ในวันนี้ (7
มิ.ย.49)
ผมได้มีโอกาสเป็นผู้ประเมินภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
โดยมีท่านประธานเป็น ผศ.ดร.สุภาณี เส็งศรี และมี ดร.กรองกาญจน์
ชูทิพย์ และผม อาจารย์เอกรินทร์ ชุลีกร เป็นกรรมการ
ซึ่งวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยานี้เป็นหน่วยงานย่อยหน่วยงานแรก
ภายในคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
ที่ได้เริ่มประเมินโดยใช้เกณฑ์ใหม่เอี่ยมอ่องของสมศ.
(ที่อิงเกณฑ์มาตรฐาน สมศ.-อิงพัฒนาการ-อิงประสิทธิผลตามแผน
ตามคะแนน 3-1-1)
ซึ่งภาควิชาอื่นๆจะประเมินตามมาทีหลัง
วันแรกที่ได้รับ
SAR
อ่านแล้วรู้สึกทึ่งมาก เพราะมีการเขียนที่ดีมาก
การบรรยายมีความเป็นระเบียบ และการนำเสนอหลักฐาน เป็น
step-step ที่แสดงถึงการมี logical thinking
ไม่โดดไปโดดมา
และรายงานข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญครบถ้วน + TOWS analysis
ที่จะทำให้ผู้ประเมินสามารถ discuss
ประเด็นนั้นได้อย่างมีข้อมูลครบถ้วน
แถมยังจัดทำรายงานได้ดีตั้งแต่คำนำจนถึง list
รายการเอกสารอ้างอิง เรียกได้ว่าดีตั้งแต่หน้าแรกยันหน้าสุดท้าย
ที่แสดงถึงความตั้งใจในการทำอย่างมาก
การประเมินวันนั้น
เริ่มตั้งแต่ 8.30 แล้วไปเสร็จเอา 20.00
แต่บุคลากรก็ยังอยู่รอฟังผลจนหยดสุดท้าย งานนี้จบลงด้วยดี
ทุกคนมีความแช่มชื่น บรรยากาศในห้องสดใส ถึงแม้ข้างนอกจะมืดแล้วก็ตาม
ชวนให้นึกถึง slide
ที่ผมเคยบรรยายให้กับนิสิตป.โท สาขาประกันฯ
ที่บอกว่าบรรยากาศสุดท้ายของการประเมิน
ถ้าทำให้ออกมาแล้วเป็นเหมือนภาพหยาดน้ำบนใบไม้ได้
แทนที่จะเป็นภาพใบไม้ที่แห้งกรอบ
ถือว่าประสบความสำเร็จ วันนั้น
การประเมินภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาจึงจบลงด้วยดี
ทุกคนมีกำลังที่ไปพัฒนาภาคในจุดที่ตนเองมีความสนใจต่อไป
ในฐานะที่ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
เป็นหน่วยงานแรก ที่กล้าหาญทำการประเมินโดยใช้เกณฑ์ใหม่ของสมศ. รอบ 2
และจัดทำรายงานการประเมินตนเองได้เป็นอย่างดี
จึงขอยกให้ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาเป็น
Best Practice
ของการทำ SAR/CAR ในระดับหน่วยงานย่อย
ภายในคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายละเอียดของ
SAR/CAR
ติดต่อได้ที่คุณวิระดา ประเสริฐ (กระแต)
ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา 055-261-000ต่อ 4668
นะครับ งานนี้ได้รับการอำนวยความสะดวกจาก ดร.สมชาย
แสงอาจเดช หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
และรับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชาครับ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย เอกรินทร์ ชุลีกร ใน การประกันคุณภาพการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
ขอบพระคุณท่านอาจารย์เอกรินทร์ที่นำ Best Practice มาเล่าให้พวกเราได้ฟังและนำไปปรับใช้กันนะคะ