ยวนพ่ายโคลงดั้น


ยวนพ่ายโคลงดั้น มีลักษณะเป็นวรรณคดีหรือเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ แต่งขึ้นเนื่องจากความปลาบปลื้มยินดีในพระบารมีของพระมหากษัตริย์ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาต้อนต้นอย่างยิ่ง เพราะบรรยายเรื่องราวต่างๆไว้อย่างละเอียด และแต่งในระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์หรือใกล้เคียงกับเหตุการณ์นั้น จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ

ผู้แต่ง     ไม่ปรากฏประวัติ

              สันนิษฐานแต่งในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราว พ.ศ. ๒๐๑๗ ซึ่งเป็นปีเสด็จศึกเชียงชื่น แต่ความเห็นอีกประการหนึ่งว่า แต่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ.๒๐๓๔ - ๒๐๗๒) เหตุที่ว่าลิลิตยวนพ่าย อาจแต่งในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ก็เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์พระองค์นี้เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และทรงพระปรีชาสามารถทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองรอยพระราชบิดาก็เป็นได้ คำว่า “ยวน” ในลิลิตเรื่องนี้หมายถึง “ชาวล้านนา”  คำ “ยวนพ่าย” หมายถึง “ชาวล้านนาแพ้” เนื้อเรื่องของลิลิตยวนพ่ายกล่าวชาวล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ซึ่งพ่ายแพ้แก่กรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  

 

ทำนองแต่ง           แต่งเป็นโคลงดั้น ประกอบด้วยร่ายดั้นโคลงดั้นบาทกุญชร ร่ายดั้น ๒ บท และโคลงดั้นบทกุญชร ๓๖๕ บท  

 

ความมุ่งหมาย     เพื่อยอพระเกียรติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสดุดีชัยชนะที่มีต่อเชียงใหม่ในรัชกาลนั้น

 

เรื่องย่อ

              ตอนต้นกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าและนำหัวข้อธรรมมาแจกแจงทำนองยกย่องสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า ทรงคุณธรรมข้อนั้น ๆ กล่าวถึงพระราชประวัติ ตั้งแต่ประสูติจนได้ราชสมบัติ ต่อมาเจ้าเมืองเชียงชื่น(เชลียง) เอาใจออกหาง นำทัพเชียงใหม่มาตีเมืองชัยนาท แต่ถูกสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตีแตกกลับไป และยึดเมืองสุโขทัยคืนมาได้ แล้วประทับอยู่เมืองพิษณุโลก เสด็จออกบวชชั่วระยะหนึ่ง ต่อจากนั้นกล่าวถึงการทำสงครามกับเชียงใหม่อย่างละเอียดครั้งหนึ่ง แล้วบรรยายเหตุการณ์ทางเชียงใหม่ ว่าพระเจ้าติโลกราชเสียพระจริต ประหารชีวิตหนานบุญเรืองราชบุตร และหมื่นด้งนครเจ้าเมืองเชียงชื่น ภรรยาหมื่นด้งนครไม่พอใจ ลอยมีสารมาพึ่งพระบรมโพธิ สมภารของสมเด็จสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและขอกองทัพไปช่วย พระเจ้าติโลกราชทรงยอทัพมาป้องกันเมืองเชียงชื่น เสร็จแล้วเสด็จกลับไปรักษาเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกรีธาทัพหลวงขึ้นไปรบตีเชียงใหม่พ่ายไปได้เมืองเชียงชื่น ตอนสุดท้ายสรรเสริญพระบารมี

 

 

ตัวอย่างข้อความบางตอน

              กล่าวถึงการแต่งยวนพ่าย

                  สารสยามภาคพร้อง            กลกานท นี้ฤา

คือคู่มาลาสวรรค                                 ช่อช้อย

เบญญาพิศาลแสดง                             เดอมกยรติ พระฤา

คือคุ่ไหมแส้งร้อย                                กึ่งกลาง

 

              ยอพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

               กษัตริย์สุราชเรื้อง                รศธรรม์

บรรหารยศยอยวน                              พ่ายฟ้า

สมภารปราบปลยกัลป์                         ทุกทวีป

ร้อยพิภพเหลื้องหล้า                           อยู่เย็น

               ร้อยเท้าวรมมรีบเข้า            มาทูล ท่านนา

ถวายประทุมทองเปน                         ปิ่นเกล้า

สำภารพ่อพยวสูรย                              โสภิต

มอญแลยวนพ่ายเข้า                           ข่ายบร

 

 ยวนพ่ายโคลงดั้น            

                มีลักษณะเป็นวรรณคดีหรือเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ แต่งขึ้นเนื่องจากความปลาบปลื้มยินดีในพระบารมีของพระมหากษัตริย์ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาต้อนต้นอย่างยิ่ง เพราะบรรยายเรื่องราวต่างๆไว้อย่างละเอียด และแต่งในระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์หรือใกล้เคียงกับเหตุการณ์นั้น จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ ยวนพ่ายโคลงดั้น มีลักษณะมาจนวันนี้ ยังสมบูรณ์หรือถูกแต่งเหมือนวรรณคดีบางเรื่อง ถ้อยคำที่ใช้ในโบราณและคำสันสกฤตส่วนมาก ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำเหล่านี้ยังไม่ถูกดัดแปลงแก้ไขจากคนชั้นหลัง จึงเป็นประโยชน์แก่การศึกษาด้านภาษาอย่างมาก ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจยาก และเรื่องส่วนใหญ่เกี่ยวกับการรบทัพจับศึก แต่ลิลิตเรื่องนี้ก็ยังมีลักษณะวรรณคดีที่ดีเด่นเพราะใช้ถ้อยคำไพเราะ โวหารพรรณนาที่ก่อให้เกิดจินตภาพให้อารมณ์ชื่นชมยินดีในบุญญาธิการของพระเจ้าแผ่นดิน และความรุ่งเรืองของบ้านเมือง อันเป็นลักษณะสำคัญของวรรณคดีประเภทสดุดีความดีเด่นของยวนพ่ายโคลงดั้น ทำให้กวีภายหลังถือเป็นแบบอย่าง เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

หมายเลขบันทึก: 338251เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2010 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท