำกิจกรรมเพื่อลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง พึงปฏิบัติด้วนการดำเนินกิจกรรม  ได้แก่  การให้ความรู้  การสื่อสารทุกรูปแบบที่หลากหลาย ที่จะแสดงให้ถึงความ สำคัญของการเปลี่ยนแปลง  

           2. เน้นให้ทุกคนนำแสดงถึงให้เกียรติในความรู้สึกความสามารถในองค์  นำวางแผนโดยบุคลกรมีการยอมรับในรูปแบบคณะกรรมการ

           3. การสนับสนุนและส่งเสริม  ผู้บริหารจะต้องแสดงถึงความบริสุทธิ์ทางด้านเจตคติความคิดและมีบทบาทในการสนับสนุนด้วยความจริงใจ  ต่อการแก้ในอุปสรรคต่างๆ  มีการยกย่องเปิดโอกาสให้ครู  ได้มีอำนวยการตัดสินใจ

           4. ทั้งครูและผู้บริหารมีข้อตกลงและยุติลงร่วมกัน  ด้วยการนำสิ่งที่ต่อต้านได้แก่ครู  นำมาเป็นสิ่งกระตุ้นในการส่งเสริมด้วยกระบวนการรับฟัง  ส่วนร่วมผสานการแก้ไขปัญหา  ได้อย่างเหมาะสม  ที่ผู้บริหารต้องคำนึงและนำครูบุคลากร  ตามลำดับขั้นตอนดังนี้

            ขั้นที่1  ผู้บริหาร  มีทักษะความเข้าใจ  และความกล้าในการดำเนินการละลายพฤติกรรม  ถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญ  เช่น การประชุมหารือ พูดคุยถึงผลการดำเนินงาน  ปัญหาอุปสรรค์  และให้ครูได้มีโอกาสแสดงความคิดสิ่งที่พัฒนา  โดยแสดงวิธีการตามความรู้ความสามารถ        ด้วยความเรพถึงความรู้ของครู  ได้นำเสนอแก้ไข  พัฒนากิจกรรมโครงการของตนเอง  อย่างอิสระเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ

             ขั้นที่2  ครูได้รับสิทธิ์การปรับปรุงพัฒนางานของตน  นำแผนที่ตนเองมาปฏิบัติได้ทดลอง  และใช้ความรู้การวิเคราะห์ประเมิน  ใช้ทักษะกระบวนการการประเมินรายงานแบบระบบสังคมนิยม  ประชาธิปไตย  ต่อนักเรียน  ผู้บริหาร  ผู้ปกครอง  ชุมชน  ปรากฏวิธีอันหลากหลายเหมาะสม

              ขั้นที่ 3  ครูมีการยอมปรับเจตคติ  ต่อการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งผู้บริหารมีการเสริมแรงและให้กำลังใจ  รางวัล  คำชม  และพยามถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นให้บุคคลรอบข้างได้รับร็อย่างบริสุทธิ์ใจ 

              จากการยกตัวอย่างโดยการนำบริบทขั้นต้น  ในกระบวนการเปลี้ยนแปลงมาสรุปตัวอย่างเป็นยุทธวิธีการเปลี่ยนแปลง  การนำลักษณะสำคัญทางทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงไปใช้  ที่มุ่งหวังการสร้างวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลง (Creating  a  Couture  for  Change)  ในการปฏิบัติที่นำส่วนประกอบในการเชื่อมบุคลาการของโรงเรียนเข้าด้วนกัน  แบบเดิมที่กระทำกันมา  เป็นการเข้าสู่การคิดใหม่  ทำใหม่  ที่ปัจจุบันเป็นขอบข่ายของแนวทางการปฏิรูปการศึกษา  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่มุ่งให้ครูและผู้บริหารมีความชัดเจน  มีเจตคติ  ในการเปลี่ยนแปลงทุกด้านของโรงเรียน  ซึ่งอาจสรุปได้ว่าแนวคิดเป้าหมายระหว่างผู้บริหารกับครู  มีความจำเป็นที่จะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง

            

 

หมายเลขบันทึก: 338467เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2010 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท