การอบรม "การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน" (ต่อ)


หลังจากแนะนำตัวแล้ว  ผู้วิจัยได้เริ่มต้นกิจกรรมการประเมินตนเองของคุณกิจและคุณอำนวย  โดยได้แจกเอกสารการประเมินตนเองให้กับคณะกรรมการทุกคน  ซึ่งสามารถแบ่งคณะกรรมการได้เป็น 2 ส่วน  คือ  1.คุณอำนวย  ได้แก่  ประธาน  รองประธาน  เลขานุการ  เหรัญญิก  ผู้ประสานงาน2.คุณกิจ  ได้แก่  คณะกรรมการที่ดูแลกองทุนต่างๆเมื่อทุกคนได้รับเอกสารแล้ว  ขอให้เขียนชื่อ  นามสกุล  ชื่อองค์กร  และตำแหน่งที่รับผิดชอบอยู่ในองค์กร  ในส่วนของแบบประเมินนั้นทั้งคุณกิจและคุณอำนวยจะเหมือนกัน  โดยทั้งคุณกิจและคุณอำนวยจะได้รับแบบประเมินคนละ 2 แบบ  ที่นำมาให้ดู 2 แบบก็เพื่อที่จะให้เลือกดูว่าคณะกรรมการอยากทำแบบไหน  แบบที่ 1  จะมีระดับให้เลือก  คือ  ระดับที่ 1 , ระดับที่ 2 , ระดับที่ 3 , ระดับที่ 4 และ ระดับที่ 5 ในการประเมินแบบนี้  ก่อนที่จะเริ่มต้นประเมินทุกคนจะต้องมาร่วมกันกำหนดคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของแต่ละระดับก่อน  เช่น  ระดับที่ 1 เป็นระดับที่ต่ำสุด , ระดับที่ 2 ดีขึ้นมานิดหน่อย , ระดับที่ 3  ปานกลาง , ระดับที่ 4 ดีขึ้นมากว่าระดับที่ 3 , ระดับที่ 5 ดีที่สุด  ไม่มีข้อบกพร่อง  เป็นต้น    เมื่อร่วมกันกำหนดเกณฑ์ขึ้นมาได้แล้วจึงทำการประเมินตนเองว่าเราอยู่ในระดับไหนแบบที่ 2  จะเป็นคำถามเดิม  แต่การประเมินจะไม่เป็นระดับแล้ว  แต่จะให้เป็นคะแนนไปเลย  ก่อนที่จะประเมินแบบนี้เราต้องมากำหนดร่วมกันก่อนว่าแต่ละข้อจะให้คะแนนเต็มเป็นเท่าไหร่  เช่น  คะแนนเต็ม 10 เป็นต้น  เวลาประเมินตนเองก็ให้แต่ละคนประเมินว่าถ้าคะแนนเต็ม 10 คิดว่าจะให้ตัวเองกี่คะแนนเมื่อผู้วิจัยอธิบายจบก็ได้ถามคณะกรรมการว่าเห็นควรจะประเมินตนเองแบบไหน  มีคณะกรรมการบางคนบอกว่าเอาแบบที่ 2 เพราะง่ายดี  ตอนแรกที่ประชุมก็ตกลงกันว่าจะทำแบบที่ 2  โดยให้แต่ละข้อคะแนนเต็ม 10  ห้ามลอกกันเวลาประเมินแต่ก่อนที่ทุกคนจะเริ่มประเมินตนเอง  น้องเกศินี  ซึ่งทำหน้าที่รองประธานฝ่ายข้อมูลได้แสดงความคิดเห็นว่า  น่าจะใช้การประเมินในแบบที่ 1 เพราะ  เราสามารถประเมินตัวเองได้เลยว่าเราอยู่ที่ระดับไหน  แค่มานั่งคุยกันว่าแต่ละระดับจะมีคุณลักษณะอย่างไร  แต่ถ้าเราใช้แบบที่ 2 บางครั้งเราอาจไม่รู้เรื่องนั้นๆเลยแต่ก็ให้คะแนนตัวเองอยู่ในระดับปานกลาง  ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง  พอคนประเมินเอาไปประเมินมันก็จะไม่เกิดประโยชน์  เพราะ  มันไม่สะท้อนความเป็นจริง  การทำแบบที่ 2 เราต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง  บางครั้งเราอาจรู้บ้างไม่รู้บ้าง  แต่แต่ละคนก็จะให้คะแนนตัวเองไม่เท่ากัน  ถึงแม้ว่ามันจะง่าย  แต่ก็ไม่ละเอียดเท่าแบบแรก  ถ้าดูให้ดีๆแบบที่ 1 น่าจะง่ายกว่า            ในที่สุด  ที่ประชุมก็มีมติร่วมกันอีกครั้ง (ครั้งสุดท้ายค่ะ) ว่าจะเอาแบบที่ 1  (บรรยากาศตอนนี้คึกคักมากเลยค่ะ  ไม่เงียบเหงาอย่างที่ผู้วิจัยคาดไว้)  ผู้วิจัยกับอาจารย์พิมพ์ก็เลยให้เวลาคณะกรรมการในการประเมินตนเองประมาณ 15 นาที  หลังจากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่เนื้อหาในการอบรมต่อไป
หมายเลขบันทึก: 33753เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท