"องค์กรพัฒนาเอกชนกับการทำงานด้านสถานะบุคคล 2"


 "ขจัดความไร้รัฐไร้สัญชาติ" เป็นคำพูดที่พูดง่ายแต่การกระทำนั้นยาก เพราะหลากหลายสาเหตุที่เกิดขึ้นภายในองค์กรแต่ละองค์กร ด้วยเหตุนี้หากจะทำให้ได้ตามเป้าหมายแล้วนั้นก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกลับมาดูถึงจุดเริ่มต้นของการเดินเนื้อเรื่องของการขจัดความไร้รัฐไร้สัญชาติ นั่นก็คือกลับมาดูที่คนทำงานด้านสถานะบุคคลเป็นอันดับแรก(หมายถึงคนทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน)

     ทำไมต้องดูที่จุดนี้ เพราะสิ่งที่จะเกิดต่อไปนั้น ก็จำเป็นต้องเริ่มจากจุดนี้เพราะคนทำงานด้านสถานะบุคคลนั้นก็คือคนก่อสร้างรากฐาน ซึ่งหากคนก่อสร้างรากฐานไม่ให้ความใส่ใจกับการก่อสร้างนั้นฐานก็ไม่มั่นคง เมื่อฐานไม่มั่นคงก็ไม่อาจจะทานน้ำหนักของตัวสิ่งปลูกสร้างได้ นั่นก็คือจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีคนทำงานด้านสถานะบุคคลที่ เข้าใจสภาพปัญหา และปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ ในสภาวะกดดันที่สูง เพื่อสู่เป้าหมายที่จะสร้างรากฐานสำคัญในการขจัดความไร้รัฐไร้สัญชาติ

    หลังจากนั้นก็ต้องมาพิจารณาในส่วนของ "กระบวนการ" ที่จะดำเนินการเพื่อขจัดความไร้รัฐไร้สัญชาติ นั่นก็คือกระบวนการที่จะต้องมุ่งเน้นการ เข้าถึงเข้าใจและปฏิบัติได้ นั่นก็คือเมื่อคนทำงานมั่นคงตั้งใจที่จะดำเนินการช่วยเหลือแล้ว การทำงานขั้นต่อไปคือการสร้างรากฐานที่ต้องประกอบจากองค์ความรู้และข้อเท็จจริงของแต่ละบุคคล ที่จะเข้าสู่กระบวนการของการขจัดความไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยเน้นไปถึงประโยชน์สุดท้ายที่จะได้รับของชาวบ้านผู้เดือดร้อนด้านสถานะบุคคลเป็นหลัก 
   หากแต่คนทำงานรู้แต่จุดมุ่งหมายแต่ไม่เข้าใจกระบวนการหรือไม่อยากจะสร้างหรือ พยายามที่จะบอกกับสังคมให้รู้ว่าตนเองนั้นไม่เห็นด้วยกับการยึดหลักกฎหมาย แต่บอกว่าแม้จะมีหลักกฎหมายแต่ก็จำเป็นต้องทำงานประสาน(ซึ่งก็มีส่วนถูกอยู่เหมือนกัน) แต่กระบวนการประสานงานนั้นก็จำเป็นแต่ต้องเป็นการประสานงานที่ตัวเองนั้นมีหลักที่ยึดไว้ ตัวผู้เขียนเองนั้นก็ไม่ได้กล่าวว่าการประสานงานนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดีหรือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะการประสานงานนั้นเป็นกระบวนการแรกที่ต้องทำเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา เพื่อให้ทราบและเป็นการปรับความเข้าใจระหว่างกัน เสียก่อน ซึ่งอาจารย์ของผู้เขียนมักเรียกว่าเป็นกระบวนการการประสานงานเชิงราบ
    แต่นั่นก็คือการทำให้งานสิทธิสถานะบุคคลวนเวียนอยู่แต่ในอ้างน้ำ ไม่ก้าวเดินออกมาสู่สังคมภายนอก ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่างานสิทธิสถานะบุคคลในบางพื้นที่ยังคงเป็นแบบเดิม คือไม่ก้าวไปป้องกันปัญหาแต่กับรอให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยกลับมาแก้ไขปัญหาซึ่งบางกรณีก็อาจจะมีแค่เรื่องเดียว แต่ในบางกรณีอาจจะมีมากจนต้องมาแก้ไขปัญหาอย่างมากมาย จนบางทีคนทำงานเองก็พยายามจะไม่ทำและปล่อยทิ้งไว้ ซึ่งสุดท้ายแล้วคนที่เดือดร้อนก็คือเจ้าของปัญหานั่นเอง
    นี่เป็นการสรุปคร่าวๆว่า ข้อของการสร้างรากฐานประกอบกับการทำงานโดยกำหนดกระบวนการ ที่จะแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบแล้วนั้นก็แสดงให้เห็นว่าปัญหานี้ก็ยังคงอยู่ต่อไปแน่นอน
   

คำสำคัญ (Tags): #สถานะบุคคล
หมายเลขบันทึก: 337910เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2010 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท