เป้าหมายด้านเทคโนโลยีของโรงเรียน


เป้าหมายด้านเทคโนโลยีของโรงเรียน

บทความ  :  เป้าหมายด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารรุ่นเยาว์

โดย  สุมลฑา  ชูจร

รหัส 5246701044

หลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาการบริหารการศึกษา

.........................................................................................................................

ดิฉัน นางสุมลฑา  ชูจร  ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา  มาบรรจุในตำแหน่งผู้บริหารที่โรงเรียนโสตทัศนศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อ วันที่  30  ธันวาคม พ.ศ.2551 นับอายุการเป็นผู้บริหารได้  1  ปี กับ 2 เดือนถ้าเปรียบกับพัฒนาการมนุษย์ก็เพิ่งจะหัดเดิน  ล้มลุกคลุกคลาน แต่ที่นี่ พี่น้อง เรามีความเป็นกัลยาณมิตรไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือมีปัญหา  แม้บางครั้งมีสิ่งที่ให้ตัดสินใจมากมาย ยุ่งยาก สุดท้ายเราก็ เดินไปพร้อมกัน  ได้ใจเพื่อนร่วมงาน แต่ยังบกพร่องในเรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะการพัฒนาสื่อเทคโนโลยี  ครูผู้สอนยังนำสื่อสู่ห้องเรียนน้อยมาก  คุยในที่ประชุมถึงความสำคัญของเทคโนโลยี  แต่เราจะต้องมีเป้าหมายที่จะต้องไปสู่ด้วยกัน  เราได้กำหนดเป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา  คือ

1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก

………………………………………………………….


หมายเลขบันทึก: 337793เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2010 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท