การบริหารตามหลักไตรสิกขา


ไตรสิกขา

ความหมายและความสำคัญของไตรสิกขา

  • ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542 (2546 : 484) ได้ให้ความหมายของไตรสิกขาว่า “...ไตรสิกขา หมายถึง สิกขา 3 คือ ศีล เรียกว่า สีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา...”
  • พุทธทาสภิกขุ (2535 : 70-93) กล่าวว่า สรรพสิ่งในโลกล้วนเป็นไปตามหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีอะไรที่น่าหลงใหลปรารถนาหรือน่ายึดถือ หากใครเข้าไปยึดมั่นด้วยอุปาทานทั้ง 4 ด้วยอำนาจของอวิชชา ก็จะเกิดความทุกข์ พระพุทธองค์ทรงสอนให้หลุดพ้นจากอำนาจนั้น โดยใช้ ศีล สมาธิและปัญญา หรือหลักไตรสิกขา ดังนี้
  • ศีลหรือสีลสิกขา หมายถึงการประพฤติที่ดีงามตามระเบียบ วินัย ข้อบังคับ กฏ กติกาของสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน ทั้งกายและใจ ในทางศาสนาเรียกว่า ศีล 5  ศีล 8 เป็นต้น ส่วนในทางบ้านเมืองเรียกว่ากฏหมาย บุคคลผู้มีศีลเป็นเบื้องต้น ย่อมมีอาการเป็นปกติทางกายพร้อมที่จะพัฒนาจิตไปสู่ขั้นต่อไปคือสมาธิ
  • สมาธิหรือจิตตสิกขา เป็นอาการขั้นต่อไปของจิตที่ต่อเนื่องจากสีลสิกขา เพราะเมื่อกายอยู่ในอาการสงบ จิตก็สงบ พร้อมที่จะพิจารณาสืบค้นหาเหตุผล ของสรรพสิ่งว่า สิ่งที่กำลังอุบัติขี้น เป็นเหตุให้มีอุปาทานเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ให้เกิดทุกข์หรือไม่

  • ปัญญาหรือปัญญาสิกขา เป็นอาการที่ต่อเนื่องจากสีลสิกขา และ จิตตสิกขา โดยเมื่อกาย ใจอยู่ในอาการสงบ ก็จะสามารถใช้ปัญญาพิจารณาด้วยเหตุและผล เข้าใจสรรพสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงว่าเป็นไปด้วยอำนาจของอุปาทาน และไม่หลงเข้าไปยึดติดจนเกิดความทุกข์

การบริหารคนตามหลักไตรสิขา

การพัฒนาคน ให้เป็นผู้มีคุณภาพ ที่สำคัญที่สุดก็คือ การปลูกฝังให้คนเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม วิธีการหนึ่งที่น่าจะให้ผลดีในการปลูกฝังและพัฒนาการมีคุณธรรมจริยธรรม ก็โดยใช้ หลักไตรสิกขา เนื่องจากไตรสิกขาเป็นระบบและเป็นกระบวนการในการฝึกฝน อบรม ฝึกหัดเพื่อพัฒนาคนใน 3 ด้านคือ
• พัฒนา ด้านพฤติกรรม เรียกว่า ศีล
• พัฒนา ด้านจิตใจ เรียกว่า สมาธิ
• พัฒนา ด้านปัญญา เรียกว่า ปัญญา
ทั้งนี้ก็เพื่อให้บุคคลมีการดำเนินชีวิตไปในวิถีที่ถูกต้องดีงาม

โดยนำหลักธรรมพระพุทธศาสนา (ไตรสิกขา) มาใช้ หรือประยุกต์ใช้ในการบริหารและพัฒนาคนในองค์กร หรือสถานศึกษา
เน้นการจัดสภาพทุก ๆ ด้าน ในสถานศึกษาเพื่อสนับสนุนให้คนในองค์กรพัฒนาตามหลักพุทธธรรมอย่างบูรณาการส่งเสริมให้เกิดความเจริญงอกงามตามลักษณะแห่งปัญญา

ปัญญาวุฒิธรรม ๔ ประการ คือ
1.สัปปุริสสังเสวะ หมายถึงการอยู่ใกล้คนดี ใกล้ผู้รู้ มีครู อาจารย์ดี มีข้อมูล มีสื่อที่ดี
2.สัทธัมมัสสวนะ หมายถึง เอาใจใส่ศึกษาโดยมีหลักสูตร การเรียนการสอนที่ดี
3.โยนิโสมนสิการ หมายถึง มีกระบวนการคิดวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุผลที่ดีและถูกวิธี
4.ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง ความสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตได้ถูกต้องเหมาะสม

 

หมายเลขบันทึก: 338312เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2010 05:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท