ผลการสำรวจบุคลากรด้านการยอมรับเทคโนโลยี


ผลการสำรวจบุคลากรด้านการยอมรับเทคโนโลยี

บทความ  : ผลการสำรวจบุคลากรในโรงเรียนโสตทัศนศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ

โดย  สุมลฑา  ชูจร

รหัส 5246701044

หลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาการบริหารการศึกษา

......................................................................................................................................................................

การก่อเกิดนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีที่จะนำไปใช้ทางด้านการศึกษา มักมีปัญหาในเรื่องของความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ และความไม่แน่ใจในเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้นว่าจะเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้เพื่อจัดการศึกษา การเรียนรู้ของนักเรียนหรือไม่ ประเด็นสำคัญประการหนึ่งของการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้ในการศึกษา คือ การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาและครูอาจารย์

แนวทางการประเมินระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี 

การประเมินระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี ไม่ใช่การประเมินในลักษณะที่วัดเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู-อาจารย์นั้นมีอยู่ในสภาพแวดล้อมในลักษณะใด วิธีการประเมินการยอมรับเทคโนโลยีไม่ได้ตรวจสอบเพียงแค่การใช้เครื่องมือเครื่องใช้สมัยใหม่เท่านั้น และความเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีไม่ได้หมายถึงคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต หรือเทคโนโลยีชั้นสูงใหม่ๆ แต่ประการใด แต่การประเมินการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นการประเมินตัวบุคคลหรือสภาพแนวคิด การรับรู้ของผู้บริหาร ครู-อาจารย์ มีความรู้สึก ความคิดเห็นอย่างไรกับสิ่งที่ตนปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำผลของแนวคิดประจำวันมาประเมินว่า บุคคลระดับใดจะเป็นผู้ที่มีการยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาสู่ชีวิต ดังนั้นแบบประเมินที่ใช้ในการประเมินการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี แบ่งออกเป็น 2 ตอน

ตอนที่ 1 เป็นการประเมินการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และปริมาณการใช้หรือการมีส่วนร่วม การติดตามเทคโนโลยีสมัยใหม่

ตอนที่ 2 เป็นการประเมินสภาพของความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ผ่านมาแล้วในอดีต หรือเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีในชีวิต เช่น การดูรายการโทรทัศน์ เทคโนโลยีหรือสิ่งก้าวหน้าใหม่ๆ การศึกษาดูงาน การมีส่วนร่วมต่อ และแนวคิดที่มีต่อเทคโนโลยี ในตอนที่ 2 เป็นการศึกษาสภาพชีวิตจริงของผู้ที่ถูกประเมินว่า มีระดับของการยอมรับหรือความเข้าใจของเทคโนโลยีในสภาพของความเป็นจริงในชีวิตอย่างไรบ้าง และนำมาคิดเป็นคะแนนในภาพรวมต่อไป

ดังนั้น การแบ่งระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทั้ง 5 ระดับ จะมีการให้คะแนน 5 ส่วนด้วยกันคือ

ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 80 - 100 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ

นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับมากที่สุด

ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 66 - 79 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ

นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับมาก มีความจำเป็นต้องใช้นวัตกรรมอยู่เป็นประจำ

ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 51 - 65 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ

นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับปานกลาง สามารถใช้เทคโนโลยีได้ตามความจำเป็น นั่นคือ ยอมรับในบางหัวข้อหรือพอใช้เป็นบ้างในบางครั้ง

ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 36 – 50 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ

นวัตกรรมและเทคโนโลยีในระดับน้อยหรือมีความพร้อมที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้งาน แต่ทำได้ในระดับที่น้อย

ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 20-35 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ

นวัตกรรมและเทคโนโลยีน้อยที่สุด เพราะบุคคลกลุ่มนี้จะให้คะแนนแบบประเมิน 1 แทบทุกข้อ

ระดับการยอมรับนวัตกรรม เป็นความจำเป็นสำหรับการประเมินหรือการวิเคราะห์ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์ ซึ่งในการออกแบบระบบหรือพัฒนาการเรียนการสอนในระบบการศึกษาให้ก้าวหน้าไป การประเมินการยอมรับนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ต้องกระทำเป็นสิ่งแรก เพื่อจะได้ทราบว่า ควรนำเอานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษาได้ดีหรือไม่ หากผู้บริหาร ครู-อาจารย์ ขาดการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเสียแล้ว ก็ไม่สามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อนักเรียน นักศึกษาได้ ในที่สุดแล้วจะทำให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารจัดการ การเรียนการสอน

ผลการสำรวจ

            โรงเรียนโสตทัศนศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  มีนักเรียนจำนวน 433 คน (ข้อมูลปีการศึกษา 2552)  มีผู้บริหาร 2 คน ครูจำนวน  25  คน  ภารโรง  1  คน แม่ครัว 1  คน  แม่ค้า  จำนวน  5  คน  มีการใช้เทคโนโลยีในภาพรวมน้อยมาก  ครูส่วนใหญ่ขากทักษะในการใช้เทคโนโลยี  จึงได้นำแบบสำรวจ ของ ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ และปรัชญนันท์ นิลสุข  มาสำรวจดู ผลปรากฎดังนี้

1. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากที่สุด  

ผู้อำนวยการ และเจ้าหน้าที่ธุรการมีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพราะเป็นกลุ่มที่สามารถใช้งานเทคโนโลยีได้คล่องแคล่ว เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ มีการใช้เทคโนโลยีประเภทใดประเภทหนึ่งในการบริหารจัดการอยู่ตลอดเวลา เป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารทางด้านเทคโนโลยี เคยเข้าร่วมกิจกรรม ฝึกอบรมการพัฒนาร่วมในการผลิต หรือเกี่ยวข้องโดยตรงงานทางด้านเทคโนโลยี คนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทุกประเภทในระดับสูงสุด นั่นคือ ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ กิจกรรม นโยบายใหม่ บุคคลกลุ่มนี้จะเข้าร่วมและทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการจัดการศึกษา ดังนั้นกลุ่มนี้เป็นแนวหน้าในการที่จะนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาในการจัดการศึกษา มีการพัฒนาการมานานหรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่สม่ำเสมอ หรือจำเป็นต้องทำงานที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา

 

2. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาก

รองผู้อำนวยการและหัวหน้างานเป็นกลุ่มที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับมาก หมายถึง กลุ่มเพราะจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอยู่สม่ำเสมอหรือบ่อยครั้งที่ต้องใช้ กลุ่มนี้เห็นความจำเป็นและความสำคัญของการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารการจัดการศึกษา และพยายามสรรหาหรือเข้าไปใช้เทคโนโลยีในการนำมาบริหารจัดการ กลุ่มนี้สามารถพัฒนาไปในระดับที่ยอมรับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสูงสุดได้ ถ้าได้รับการฝึกอบรมหรือหน่วยงานมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าไปใช้อย่างสม่ำเสมอ ในทางตรงกันข้ามหากขาดการสนับสนุนจากหน่วยงาน หรือองค์กรไม่มีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่เข้าไปทำให้เกิดการพัฒนา อาจทำให้เสื่อมถอยหรือตามเทคโนโลยีไม่ทันหรือเบื่อหน่าย ในที่สุดกลุ่มนี้อาจไม่พัฒนาหรือยอมรับนวัตกรรมในระดับที่ปานหรือลดลงได้

 

3. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีปานกลาง

เจ้าหน้าที่งานวัดผล และกลุ่มครูที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อต้องเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นกลุ่มที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับปานกลาง กลุ่มที่มักจะเป็นผู้ที่มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีพอใช้งานได้ เคยอบรม ใช้งานในบางโอกาส หรือหน่วยงานสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีอยู่บ้าง แต่ไม่ใช้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ค่อยได้ติดตามเทคโนโลยี รู้จักและเข้าใจนวัตกรรมพอสมควร เคยทำงานที่เกี่ยวข้องอยู่บ้าง และพร้อมที่จะยอมรับเทคโนโลยีให้มากขึ้นกว่าเดิม ถ้าได้รับการส่งเสริมหรือสนับสนุน ในขณะเดียวกันการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับกลุ่มนี้อาจลดลงได้ถ้าหน่วยงานไม่มีการสนับสนุนและพัฒนาให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางการศึกษาเลย ฉะนั้นกลุ่มนี้จึงอยู่ในระดับที่พอใช้งานเทคโนโลยีได้ พอเข้าใจว่ามีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใดอยู่บ้าง รู้จักและเข้าใจในเครื่องมือเครื่องใช้ใหม่เพียงแต่ไม่มีโอกาสได้สัมผัสหรือได้ใช้บ่อยนัก หรืองานที่ทำอยู่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีโดยตรง ทำให้ตัวผู้ใช้มีการยอมรับเทคโนโลยีในระดับปานกลาง

 

4. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีน้อย

ครูร้อยละ  60  ของโรงเรียนเป็นกลุ่มที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับน้อย  ขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่ทราบแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ขาดการฝึกอบรมพัฒนา ทุนน้อย อยู่ห่างไกล ทำให้มีส่วนในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีมากนัก การสอนในสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเลย ทั้งที่ตัวเองก็สนใจ หรือพอจะรู้ว่ามีเทคโนโลยีใหม่ๆ มาบ้างแต่ขาดโอกาสที่จะมีส่วนร่วม ทำให้กลุ่มนี้อยู่ในระดับพร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีแต่ขาดผู้นำเข้าสู่ระบบนวัตกรรมและเทคโนโลยี ใหม่ๆ กลุ่มนี้สามารถขยับเข้ามาอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้อยู่เสมอ เพราะกลุ่มนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่ยอมรับนวัตกรรม เสมอไป หรือไม่รับรู้รับทราบเพียงแต่ขาดโอกาสหรือมีอุปสรรค 

5. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีน้อยที่สุด

นักการภารโรง  แม่ครัวและแม่ค้าเป็นกลุ่มที่มีการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีน้อยที่สุดหรือาจเรียกได้ว่า กลุ่มที่ไม่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี กลุ่มที่ไม่เคยใช้เทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการทำงาน อาจจะรู้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ และรู้จักเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ แต่ไม่ใช้ กลุ่มนี้เป็นลักษณะที่มองไม่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยี ไม่จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาสู้สิ่งที่มีอยู่เดิมไม่ได้  ทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับเทคโนโลยีเลย หรือทำงานกับกลุ่มคนที่ที่ไม่ใช้เทคโนโลยีด้วยกัน

 

(ตัวอย่างแบบประเมิน)

แบบประเมินตนเองระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ

(ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ และปรัชญนันท์ นิลสุข, 2547)

คำชี้แจงแบบประเมิน

            การประเมินระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการประเมินสภาพความเป็นจริงของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเพื่อได้ทราบระดับของตนเอง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจบริหารและจัดการบุคลากรในหน่วยงาน ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แบบประเมินมี2 ตอน การเลือก 3 ระดับคือ บ่อยครั้ง (5) บางครั้ง (3 คะแนน) น้อยครั้ง (1)

ระดับการยอมรับ บ่อยครั้งจะได้         5   คะแนน

บางครั้งจะได้                                      3   คะแนน

น้อยครั้งจะได้                                      1   คะแนน

 

ตอนที่1 กรุณาเลือกข้อที่ตรงกับสภาพที่เป็นจริงของท่านมากที่สุดเพียงข้อเดียว

 

การประเมินระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

บ่อยครั้ง(5)

 

บางครั้ง(3)

 

น้อยครั้ง(1)

 

1. ท่านใช้คอมพิวเตอร์อยู่เป็นประจำ

………..

………..

…………

2. ท่านเคยเข้ารับการอบรมคอมพิวเตอร์

………..

………..

…………

3. ท่านทำงานเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์

………..

………..

…………

4. ท่านเคยอธิบายการทำงานคอมพิวเตอร์ให้ผู้อื่นฟัง

………..

………..

…………

5. ท่านชอบซักถามปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กับผู้รู้

………..

………..

…………

6. ท่านพยายามส่งเสริมคนรอบข้างให้ใช้คอมพิวเตอร์

………..

………..

…………

7. ท่านสนใจติดตามข่าวสารความก้าวหน้าคอมพิวเตอร์

………..

………..

…………

8. ท่านพยายามฝึกฝนคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง

………..

………..

…………

9. ท่านสนใจและพร้อมจะเรียนรู้เมื่อมีโปรแกรมใหม่

………..

………..

…………

10. ท่านสามารถแก้ปัญหาข้อขัดข้องคอมพิวเตอร์ได้บ้าง

………..

………..

…………

รวมคะแนน

………..

………..

…………

 

 

 

ตอนที่2 กรุณาเลือกข้อที่ตรงกับสภาพที่เป็นจริงของท่านมากที่สุดเพียงข้อเดียว

 

การประเมินระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

บ่อยครั้ง(5)

 

บางครั้ง(3)

 

น้อยครั้ง(1)

 

11. ท่านเคยดูรายการโทรทัศน์การศึกษา มสธ, รามฯ, กศ.น.

………..

………..

…………

12. ท่านศึกษาคอมพิวเตอร์จากการอบรมผ่านดาวเทียมไทยคม

………..

………..

…………

13. ท่านสามารถบอกวิธีใช้วีดิโอ/โทรทัศน์ให้ผู้ร่วมงานได้

………..

………..

…………

14. ท่านต้องใช้เทคโนโลยีด้วยตนเองในหน่วยงานของท่าน

………..

………..

…………

15. ท่านติดตามความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตอย่างสนใจ

………..

………..

…………

16. ท่านแนะนำผู้ร่วมงานให้ใช้สื่อทันสมัยแม้ท่านจะไม่รู้จักดีนัก

………..

………..

…………

17. ท่านชอบศึกษาดูงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

………..

………..

…………

18. ท่านพยายามดูแลซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน

………..

………..

…………

19. ท่านยินดีถ้าได้ร่วมสัมมนาหรืออบรมเทคโนโลยีสมัยใหม่

………..

………..

…………

20. ท่านมีส่วนร่วมในโครงการอบรมและพัฒนาเทคโนโลยีเสมอ

………..

………..

…………

รวมคะแนน

 

 

 

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 338169เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2010 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท